เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมมุกดาหารแกรนด์โฮเทล จังหวัดมุกดาหาร นายไกร เอี่ยมจุฬา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานกานประชุมรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียของโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมุกดาหาร โดยมีบริษัท ซีเอ็มเอส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาจัดทำรายงานประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) ให้กับบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์จำกัด (มหาชน) ผู้ประสงค์ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลเมืองมุกดาหาร โดยมีชาวบ้านจาก 13 ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร 5 หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลมุก 2 หมู่บ้านในเทศบาลตำบลคำอาฮวน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วยเป็นจำนวนมาก โดยมีนายนราดล ตันจารุพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และนางสุวรรณี ตั้งปณิธานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร ร่วมด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- พม่าส่งแก๊งพนันออนไลน์กลับไทย 151 คน
- **"สุริยะ-มนพร เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นครพนม เร่งโครงการรถไฟทางคู่ บ้านไผ่-นครพนม และถนนเชื่อมสะพานมิตรภาพ 3"**
- กกต.มุกดาหาร นำผู้สมัครนายกและสมาชิก อบจ.มุกดาหาร เข้าโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริต เพื่อลดการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
- **"ดร. ศุภพานี อ้อนชาวนครพนม! สานต่อโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน วอนขอโอกาส อย่าให้พ่ายเลือกตั้ง"**
ขณะที่ ในช่วงระหว่างการประชุมที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ ปรากฏว่าได้มีผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นคัดค้านโครงการเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ มลภาวะด้านเสียง กลิ่น การสั่นสะเทือนของเครื่องจักรกล และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
ร.ต.ต.สุเทียน ทองโสม ประธานชมรมรักษ์มุกดาหาร กล่าวว่า สาเหตุที่กลุ่มชาวบ้านคัดค้านโครงการสืบเนื่องมาจากสถานที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ชุมชนของเทศบาลเมืองมุกดาหาร ที่ติดต่อกับเทศบาลตำบลมุก และเทศบาลตำบลคำอาฮวน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียน ศาสนสถาน ชุมชน และหมู่บ้านหลายแห่ง ขณะที่โครงการก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบในด้านต่างๆ อาทิ กลิ่นเหม็นจากบ่อขยะ เสียงดังและการสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อมจากมลพิษทางอากาศ ฝุ่นละออง อันก่อให้เกิดโรคผิวหนัง ภูมิแพ้ ทางเดินหายใจ และโรคหอบหืด เป็นต้น ถึงอยากให้ย้ายที่ตั้งโรงงานออกไปให้ห่างไกลจากชุมชน
อีกทั้ง โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างไม่ควรมีขนาดใหญ่กำลังผลิตไฟฟ้าสูงถึง 9.9 เมกะวัตต์ ซึ่งพลังงานความร้อนที่นำมาผลิตไฟฟ้าได้จากการเผาขยะมูลฝอยประมาณวันละ 560 ตัน เนื่องจากอาจทำให้พื้นที่ชุมชนเมืองมุกดาหารกลายเป็นศูนย์รวมของแหล่งรับขยะมูลฝอยขนาดใหญ่ที่จะมีรถขนขยะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วจังหวัดมุกดาหารวิ่งเข้ามาเทขยะ ทำให้เสียภาพลักษณ์ของการเป็นเมืองท่องเที่ยว ดังนั้น เพื่อมีให้กลายเป็นชุมทางของรถขนขยะ โรงไฟฟ้าที่จะตั้งในพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหาร ควรมีขนาดกำลังการผลิต 2 เมกะวัตต์ ก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ การเป็นโรงงานขนาดเล็กมีข้อดี คือ มีผลกระทบน้อย การซ่อมบำรุงก็ทำได้โดยง่าย และหากเกิดการชำรุดบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้โดยสะดวกรวดเร็ว
นายประเดิม ภาคแก้ว ผู้อํานวยการสํานักงานสิ่งแวดล้อมและ ควบคุมมลพิษที่ 12 อุบลราชธานี กล่าวว่า ควรมีการปรับระบบกำจัดฝุ่นของโครงการจากที่ใช้ระบบดักฝุ่นแบบถุงกรอง (bag filter) เป็นระบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต( ESP) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากในการดักฝุ่นที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากโรงไฟฟ้าขยะมักมีฝุ่นจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ทำให้มีอนุภาคเล็กๆ ออกมาก่อให้เกิดปัญหามลพิษเรื่องฝุ่นละออง หรือ ฝุ่น PM 2.5 และควรติดตั้งเครื่องตรวจสอบฝุ่น PM 2.5 ไว้ที่ปลายปล่องของโรงงาน อีกทั้งเรื่องการกำจัดกลิ่นก็ขอให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: