วันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 09.30 น.นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย ปศุสัตว์จังหวัดลำปาง หัวหน้าส่วนราชการ และเกษตรกร ร่วมประกอบพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค – กระบือ ให้แก่เกษตรกรยืมเลี้ยงเพื่อการผลิต ตามโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567 ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เป็นโครงการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยกรมปศุสัตว์เป็นผู้ดำเนินการ และเป็นศูนย์รวมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ที่มีอาชีพในการทำนาทำไร่ได้อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ที่สำคัญของธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เพื่อช่วยให้เกษตรกรกรที่ยากจนทั่วประเทศได้มีโค-กระบือ ไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเป็นการช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นในวันนี้ ได้มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือ จำนวน 99 ตัว มูลค่า 3,762,000 บาท ให้แก่เกษตรกร จำนวน 99 ราย ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการเป็นกรณีพิเศษกิจกรรมมอบแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ อาหารสัตว์ผสมสำเร็จ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดลำปาง
ข่าวน่าสนใจ:
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- โหดเหี้ยม!หนุ่มถูกมีดฟันยับดับกลางถนน คาดทะเลาะในวงเหล้า
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 855ราย และมีโค-กระบือ จำนวน 1,330 ตัว โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ถือให้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบกับมีการทำงานบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นา การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: