ตรัง-ผวาทั้งเมือง หวั่นฆ่าตัวตาย มนุษย์วานรปีนหอนาฬิตรังเทียบตึก 4 ชั้นด้วยมือเปล่า ไร้เครื่องป้องกัน-ป้ายแจ้งการทำงาน โอล่ะพ่อ! ออแกไนซ์เหินติดไวนิลงาน “นครตรังเกมส์” เดชะบุญไม่เกิดอุบัติเหตุ “ทนายหมีนครตรัง” เตือนทำงานประมาท เสี่ยง ประหยัดเกิน ทำชาวบ้านแตกตื่น ส่อผิดกม.แรงงาน หลังเคยผวาเหตุชายพิการปีนประท้วงมาแล้ว 2 รอบ
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 67 เวลาประมาณ 18.45 น. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากพลเมืองดีว่าเกิดเหตุชายไม่ทราบชื่อปีนขึ้นหอนาฬิกาจังหวัดตรัง ซึ่งสร้างความตื่นตกใจให้กับผู้พบเห็นและร้านค้าบริเวณใกล้เคียง ต่อมาผู้สื่อข่าวรุดลงพื้นที่ และได้พบกับกลุ่มชาย-หญิง ประมาณ 4-5 คน อยู่ด้านล่างบริเวณฐานของหอนาฬิกา จึงสอบถามทราบว่าทั้งหมดมาติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์แข่งขันกีฬาแข่งขันกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งประเทศไทย “นครตรังเกมส์” ที่กำลังจะจัด ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งชายที่ถูกระบุว่าปีนหอนาฬิกา เป็นหนึ่งในคนงานที่มาติดตั้งป้ายดังกล่าว โดยในช่วงเวลาที่ผู้สื่อข่าวไปถึงพบว่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ดังกล่าวได้ถูกติดตั้งครบทั้งสี่ด้านของหอนาฬิกา และคนงานที่มาติดตั้งป้ายกำลังตรวจความเรียบร้อยอยู่ ในขณะที่รอบฐานหอนาฬิกามีกรวยสีล้มวางไว้
อย่างไรก็ตามนายกัมปนาท อินทองมาก ชาวบ้านเขตเทศบาลนครตรังซึ่งมาประสบเหตุ ขณะที่คนงานกำลังปีนหอนาฬิกา ได้โพสคลิป จำนวน 2 คลิป ความยาวคลิป 12 วินาที และ 23 วินาที ลงในเฟซบุ๊กเพื่อเตือนการทำงานที่สร้างความแตกตื่น พร้อมระบุข้อความ “ทำงานบ้าๆ ปีนขึ้นไปเฉยๆ ได้ไง ยุคนี้ ถ้าทำงาน ใครเขาปีนแบบนั้น ออแกไนซ์ ประหยัดมักง่ายเกินไป คนงานทำงานแบบอันตราย ตกมาตาย นะครับ ชาวบ้าน คนมาซื้อของ บริเวณนั้นตกใจทุกคน เพราะ ข้างล่างไฟสัญญาณว่าทำงานอยู่ก็ไม่มี ใครเห็น คนปกติเห็น ก็ตกใจ” โดยทั้ง 2 คลิปดังกล่าว ปรากฎท่าทางชายกำลังปีนป่ายขึ้นไปบรหอนาฬิกา โดยเกาะเกี่ยวไปกับเหล็กโครงสร้างของหอนาฬิกาอย่างหวาดเสียวจนขึ้นไปถึงชั้นบนสุดซึ่งมีความสูงจากพื้นดินเท่ากับตึก 4 ชั้น หรือไม่ต่ำกว่า 10 เมตร โดยในคลิปดังกล่าวมีเสียงตื่นตกใจของผู้คนที่พบเห็นเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง
นายกัมปนาท อินทองมาก นายกัมปนาท อินทองมาก ชาวบ้านเขตเทศบาลนครตรัง หรือ ทนายหมีนครตรัง ซึ่งมาประสบเหตุกล่าวว่า เหตุเกิดช่วงเวลา 18.30 น. ตนมาซื้อของกับลูกที่ร้านค้าแถวหอนาฬิกาตรัง แล้ว 18.40 น. ตนกำลังจะกลับบ้าน ก็ได้เห็นคนปีนหอนาฬิกา ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเกิดกรณีคนปีนหอนาฬิกาตรังเพื่อประท้วงมาแล้วในช่วงเวลากลางวัน ทีนี้เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาค่ำวันนี้ ตนได้เห็นแล้วว่ามีคนปีนขึ้นไปจะถึงความสูงสูงสุดของหอนาฬิกาแล้ว ปรากฏว่าทุกคนแถวนั้นต่างตื่นตกใจ กลัวว่าจะเกิดเหมือนกรณีคนปีนหอนาฬิกาอีกแล้ว เพราะเคยปีนมาแล้ว ทุกคนก็ต่างแตกตื่น ตนก็รีบแจ้งข่าวไปยังผู้ที่รับผิดชอบ คือเทศบาบนครตรัง เมื่อตนกลับถึงบ้าน ก็ได้รับแจ้งจากคนในเทศบาลว่า เป็นกรณีการขึ้นป้ายจัดงานของออแกไนซ์ของเทศบาลนครตรัง งาน “นครตรังเกมส์” แต่ตนกลับมองว่าทำไมไม่มีการประสานงานกับเทศบาลหรือเปล่า เพราะไม่มีแสงไฟหรือไฟกระพริบ ไฟหรือป้านเตือนที่แสดงว่ามีการทำงานหรือกำลังทำงานอยู่ก็ไม่มี รถกระเช้าที่สามารถดูแลความปลอดภัยได้ก็ไม่ใช้ มันไม่ใช่ขึ้นปีนขึ้นไปแบบนี้จนทำให้ประชาชนที่พบเห็นตกใจ
นายกัมปนาท กล่าวอีกว่า เหตุการณ์นี้มันไม่น่าจะเกิดกับการทำงานของเทศบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพราะไม่ได้รัดกุม เมื่อมีการปีนขึ้นไปจริง ไม่มีการติดไฟชาวบ้านก็ตกใจ เมื่อขึ้นไปแล้วกลับมารับแจ้งว่าเป็นการทำงานของออแกไนซ์ แล้วความปลอดภัยอยู่ตรงไหน มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง แล้วถ้าเกิดเรื่องผิดพลาด อาจจะทำให้เกิดเรื่องบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นแล้วมาตรการในการดูแลความปลอดภัยของคนงาน การแจ้งเตือนว่ามีการทำงานอยู่ เมื่อแจ้งเตือนชาวบ้านก็จะไม่ตกใจ เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นเลย ซึ่งเป็นมาตรการตามมาตรฐานของการทำงานความปลอดภัยของคนงาน
“ทำงานประมาทแบบนี้ คนต้องรับผิดชอบก็คือเทศบาลต้องดูแลเรื่องของออแกไนซ์ในการจัดงาน การทำงานที่รัดกุมความปลอดภัยของคนงาน แม้ไม่ใช่คนงานของเทศบาล ก็ต้องดูแลความปลอดภัยให้มากกว่านี้ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจไหด้วยเพราะเหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว”นายกัมปนาทกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหอนาฬิกาจังหวัดตรัง เคยเกิดเหตุชายพิการปีนหอนาฬิกาตรัง 2 ครั้งติดต่อกัน เมื่อวันที่ 9 มกราคม และ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา เพื่อประท้วงการทำงานของตำรวจ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การทำงานบนที่สูง มีกฎหมายการทำงานบนที่สูงตามกฎกระทรวงแรงงาน กําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการรและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวะอานามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานท่ีท่ีมีอันตรายจากการตกจสกที่สูง พ.ศ.2564 เนื่องจากปัจจุบันมีอุบัติเหตุที่เกิดจากการพลัดตกจากที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานบนที่สูง หมายถึง การทำงานใดๆ ที่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าระดับพื้นดิน ตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งบุคคลอาจตกลงมาในระยะที่อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ ตามกฎหมาย นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ และ ขั้นตอนกำรปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ในการทำงานในที่สูง ที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน การป้องกันและควบคุมอันตราย และควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ โดยกฎหมายกำหนดผู้ที่ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องมีทักษะต่างๆเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูงเป็นอย่างดี เช่น การเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันการตก เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: