เชียงราย-เครือข่ายเยาวชน YSDN (Young Strong & Development Network) ยื่นหนังสือต่อ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ แก้ไขปัญหา คุ้มครองเด็กห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีดื่มหรือสูบบุหรี่ ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และลดปัจจัยเสี่ยงอย่างยั่งยืน
วันที่ 22 มิถุนายน 2567 เวลา 14.30 น. ณ วัดหัวฝ่าย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ประธานคณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจกับเยาวชน เนื่องในโอกาส เครือข่ายเยาวชน YSDN (Young Strong & Development Network) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดอบรม โครงการพัฒนาต้นแบบอำเภอป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และลดปัจจัยเสี่ยงอย่างยั่งยืน พร้อมรับหนังสือหนังสือ ข้อเสนอการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อปกป้องเด็กเยาวชน จากตัวแทนเยาวชน 5 อำเภอ 6 จังหวัดภาคเหนือ ที่เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 35 คน จาก5 อำเภอ คือ อำเภอพาน อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอเทิง อำเภอเชียงแสน และ 6 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น อำเภอโนนสัง และอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยประยุกต์ “ไอซ์แลนด์โมเดล” มาเป็นกรอบในการดำเนินงาน เช่น การประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนและทั่วถึง การปรับความสัมพันธ์ในครอบครัว และการใช้ข้อมูลวิจัยติดตามประเมินผล ทั้งนี้การลดปัจจัยเสี่ยงของเยาวชนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ พร้อมกับการสร้างความมุ่งมั่นทางการเมือง (Poltical WIll และสังคมร่วมกัน
กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ และลดปัจจัยเสี่ยงอย่างยั่งยืน เนื่องจากปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอนาคตของเยาวชน ซึ่งจากที่มีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตั้งแต่ปี 2551 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนไปในทางที่ดีขึ้น เช่น มีการจัดงานปลอดเหล้าในสถานที่ราชการ วัด สวนสาธารณะ โรงเรียน ฯลฯ ป้ายโฆษณาของธุรกิจหายไปจากเดิมเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่ตอนนี้กลายมาเป็นป้ายน้ำดื่ม โซดาแทน แต่ขณะเดียวกัน ยังพบว่าเด็กเยาวชนยังมีการดื่มที่มาก แม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และกฎหมายคุ้มครองเด็กห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีดื่มหรือสูบบุหรี่ แสดงว่า ยังมีจุดบกพร่องที่จะต้องแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น ดังนี้
1. ให้งานประเพณี งานกาชาด งานของดีประจำพื้นที่ งานที่มีมหรสพรีนเริง ดนตรีการแสดง เป็นงานที่มีการควบคุมให้งดดื่ม งดขายแอลกอฮอล์ ซึ่งส่วนมากจะจัดในสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ สถานศึกษา วัด หรือพื้นที่สาธารณะ เพราะจากการสำรวจ พบว่า เมื่อมีงานเหล่านี้แล้ว เด็กเยาวชนสามารถซื้อได้โดยง่าย และนำมาสู่ปัญหาต่าง ๆ ตามมา ทำให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่ได้ง่าย
2. ส่งเสริมค่านิยมในครอบครัว “ไม่ชวนให้เด็กดื่ม ไม่ดื่มให้เด็กเห็น” เพราะการสำรวจพบว่า เด็กเยาวชนเริ่มดื่มครั้งแรกอายุระหว่าง 9-12 ปี ส่วนหนึ่งมาจากคนในครอบครัวเป็นผู้ให้เด็กได้ลองดื่ม เช่น ในงานวันเกิด งานประเพณีในชุมชน และการเลียนแบบจากคนในบ้าน ทำให้ส่งต่อการดื่มไปยังลูกหลานโดยไม่รู้ตัว
3. ควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้การโฆษณาแผ่งด้วยน้ำดื่ม โซด มีกิจกรรมดนตรี Music หรือ Sexy Marketing เป็นกลยุทธโดนใจวัยรุ่น ใช้ศิลปินที่มีชื่อเสียงทำให้เยาวชนชื่นชอบและเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ยิ่งทำให้เห็นว่าการดื่มเป็นเรื่องเท่ห์ ตามศิลปินดารา รวมทั้ง ควบคุมการโฆษณาในสื่อออนไลน์ เพราะเด็กเยาวชนใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก
ข่าวน่าสนใจ:
- "ไทย-ญี่ปุ่น" 70 ปี ของความร่วมมือเพื่อการพัฒนา (ODA) ในประเทศไทย
- พะเยา ฮือฮา! สาวหล่อผอ.รร.ยกขันหมากเงินล้านจาก จ.ลำพูนขอครูสาวดอกคำใต้ คู่แรก จ.พะเยา
- ททท.แถลงข่าวกิจกรรม Event Marketing ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา “แข่งขันวิ่งเทรลไตรบูรพาซีรีย์ 4 สนาม 3 จังหวัดภาคตะวันออก
- เซ็นทรัลศาลายาร่วมจังหวัดนครปฐมเปิดตัว “Christmas Tree Light Up Celebration 2025”
ข่าวโดย : นางจันทร์ฉาย สมศักดิ์ศรี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: