วันที่ 27 เม.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฤดูร้อนของประเทศไทยในปีนี้เริ่มตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์ ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศที่ร้อนและแห้งแล้งแบบนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ปกติโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำสามารถเกิดได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลให้อาหารบูดเสียง่าย รวมถึงความแห้งแล้ง อาจทำให้เกิดสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม และก่อให้เกิดโรคติดต่อต่าง ๆ ได้
นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนม โดย นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และสำนักงานสาธารณสุขนครพนม มีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชน จึงขอให้ดูแลร่างกายและสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ประกอบด้วย 1) โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอาหารเป็นพิษ โรคอหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคไวรัสตับอักเสบ เอ ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย และ 2) ภัยสุขภาพ ซึ่งได้แก่ การเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ การติดต่อส่วนใหญ่ติดต่อจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนหรือพิษของเชื้อปะปนอยู่ แนวทางการป้องกันโรค ต้องสร้างความตระหนักด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังการประกอบอาหาร รับประทานอาหาร และภายหลังจากการเข้าห้องน้ำหรือห้องส้วมทุกครั้ง ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด ” รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ หากเป็นอาหารค้างคืนหรือเก็บไว้นานเกิน 6 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทานทุกครั้ง รวมถึงเลือกน้ำดื่มและน้ำแข็งที่สะอาด มีเครื่องหมาย อย.
ข่าวน่าสนใจ:
- ปราจีนบุรี ประชาชนเดินทางกลับเทศกาลปีใหม่ ถนนสาย 304 รถหนาแน่น
- ทำลายท่อซิ่ง!! รถ จยย.เสียงดังผิดกฎหมาย หลังระดมกวาดล้างจับกุมใช้มาตรการเข้มจับ-ปรับ 2,000 บาท ยึดท่อ ทำเอ็มโอยูผู้ปกครอง
- นครพนม หนุ่มนักดนตรีเพื่อชีวิตผันตัวขายโจ๊กอาหารเช้าคืนกำไรให้สังคมเเจกโจ๊กฟรีทั้งวัน
- เด็กไทยเจ๋ง! วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง บุรีรัมย์ คว้าแชมป์หุ่นยนต์ยุวชนโลก คว้า 2 ทอง-โล่ชนะเลิศ
สำหรับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน หรือที่เรียกกันว่า “โรคฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด” นั้น โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่กลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่ออกกำลังกายหรือใช้กำลังมากเป็นเวลานาน รวมถึงประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยระยะพักฟื้น ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ หากไม่สามารถเลี่ยงได้ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรม เช่น ช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้เสียน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดดได้
หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรปกป้องตนเองจากแสงแดด โดยอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น สวมใส่เสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม ถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด นอกจากนี้การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง ซึ่งมีอันตรายมาก นอกจากต้องพบกับอากาศร้อนแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษ ที่มีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
อย่างไรก็ตามโรคลมแดดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งผู้ที่เกิดอาการต้องได้รับความช่วยเหลือในทันที ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: