กรุงเทพฯ – BKK Food Bank เขตบางขุนเทียน รังสรรค์หลากหลายเมนู ‘ปลาหมอคางดำ’ สู่กลุ่มเปราะบาง ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ชวนลดจำนวนปลาหมอคางดำ ด้วยการนำมาทำอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม แทนการจับไปทิ้ง
วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และสื่อมวลชน ร่วมกิจกรรม BKK Food Bank สาธิตและชิมเมนูอาหารที่ทำจาก ‘ปลาหมอคางดำ’ ที่รับซื้อจากเกษตรกรชาวบางขุนเทียน โดยสำนักงานเขตบางขุนเทียน โชว์ฝีมือผ่าน 6 เมนูเด็ด ได้แก่ ปลาหมอคางดำราดซอสเปรี้ยวหวาน ปลาหมอคางดำทอดเกลือ ห่อหมกปลาหมอคางดำ ฉู่ฉี่ปลาหมอคางดำ แกงส้มปลาหมอคางดำ และปลาร้าจากปลาหมอคางดำ
นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก 2 เชฟมือทอง คือ เชฟชุมพล แจ้งไพร ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหาร (Soft Power) ที่มารังสรรค์เมนู Fine Dining ปลาหมอคางดำราดพริกสมุนไพร และเชฟชีส-เมธัส ปาทาน Corporate Chef บริษัท สหสเตนเลส สตีล จำกัด ที่มารังสรรค์เมนู Fine Dining ปลาหมอคางดำราดซอสมะขาม
ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ยังนำคณะ ชิมเมนูจากปลาหมอคางคำ ด้วยความเอร็ดอร่อย
ชวนลดจำนวนปลาหมอคางดำ ด้วยการนำมาทำอาหาร สร้างมูลค่าเพิ่ม
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อาทิ เขตบางขุนเทียน ทุ่งครุ และบางบอน ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนจำนวนมาก และอาจทำให้เกิดผลกระทบเป็นห่วงโซ่ไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ นั้น กรุงเทพมหานครได้เร่งประสานความร่วมมือทุกหน่วยงาน อาทิ กรมประมง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จนได้ 6 มาตรการในการแก้ปัญหา
ข่าวน่าสนใจ:
- 'เทพรัตน์' คว้ารางวัล 'สุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ' สาขาสิ่งแวดล้อม
- 'ราเชน' เตือน! 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่ปรับตัว รบ.ไปไม่รอด มี 2 ทางเลือก ยุบหรือยึด
- ททท. ผนึกพันธมิตร จัดงาน "เหนือพร้อม..เที่ยว" Kick off แคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" เริ่ม 1 พ.ย.นี้
- ททท.เปิดตัวแคมเปญ "สุขท้าลอง 72 สไตล์" 72 เส้นทางเมืองน่าเที่ยว ปลุกกระแสท่องเที่ยวไฮซีซั่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กทม.ได้ดำเนินการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตาม 6 มาตรการของกรมประมง โดยได้ดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1.กำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ 2.นำปลาหมอคางดำที่กำจัดมาสร้างมูลค่าเพิ่ม และ 3.หาแนวร่วมโดยประสานกับภาคส่วนต่าง ๆ
สำหรับเขตบางขุนเทียน ร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่ดำเนินการ โดยในวันนี้ คณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเขตบางขุนเทียน ได้ช่วยซื้อปลาหมอคางดำ 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม) ราคากิโลกรัมละ 20 บาท และยังมีเชฟชื่อดัง มาร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารจากปลาหมอคางดำ จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการลดจำนวนปลาหมอคางดำ โดยการจับมาสร้างมูลค่าเพิ่มแทนการจับไปทิ้ง
วันนี้ ยังได้แจกปลาหมอคางดำ 1 ตัน ทั้งปลาสดและที่ทำอาหารแล้ว ให้แก่กลุ่มเปราะบาง ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ที่มาร่วมกิจกรรม ซึ่งเมื่อนำมาทำอาหารแล้ว พบว่าอร่อยไม่แพ้เนื้อปลาอื่น
ทั้งนี้ การกำจัดปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศ และนำไปใช้ประโยชน์ด้วยการนำมาทำอาหาร เพื่อส่งต่อไปยังกลุ่มเปราะบาง จะขยายผลไปยัง BKK Food Bank สำนักงานเขตอื่น ๆ ด้วย
ด้านเชฟชุมพล บอกว่า รสชาติของปลาหมอคางดำ จะคล้ายกับปลานิล แต่อาจจะมีความกระด้างกว่าเล็กน้อย เพราะเป็นปลาสายพันธุ์นักสู้/นักล่า เช่นเดียวกับปลาช่อนหรือปลากะพง ข้อดีคือโปรตีนสูง ปลาตัวใหญ่นำไปทำอาหาร ส่วนตัวเล็กนำไปทำปลาร้า ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก และจะลดจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เชื่อว่าประมาณ 3 เดือน อาจจะหาจับได้ยากและราคาสูงขึ้น
กทม.พร้อมประสานกรมประมง เยียวยาเกษตรกร
นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน เปิดเผยว่า บางขุนเทียนมีเกษตรกรได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ ประมาณ 800 ราย ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอการเยียวยา
ด้านนายชัชชาติ กล่าวว่า การเยียวยาต้องเป็นไปในมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ส่วน กทม.จะเพิ่มเติมอะไรได้หรือไม่ ขอดูระเบียบก่อน
เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการ BKK Food Bank
โครงการ BKK Food Bank เป็นการนำคนที่มีเยอะและอยากแบ่งปันมาเจอคนที่ยังขาด กทม.ตั้งเป้าหมาย BKK Food Bank Center หรือธนาคารอาหาร ให้ครบทั้ง 50 เขต ตอนนี้มีแล้ว 33 เขต
ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ ยังมีประชาชนกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อยหรือตกงาน ตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ที่ยังขาดแคลนอาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิต กลายเป็นอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) และถูกทิ้งเป็นขยะทุกวัน กทม.จึงจัดทำโครงการ BKK Food Bank ขึ้น ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้แก่คนเมือง (Food Safety) และสร้างกลไกส่งต่อความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด SDGs ในเป้าหมายที่ 2 Zero Hunger หรือยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 33 เขต จาก 50 เขต นำร่องใน 4 เขต ประกอบด้วย บางขุนเทียน ห้วยขวาง และบางพลัด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: