เพชรบูรณ์ – เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บุกชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัด จี้รัฐบาลเร่งพยุงราคา หลังราคาลดลงผิดปกติ ยื่นขอราคา 7.50 บาท/กิโลความชื้นไม่เกิน 30% ด้านรองอธิบดีกรมการค้าฯแจง รง.อาหารสัตว์คงราคาซื้อปัจจุบันไว้ เตรียมเพิ่มข้องรับซื้อเพิ่ม
เวลา 10.00 น.วันที่ 12 ก.ย.67 ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ มีกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์จำนวนกว่า 800 คน ร่วมชุมนุมพร้อมชูป้ายเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยพยุงราคาข้าวโพด หลังราคาตกต่ำอย่างรวดเร็วผิดปกติ จากราคาราว 110 บาทต่อถัง เหลือเพียง 94 บาท หรือประมาณ 6.33 บาทต่อกิโลกรัม ภายในเวลาเพียง 10 วัน โดยเกษตรกรฯขอให้รัฐบาลกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำที่ 7.50 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับข้าวโพดที่มีความชื้นไม่เกิน 30%
ข่าวน่าสนใจ:
- "Gmm Show"แจ้งเตือนระวังมิจฉาชีพ หลอกขายบัตรทิพย์ คอนเสิร์ต Rock Mountain เขาค้อ
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- บุรีรัมย์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ชี้ควรเพิ่มหลีกแข่งขันในไทยเชื่อเศรษฐกิจพุ่งแน่นอน (มีคลิป)
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
โดยนายถาวร จงวัฒน์ ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จ.เพชรบูรณ์ ชี้ว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุนการผลิต โดยปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ รวมถึงค่าแรงมีราคาสูงมาก และทางโรงงานอาหารสัตว์ ยังนำเข้าข้าวสาลีและข้าวโพดจากต่างประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศลดลงอย่างผิดปกติ
ต่อมานายนายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน พร้อมนายสืบพงศ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการ จ.เพชรบูรณ์ รับหนังสือเรียกร้องจากเกษตรกรที่ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ความชื้นไม่เกิน 30% กิโลกรัมละ 7.50 บาท โดยอ้างว่าเกษตรกรถึงจะอยู่ได้
ในขณะที่นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายในชี้แจงว่า เมื่อวานนี้ได้พูดคุยกับโรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งตกลงจะคงราคารับซื้อในปัจจุบันไว้ โดยไม่ปรับลดลงอีก นอกจากนี้ทางกรมการค้าฯ เตรียมนำผู้ซื้อจากนอกพื้นที่มาเพิ่มช่องทางรับซื้อ พร้อมขอให้เกษตรกรชลอการเก็บเกี่ยวเพื่อรอให้ราคาปรับขึ้น
กระทั่งทางเกษตรกรตอบโต้ว่า ไม่สามารถชะลอการเก็บเกี่ยวได้ เนื่องจากจะเกิดความเสียหายกับผลผลิต ซึ่งปัจจุบันมีผลผลิตที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวราว 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมดเกือบ 6 แสนไร่…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: