X

เครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น จี้!ตรวจสอบผู้ประกอบการหรือผู้ครอบครอง“หินอ่อน”ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.เเร่ หรือไม่

เครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น จี้!ตรวจสอบผู้ประกอบการหรือผู้ครอบครอง“หินอ่อน”ถูกต้อง ตาม พ.ร.บ.เเร่ หรือไม่

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. เครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เดินทางลงพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นำโดย “นายฉัตรชัยวงศ์ ชูเลิศ” ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นยื่นหนังสือต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีมีการครอบครองหรือเปิดจำหน่ายหินอ่อนหรือหินอื่นๆ ในพื้นที่ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง มีการครอบครองถูกต้องหรือไม่ ภายใต้การควบคุมตามพระราชบัญญัติแร่ พุทธศักราช 2510 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2560
.นายฉัตรชัยวงศ์ ชูเลิศ ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น กล่าวว่า ตนเองในฐานะประธานเครือข่ายเฝ้าระวังการทุจริตฯ ได้ทำหน้าที่พลเมือง มาตรา 50 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ว่าได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกเครือข่ายฯ ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการครอบครองยึดถือ ลักษณะการปรากฏอยู่ของแร่ การครอบครองหินแร่ในพื้นที่บ้านท่าช้าง ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ ยังรวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าขายหินและอื่นๆอีกหลายรายการ ที่เข้าข่ายการครอบครองตาม พ.ร.บ.แร่ ว่าทำถูกต้องหรือไม่ มีเอกสารการครอบครองหรือสัมปทานชัดเจน เพื่อให้ตรวจสอบ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสิ่งเเวดล้อม ประชาชน เเละหน่วยงานภาครัฐ

นายฉัตรชัยวงศ์ ชูเลิศ ยังกล่าวอีกว่า ประเด็นที่อยากให้ตรวจสอบมี 3 ข้อ

1.ผู้ครอบครองหินได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหน้าที่หรือไม่

2.ให้ตรวจสอบการครอบครองหินได้มาจากการขุดหรือได้รับอนุญาตสัมปทานมาจากแหล่งใด

3.ผู้ครอบครองหินแร่ มีใบอนุญาตให้ครอบครองหินแร่เฉพาะรายหรือไม่

ทั้งนี้ ทั้ง 3 ประเด็น เป็นสาระสำคัญบทบัญญัติของกฎหมายในหมวดหมวดที่ 15 บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติแร่พุทธศักราช 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมหมวดที่ 15 ซึ่งมีบทลงโทษทั้งจำและปรับ หากผู้ใดดำเนินการทำเหมืองแร่หรือมีไว้ด้วยประการใด ย่อมมีความผิดตามกฏหมาย ซึ่งที่ตนอยากให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นก็เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะมิได้มีการกลั่นแกล้งผู้ใด
.

ทางด้าน นายยงยุทธ นพนิช นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนเองในฐานะ ผู้เเทนอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมกับเครือข่ายเฝ้าระวังทุจริตส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ก็จะรับเรื่องร้องเรียนนี้ไปและจะนำไปตรวจสอบ โดยจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้หาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการครอบครองหินแร่ ที่เกี่ยวของกับผู้ประกอบการและบุคคล ว่ามีใบอนุญาตการครอบครองหรือการสัมปทานถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีผู้กระทำความผิดหรือลักลอบครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เราก็จะดำเนินการตามขั้นตอนกฏหมายต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน