สำนักข่าว Utusan Tv มาเลเซีย ได้เขียนบทความ อย่างน่าสนใจกรณี
“การเข้มงวดของมาเลเซีย ความซื่อสัตย์ สุจริตและเจตจำนงค์ของกลุ่มบีอาร์เอ็น ตลอดจนความจริงใจของรัฐบาลไทย เป็นตัวกำหนดของความสำเร็จในการเจรจาสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย”
ในช่วงการชุมนุมเพื่อการเฉลิมฉลองวันอีดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 13 เมษายน ที่ผ่านมา หนึ่งในเยาวชนที่ปราศรัยบนเวทีได้กล่าวอย่างเสียงแข็งว่า “ปัตตานีคือปาเลสไตน์ คนที่เป็นอาณานิคมและการทรยศหักหลังต่อพวกเรา เขากดดันพวกเรา พวกเขาเล่านั้นคือยิว!”
เยาวชนที่แต่งชุดมลายูและสวมผ้าโพกหัวได้ปราศรัยต่อหน้าผู้เข้าร่วมกิจกรรมของเวที “Buka Patani, Doa Palestine” หลายพันคน ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าปฏิกิริยาของผู้ที่ได้ยินคําพูดดังกล่าว แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ปาเลสไตน์และปัตตานีนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ดังนั้นเมื่อเยาวชนดังกล่าวพยายามเปรียบเทียบสิ่งที่เกิดขึ้นในปัตตานีนั้นเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ เปรียบเสมือนการย่างที่ห่างไกลจากกองไฟ หรือท้องฟ้าที่ห่างไกลจากโลก
ในความเป็นจริงผู้เขียนเชื่อว่า ชาวมาเลเซียและชาวสิงคโปร์ที่เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว จะต้องตกตะลึงเมื่อได้ยินคำปราศรัยเช่นนั้น แต่เยาวชนดังกล่าวอาจกระตือรือร้นและได้รับอิทธิพลจากความรู้สึกและมั่นใจเกินไปว่าปัตตานีกําลังตกเป็นอาณานิคม จึงเป็นเหตุที่ทำให้เขาได้พูดเช่นนั้น
แต่คําถามคือ ปัตตานีเป็นเหมือนปาเลสไตน์จริงหรือ? ผู้ปกครองไทยสามารถเปรียบได้กับชาวยิวโดยเฉพาะระบอบไซออนิสต์หรือไม่? ประชากรมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยถูกฆ่าตายทุกวันหรือไม่? บ้านของพวกเขาถูกวางระเบิดหรือไม่? พวกเขาถูกขับไล่ออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองหรือไม่? จริงหรือไม่ที่ประชากรมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยต้องการเอกราช?
ไม่มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แม้จะมีความขัดแย้ง แต่ชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเขายังคงมีอิสระที่จะดำเนินกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการประกอบศาสนกิจโดยไม่ถูกปกคลุมหรือหลอกหลอนด้วยความกลัวว่า พวกเขาจะถูกคุกคามจากรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ไทย อย่างเช่นเที่กองทัพไซออนิสต์ได้กระทำต่อชาวปาเลสไตน์ที่มัสยิดอัลอักซอ
อย่างไรก็ตาม หวังว่าความสงบสุขในสายบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการเฉลิมฉลองวันอีดจะไม่ได้รับผลกระทบจากคําพูดยั่วยุจากการปราศรัยของเยาวชนดังกล่าวนั้น ควรรักษาความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศในพื้นที่และจะไม่ถูกคุกคาม เนื่องจากสายบุรียังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอำเภอที่ที่ยังมีความปลอดภัยในพื้นที่
การโฆษณาชวนเชื่อที่เปรียบปัตตานีเหมือนกับปาเลสไตน์ แม้ว่าจะ “ค่อนข้างตลก” แต่ควรหยุดการยั่วยุดังกล่าว
เมื่อพูดถึงประเด็นที่ต้องการยุติความขัดแย้ง หยุดการนองเลือดและปูทางไปสู่การสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เป็นที่แน่นอนต้องมุ่งไปที่สามฝ่าย ซึ่งแต่ละฝ่ายมีบทบาทสำคัญ และเป็นความหวังของประชาชนในพื้นที่ สามฝ่ายดังกล่าวนั้นคือมาเลเซียในฐานะผู้อํานวยความสะดวก รัฐบาลไทยและกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เป็นตัวแทนของแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ บีอาร์เอ็น ซึ่งทั้งสามฝ่ายนี้สามารถกำหนดอนาคตของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การเจรจาเกิดขึ้นเป็นเวลานาน แต่ผลลัพธ์ก็ยังเป็นรูปธรรม ชายแดนใต้ของประเทศไทยยังคงเต็มไปด้วยภัยคุกคามด้านความมั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่โจมตีและสังหารเจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่เป็นชาวมลายูมุสลิมด้วยกันเอง
น่าเสียดายที่สุดที่มีทัศนคติที่หน้าซื่อใจคด ไม่ซื่อสัตย์ และหน้าไหว้หลังหลอกที่ได้แสดงออกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนบนโต๊ะการเจรจา นอกจากนี้ยังเกิดคําถามว่า บีอาร์เอ็นนั้นเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติและมีศักยภาพมากที่สุดที่จะเป็นตัวแทนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนหรือไม่?
หากได้ศึกษาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย มันแสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิมส่วนใหญ่ต้องการอยู่อย่างสงบสุข พวกเขาไม่มีปัญหาเลยกับรัฐบาลไทยหรือเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่น่าเสียดายที่มักมีการกระทำยั่วยุโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดน และทุกครั้งที่มีการโจมตีในพื้นที่ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนจะชี้นิ้วไปที่รัฐบาลไทยโดยอ้างว่ามันเกิดขึ้นเพราะชาวมุสลิมถูกกดขี่
หากท่าทีดังกล่าวยังเกิดขึ้น ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า ความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยจะไม่สามารถแก้ไขได้ และการเจรจาที่กำลังดำเนินการอยู่ก็ปรียบเสมือนกับ “การพบปะเพื่อดื่มกาแฟเท่านั้น” เสียเวลา เสียเงินเปล่า ผลลัพธ์ไม่มีอะไร ยิ่งโชคร้ายกว่านั้นผู้นําของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เข้าร่วมการเจรจายังคงอยู่ในสถานะที่สุขสบายเพราะพวกเขาอยู่ต่างประเทศ ในขณะที่ในบ้านเกิดของพวกเขาชีวิตของประชาชนยังคงเป็นเดิมพัน
ดังนั้น “วงจรความรุนแรง” ที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานนั้นควรยุติลง ด้วยการมีส่วนร่วมของมาเลเซียในฐานะผู้อํานวยความสะดวกซึ่งรับผิดชอบโดยอดีตผู้บัญชาการกองทัพมาเลเซีย พลเอก ตันศรี ซุลกีฟลี ไซนัน อาบีดีน ความหวังสูงสุดคือการเจรจาสันติภาพหรือการพูดคุยที่ดดำเนินการในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
ในเรื่องการเข้มงวดของมาเลเซียเป็นสิ่งจําเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เสนอและตัดสินใจสามารถดำเนินการได้ มาเลเซียจะอะลุ่มอล่วยไม่ได้ เพราะหากการเจรจาสันติภาพนี้ล้มเหลว ภาพลักษณ์ของมาเลเซียก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน
แต่อย่าลืมว่า ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการเจรจาไม่ได้ขึ้นอยู่กับมาเลเซียเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความซื่อสัตย์สุจริตของบีอาร์เอ็นและความจริงใจของรัฐบาลไทยด้วย
เป็นเพราะไม่มีใครรู้ว่าบีอาร์เอ็นนั้น มีความซื่อสัตย์เพียงใดในการเจรจาในนามของตัวแทนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน กลุ่มแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมีเฉพาะกลุ่มบีอาร์เอ็นกลุ่มเดียวเท่านั้นหรือไม่? บีอาร์เอ็นได้ส่งตัวแทนจากปีกที่ถูกต้องเป็นตัวแทนเจรจาเพื่อหยุดยิงหรือยุติความรุนแรงอย่างจริงใจหรือไม่?
คําถามนี้ถูกหยิบยกขึ้นมา เพราะมีการอ้างว่าปีกที่สำคัญที่สุดของ บีอาร์เอ็นไม่มีตัวแทนในการเจรจา แต่ผู้ที่เข้าร่วมการเจรจาคือปีกทางการเมือง ดังนั้นบีอาร์เอ็นจำเป็นต้องซื่อสัตย์ หากเป็นจริงเพื่อให้แน่ใจว่าการเจรจาเหล่านี้ประสบความสำเร็จ
ตัวแทนของบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมการเจรจาต้องมีอำนาจในการหยุดยั้งความรุนแรงตลอดระยะเวลาที่การเจรจากําลังดำเนินอยู่ หรืออยู่ในช่วงกําลังดำเนินการ
นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังต้องมีความจริงใจในการสร้างความมั่นใจว่า สิ่งที่เรียกร้องหรือนําเสนอเมื่อมีการเจรจาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรมุสลิมในประเทศไทยนั้นต้องดำเนินการ
สรุปได้ว่า การเจรจาสันติภาพในพื้นที่ขังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเข้มงวดของมาเลเซีย ความซื่อสัตย์สุจริตของบีอาร์เอ็นและความจริงใจของรัฐบาลไทย
หากมาเลเซียไม่กล้าแสดงออก ถ้าบีอาร์เอ็นไม่ซื่อสัตย์ และรัฐบาลไทยไม่จริงใจ ความขัดแย้งดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยจะไม่ได้รับการแก้ไข
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่ามาเลเซียสามารถเป็นผู้อํานวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่รัฐบาลไทยไม่มีปัญหาในการดำเนินการสิ่งที่ได้เสนอและเรียกร้องในการเจรจาสันติภาพ แต่ผู้เขียนก็ “กังวลใจเล็กน้อย” ที่จะเชื่อมั่นในความซื่อสัตย์ของบีอาร์เอ็น ผู้นําบีอาร์เอ็นต้องรู้คําตอบ…
Ketegasan Malaysia, kejujuran BRN, keikhlasan Thailand penentu kejayaan rundingan damai Selatan Thailand – UtusanTV https://utusantv.com/2024/04/24/ketegasan-malaysia-kejujuran-brn-keikhlasan-thailand-penentu-kejayaan-rundingan-damai-selatan-thailand/?&utm_source=whatsapp&utm_medium=social-media&utm_campaign=addtoany
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: