การลงพื้นที่ของคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนราชการและท้องถิ่น ท่ามกลางการต้อนรับจากชุมชนและผู้นำท้องที่ ช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ความหวังใหม่ของเกษตรกรคาบสมุทรสทิงพระ
ความมุ่งมั่นตั้งใจผู้นำท้องถิ่น นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีนโยบายที่ชัดเจนในการเดินหน้าสงขลาก้าวสู่การพัฒนาด้านเกษตรแบบยั่งยืน ทำหน้าที่เจ้าบ้านที่ดีได้รายงานปัญหา นำเสนอแนวทางการพัฒนาพร้อมรายงานความความคืบหน้าโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของพี่น้องประชาชนโดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเกษตร การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ แก๋ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะอย่างเต็มที่
“คลองระบายน้ำคลองเปรม ตำบลวัดสน อำเภอระโนด และ สถานีสูบน้ำสนามชัย ตำบลสนามชัย อำเภอสทิงพระ สองพื้นที่สำคัญที่รัฐมนตรีและคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยม โดยคลองระบายน้ำคลองเปรมถือเป็นโครงสร้างสำคัญในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม ส่วนสถานีสูบน้ำสนามชัยนั้นได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเหลือการจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน
การดำเนินงานและการลงพื้นที่รับฟังและแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องอย่างต่อเนื่องพบว่าพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ตั้งแต่สิงหนคร กระแสสินธิ์ สทิงพระ ระโนด ปัญหาน้ำเป็นเรื่องใหญ่ของเรา น้ำมากก็ท่วม น้ำแล้งก็ขาด เป็นอย่างนี้ทุกปี การมาของรัฐมนตรีในครั้งนี้เชื่อมั่นว่าโครงการต่าง ๆ ที่อบจ.และอปท.ภาคีเครือข่ายได้ร่วมบูรณาเดินหน้าอย่างเต็มที่ และชาวบ้านเองก็มีความหวังมากขึ้น” นายไพเจน
นายกอบจ.สงขลาย้ำว่า การแก้ปัญหาและพัฒนาด้านการเกษตรอบจ.สงขลาไม่ได้จำกัดเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้นำท้องถิ่นอปท.ในพื้นที่ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาคีเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่สำคัญชาวบ้านในพื้นที่ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำเสนอปัญหาของพวกเขาโดยตรง
“ความมุ่งมั่นพัฒนาด้านการเกษตรพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระไม่ได้หวังแค่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แต่มุ่งเน้นเพื่อยกระดับชีวิตของพี่น้องประชาชน พัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ส่งเสริมความรู้ด้านการเกษตรสมัยใหม่ และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: