วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ที่ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดนครพนม พลตำรวจเอก ไกรบุญ ทรวดทรง เจรตำรวจแห่งชาติ พลโทบุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายข้อสั่งการการป้องกันยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมี นายปราชญา อุ่นเพชรวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นายแพทย์กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช รักษานายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม พร้อมนางสาวธิดารัตน์ เลี่ยวปรีชา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ร่วมประชุมคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.นครพนม ร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อให้ประชาชนมีความสุขที่สุด โดยมีพลตำรวจเอก ไกรบุญ ทรวดทรง เจรตำรวจแห่งชาติ พลโทบุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายข้อสั่งการการป้องกันยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันยาเสพติด การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด การสร้างอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู การสนับสนุนและการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อรับทราบข้อมูล สถานการณ์ในพื้นที่ ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้มอบแนวทางการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล
พลตำรวจเอก ไกรบุญ ทรวดทรง เจรตำรวจแห่งชาติ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายกรัฐมนตรี ได้ปฏิบัติราชการลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามงานตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมเป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังปัญหาด้านการป้องกัน ปราบปรามยาเสพติด และกระบวนการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด พร้อมมีบัญชาสั่งการและกำหนดรูปแบบในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งกำหนดขยายพื้นที่เป็นพื้นที่ต้นแบบ นำร่อง 10 จังหวัด (เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สกลนคร นราธิวาส ปทุมธานี อุทัยธานี นครพนม นครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง)
“เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” จึงได้จัดประชุมคณะกรรมการ ศอ.ปส.จ.นครพนม เพื่อมอบแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามรูปแบบ “ธวัชบุรีโมเดล” ที่เคยได้ดำเนินการในจังหวัดร้อยเอ็ด รวมทั้งเพื่อร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดนครพนม ซึ่งได้มีการชี้แจงให้ที่ประชุมทราบวัตถุประสงค์กรอบอำนาจหน้าที่คณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และแนวทางการดำเนินการในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนมีความสุข โดยได้มีการพิจารณาการมอบหมายหน้าที่และแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายต่อไป”
ในการประชุมฯ ได้มีการนำเสนอโดยการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันยาเสพติด การสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติด การสร้างอาชีพให้กับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู การสนับสนุนและการแก้ไขปัญหายาเสพติดและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อรับทราบข้อมูล สถานการณ์ในพื้นที่ ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้มอบแนวทางการปฏิบัติ การแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ร่วมกับทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเดือดร้อนจากปัญหายาเสพติดให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่งจังหวัดนครพนมได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นบ.ยส.24) เพื่อให้เกิดการดำเนินการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด เคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อนึ่ง จังหวัดนครพนม จะยกระดับการแก้ไขปัญหายาเสพติด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ใช้รูปแบบ ‘ธวัชบุรีโมเดล’ มาเป็นแนวทางในการดำเนินการและกำหนดขั้นตอนดำเนินการไว้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นปฏิบัติการ ขั้นส่งต่อ ความยั่งยืน ขั้นทบทวนหลังการปฏิบัติ และขั้นขยายผลไปพื้นที่อื่น รวมทั้งยังกำหนดความรับผิดชอบให้แต่ละส่วนราชการ จังหวัดนครพนม/ ศอ.ปส.จว.น.พ. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ในการวางแผน อำนวยการ บูรณาการ ประสาน และควบคุมกำกับดูแล รวมทั้งขับเคลื่อนการสร้างหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง สร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม และตำรวจปราบปรามยาเสพติด รับผิดชอบหลักในมาตรการสกัดกั้น และมาตรการปราบปราม เน้นสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดเข้าสู่เขตของจังหวัด การปิดล้อมตรวจค้น ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม รับผิดชอบหลักในมาตรการบำบัด เน้นการคัดกรอง แบ่งแยกผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด ก่อนนำเข้าบำบัด ตามระดับความรุนแรง สำนักงานแรงงาน และพัฒนาชุมชน จังหวัดนครพนม รับผิดชอบหลักให้การช่วยเหลือ ภายหลังผ่านกระบวนการบำบัด โดยการ จัดหางานสนับสนุน การฝึกอาชีพ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน มณฑลทหารบกที่ 210 เป็นหน่วยร่วมในการวางแผน อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ และเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับทุกส่วนราชการที่เป็นหน่วยปฏิบัติหลัก และเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยจึงได้กำหนดตารางประสานสอดคล้องให้ครอบคลุม ทั้งภารกิจ หน่วยปฏิบัติหลัก และ หน่วยสนับสนุน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- เครื่องกั้นรถไฟคลองแขวงกลั่นพังบ่อย ล่าสุดลงปิดขวางถนนนานข้ามคืน
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ขอเชิญมาร่วมสัมผัส “ลมหนาว ริมฝั่งโขง ชมอุโมงไฟ ยาวที่สุด” ที่นครพนม
- แห่ชมโคมไฟพร้อมรับลมหนาวทางเทศบาลตำบลตลุกดู่เนรมิตรให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: