พุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เดินทางมาเข้าร่วมพิธีทอดผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี 2567 วัดบางพลีใหญ่กลาง ตำบล บางพลีใหญ่ อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมี คุณสุรชัย และคุณยุพดี จรรยาสวัสดิ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น. ที่วัดบางพลีใหญ่กลาง ตำบล บางพลีใหญ่ อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (พระครูแจ้) เจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่กลาง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ดำเนินงาน จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ฉลององค์ผ้ากฐินสามัคคี ประจำปี 2567 ขึ้นซึ่งตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยมี ครอบครัวจรรยาสวัสดิ์ นำโดยคุณสุรชัย และคุณยุพดี จรรยาสวัสดิ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พิธีฉลององค์ผ้ากฐินสามัคคี พร้อมด้วย คหบดี ผู้ใจบุญ ตัวแทนสถานประกอบการ บริษัท ห้างร้าน คณะกรรมการ ไวยาวัจกร วัดบางพลีใหญ่กลาง ตลอดจน หน่วยงานองค์กรปรกครองส่วนท้องถิ่น คณะครูโรงเรียนวัดบางพลีใหญ่กลาง เจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ชุมชนวัดบางพลีใหญ่กลาง และพ่อค้า ประชาชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันเป็นเจ้าภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
โดยบรรยากาศภายในงานได้จัดให้มีพิธีแห่องค์ผ้ากฐินสามัคคี รอบพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่กลาง จำนวน 3 รอบ ก่อนทำพิธีถวายผ้ากฐิน ดังลำดับพิธีการ กฐิน (บาลี กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐินหรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: