วันนี้ (26 มิถุนายน 2567) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนโครงการเมืองผลไม้และไม้เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่จะกระทบต่อภาพลักษณ์การค้าของผลไม้ในพื้นที่ โดยมีนายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. พร้อมด้วยนายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนายกัสมัน ยะมาแล เกษตรจังหวัดยะลา ร่วมแถลงข่าวฯ ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดยะลา ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า มูลค่าการค้าผลไม้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2567 นี้ น่าจะมีประมาณ 14,877 ล้านบาท เมื่อคิดเฉพาะมูลค่าทุเรียนก็น่าจะประมาณ 13,490 ล้านบาท (90.68%) และหากรวมไปถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในตลอดห่วงโซ่ที่ไม่ว่าจะเป็นการจ้างงาน ที่พัก ค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารแล้วมากกกว่านั้นจังหวัดชายแดนภาคใต้มีตลาดผลไม้ชั่วคราวที่สำคัญคือ ตลาดผลไม้ อบจ.ยะลา ซึ่งในช่วงฤดูเกี่ยวผลไม้ คือ ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกปี จะมีพ่อค้าแม่ค้าจากทั่วประเทศที่เข้ามารับซื้อทุเรียนที่นี้ ล้งต่างๆ ในพื้นที่ก็จะเปิดรับซื้อตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้บริเวณสี่แยกมลายูบางกอกมีผู้คนตลอดทั้งคืน รวมถึงมีเกษตรกรจากทุกพื้นที่ก็ยังนำผลผลิตมาขายที่นี้ด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- ภูเก็ตคึกคัก นทท.ทั้งชาวไทย-ต่างชาติแห่ถ่ายรูปลุงซานต้า-น้องซานตี้ แลนด์มาร์คกลางเมือง ต้อนรับคริสต์มาส-ปีใหม่ 2568
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
“สำหรับเมืองผลไม้และไม้เศรษฐกิจในปีนี้ ศอ.บต. ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อขับเคลื่อนโครงการเมืองผลไม้และไม้เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การแปรรูป การตลาด และการส่งออกผลไม้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชน ซึ่งการดำเนินงานในพื้นที่ต้องมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนและให้เกิดการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม การสนับสนุนการป้องกันปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่ ศอ.บต. พร้อมเป็นข้อต่อเชื่อมการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการภาคเอกชน ในการพัฒนายกระดับการผลิตทุเรียนและการป้องกันปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ก็ยังรวมไปถึงผลไม้อื่นอีกด้วย”
ด้านนายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวถึงมาตรการการป้องกันการปนเปื้อนหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนว่า กรมวิชาการเกษตรมีมาตรการกรอง 4 ชั้น ที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตรในปี 2566 และยังถือใช้ต่อเนื่องในพื้นที่เสี่ยงระบาดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในปี 2567 โดยมาตรการกรอง 4 ชั้น จะช่วยในการคัดผลผลิตที่มีคุณภาพลดการปนเปื้อนหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนออกจากระบบการส่งออกทุเรียน ไปยังประเทศคู่ค้า สามารถสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือในสินค้าทุเรียนของประเทศไทยต่อประเทศคู่ค้า ได้อย่างดีและมีการนำผลผลิตที่ปนเปื้อนไปเข้าสู่กระบวนการแปรรูปต่อไป
และนายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงดำเนินการมาตรการในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนในพื้นที่ 3 จังหวัดว่า การดำเนินการป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เรามองสภาพพื้นที่เป็นหลัก เนื่องจากพื้นที่ปลูกทุเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีสภาพเป็นภูเขาสูง ต้นทุเรียนค่อนข้างสูงต่างจากภาคตะวันออกที่เป็นพื้นราบ ดังนั้นการบริหารจัดการแปลง หรือศัตรูพืชจะยากกว่าภาคตะวันออก ในพื้นที่ 3 จังหวัด มีแนวทางการป้องกันกำจัดหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน 3 แบบ ได้แก่ เกษตรกรมีพื้นที่เหมาะสมและมีความพร้อมในการบริหารจัดการ เน้นส่งเสริมการจัดการแปลงโดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (IPM) ได้แก่ ไฟไล่ ไฟล่อ ห่อผล ฉีดพ่นด้วยสารชีวภัณฑ์ หรือสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรที่มีพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดในการบริหารจัดการแปลง แต่ไฟฟ้าเข้าถึง เน้นส่งเสริมการใช้ไฟไล่และไฟล่อ ร่วมกับการใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ และเกษตรกรที่มีข้อจำกัดในการบริหารจัดการแปลง ไม่มีไฟฟ้า ลำบากในการจัดการแปลง เน้นส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ต่าง ๆ ในแปลงปลูก และแปรรูปผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ทุเรียนแกะเนื้อ ทุเรียนกวน
รวมถึงนายกัสมัน ยะมาแล เกษตรจังหวัดยะลา กล่าวด้วยว่า การขับเคลื่อนวาระ เป็นความต่อเนื่องการขับเคลื่อนของทุเรียน ในปี 2567 จะมีการต่อยอดการขับเคลื่อนวาระยะลาเมืองทุเรียนด้วย BCG Model ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน ซึ่งจะสามารถสร้างความมั่นใจ สร้างภาพลักษณ์ให้กับทุเรียนยะลาและมีคุณภาพที่ดีขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ภายในงานมีการสาธิตนวัตกรรมการจัดการป้องกันปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา การจัดนิทรรศการวิชาการจัดการปัญหาหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ของ 8 หน่วยงานด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: