กรุงเทพฯ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผย เร่งผลักดันกฎหมาย 3 ฉบับ คุ้มครองเด็ก-ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ-คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว คาดชงเข้า ครม. ก่อน ต.ค.นี้
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ พม. โดยคณะทำงานพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเพื่อความมั่นคงของมนุษย์ มีนายนิกร จำนง ประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบาย รมว.พม. เป็นประธานคณะทำงาน และมีกองกฎหมายเป็นฝ่ายเลขานุการ ได้เร่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ได้แก่
1. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว (ฉบับที่…) พ.ศ…. ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากระบบกลางแล้ว สาระสำคัญของร่างแก้ไขนี้ กำหนดให้มีการคุ้มครองสิทธิและมีมาตรการลดความเสี่ยงอันนำไปสู่ความรุนแรงภายในครอบครัวที่จะเกิดการกระทำซ้ำ เมื่อรับฟังความคิดเห็นรอบด้านครบทุกส่วน คาดว่าจะนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนกันยายนนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- นครพนมเดือดร้อน! แม่ค้าหวยร้องไห้ รถจักรยานยนต์พร้อมลอตเตอรี่เกือบ 600 ใบถูกขโมย วอนคนร้ายนำมาคืน
2. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ… อยู่ระหว่างขั้นตอนเวียนหนังสือขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของร่างแก้ไขนี้ มุ่งเน้นการมีความส่วนร่วมของคนในชุมชน เพิ่มบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ดำเนินการและช่วยเหลือดูแลคุ้มครองเด็กในพื้นที่ เพราะ พม.มีขีดจำกัดในเรื่องบุคลากร และที่สำคัญ การดูแลเด็กคนหนึ่งไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง นอกจากผู้ปกครองแล้ว ชุมชนและคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจำเป็นต้องมีการทำแผน การทำงานร่วมกัน รวมไปถึงสหวิชาชีพที่จะช่วยกันดูแลการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ
3. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ(ฉบับที่..) พ.ศ…. ผ่านการรับฟังความคิดเห็นระบบกลาง และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานราชการต่างๆ แล้ว โดยประเด็นการกำหนดบทลงโทษหน่วยงานราชการที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนดนั้น เบื้องต้นทุกคนเห็นด้วยที่จะให้มีบทลงโทษ แต่ในทางปฏิบัติต้องดูว่าสัดส่วนการจ้างงานเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ในร่างฉบับแก้ไขนี้จะกำหนดไม่ให้ต้องนำส่งเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ไม่ได้ใช้ส่งคืนรัฐ เนื่องจากเงินกองทุนนี้ไม่ได้มาจากงบประมาณของแผ่นดิน แต่เป็นเงินที่สถานประกอบภาคเอกชนจัดส่งเข้ากองทุน กรณีไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ตามสัดส่วนที่กำหนดตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
นายวราวุูธ คาดว่า ร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ จะสามารถเสนอเข้า ครม.พิจารณาได้ ก่อนเดือนตุลาคมนี้ หรือภายในปีงบประมาณ 2567
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: