ผู้ตรวจการอัยการ ลงพื้นที่ตรวจราชการที่สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด
วันที่ 13 มิถุนายน 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด นายกมลาสน์ สุทธิธารณ์นฤภัย อธิบดีอัยการภาค 6 รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจการอัยการ รับผิดชอบการตรวจราชการในสำนักงานอัยการทุกสำนักงานในเขตท้องที่ภาค 4 ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด ได้เดินทางไปตรวจราชการในสำนักงานอัยการ ในเขตท้องที่ภาค 4 ครั้งที่ 2 โดยมีนายธีรพล แก้วไวยุทธ อัยการจังหวัดร้อยเอ็ด นางสาวอัมพิกา มานะพงศ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด พันตำรวจโทบุณถิ่น วันภักดี อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด และคณะร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการปฏิบัติ
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์เข้มมาตรการ รับแรงงานเมียนมาเที่ยวช่วงปีใหม่
- สงขลา เข้ม"ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ"10 วันอันตราย ลดสถิติอุบัติเหตุช่วงปีใหม่
- นครปฐม จัดการประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง เนื่องในงานมหาธีรราชเจ้ารำลึก มหกรรมวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ครั้งที่ 21 ประจำปี 2568
- เริ่มแล้ว! Kanchanaburi CountdownFestival 2025 & Happy Fun Forever
ช่วงที่ 1 ตรวจราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น สำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม และสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ในระหว่างวันที่ 13 -14 มิถุนายน 2567 เพื่อรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติราชการของผู้บริหาร และบุคลากรในสำนักงานอัยการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ 2567 โอกาสนี้ผู้ตรวจการอัยการได้มอบเกียรติบัตรแก่คณะกรรมการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดด้วย
จากนั้นผู้ตรวจการอัยการได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิ์และช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ประชาชน ของคณะกรรมการอัยการภาคประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด โดยความร่วมมือของ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย และการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่เลขที่ 120 หมู่ 10 ต.ดงลาน อ.เมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีนายชานนท์ ลิขิตบัณฑูร ประธานคณะกรรมการอัยการคุ้มครองสิทธิภาคประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด ดร.พนม ศรีแสนปาง ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาและคณะให้การต้อนรับ
ซึ่งสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด จัดตั้งขึ้นตามนโยบาย ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 แต่ก็ยังไม่มีศูนย์ประสานงานที่เป็นรูปธรรม ล่าสุดทางคณะกรรมการฯได้มีความเห็นว่า ควรจะมีศูนย์เพื่อติดต่อประสานงานที่ชัดเจน ก่อนเข้าหารือกับอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิ์ฯ และเห็นว่าควรมีศูนย์ประสานงานขึ้น นับเป็นศูนย์นำร่องแห่งแรกของภาค 4 เพื่อเป็นตัวแทนภาคประชาชนในการรับเรื่องร้องเรียน รับฟังปัญหา ความเดือดร้อนด้านกฎหมายจากประชาชน เป็นคนกลางสื่อสารทำความเข้าใจกับภาครัฐ และระหว่างกัน ร่วมมือและสนับสนุนงานอัยการด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมด้านกฎหมาย เกิดประโยชน์แก่ประชาชน ประชาชนไดรับความยุติธรรมด้านกฎหมาย เข้าถึงความยุติธรรมโดยง่าย เท่าเทียม และมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อประชาชน
คลิปวีดีโอ
https://drive.google.com/file/d/1l9tqzmn_JkPdmU2IigWp2o3j5GtgQbQC/view?usp=drivesdk
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: