ตรัง-เกินต้าน ตรังท่วมแล้ว! มวลน้ำเขาบรรทัดไหลบ่าเข้าท่วมอ.นาโยง ขนำน้อยลอยตามสายน้ำ เตือนพื้นที่เสี่ยงภัย 7 อำเภอ ชาวบ้านผวาเร่งขนของขึ้นที่สูง ปภ.ตรัง เกาะติดระวังเหตุ ชลประทานเชื่อยังเอาอยู่หลังมีคลองลัดแม่น้ำตรัง
จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 ว่า ขณะนี้จังหวัดตรังประสบปัญหาฝนตกหนักต่อเนื่องส่งผลให้หลายพื้นที่เสี่ยงต่อ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินสไลด์ โดยเฉพาะบริเวณเชิงเขาและริมแม่น้ำ โดยนายทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ได้ออกประกาศเตือนระหว่างวันที่ 27 พ.ย.- 4 ธ.ค.67 ให้ประชาชนเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พื้นที่เสี่ยง รวม 7 อำเภอ จากทั้งหมด 10 อำเภอของจ.ตรัง ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอวังวิเศษ อำเภอรัษฎา อำเภอย่านตาขาว อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง และ อำเภอปะเหลียน
ล่าสุด วันนี้(29 พ.ย. 67) เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ตรงบริเวณ คลองนางน้อย รอยต่อ 3 อำเภอ อำเภอเมือง อำเภอย่านตาขาว อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง และบริเวณสะพานหลังค่ายลูกเสือพระยารัษฎา หมู่ 4 และหมู่ 7 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง พบว่าได้มีน้ำไหลหลากทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านแล้วจำนวน กว่า 40 หลังคาเรือน และได้ท่วมตรงบริเวณสะพานซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรในหมู่บ้าน โดยล่าสุดได้มีทหาร จากค่าย มทบ.43 พร้อมด้วย นายจารึก ทองหนัน รองนายกอบจ.ตรัง และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 พร้อมกับลูกบ้าน กำลังระดมตัดรื้อถอนท่อนไม้ ที่ไหลมากับน้ำ ออกจากสะพานดังกล่าว เพื่อไม่ให้ขวางทางน้ำและเร่งระบายน้ำออก ระดับน้ำบนสะพาน 1.50 เมตร ซึ่งน้ำมีสีขุ่นยังคงไหลแรงและเชี่ยว โดยทางนายจารึก ทองหนัน รองนายกอบจ.ตรัง สั่งระดมเครื่องจักรรถแบคโฮ เพื่อมาทำการรื้อท่อนไม้ที่กีดขวาดตอม่อสะพานออกโดยด่วน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือละรอบที่ 3
ในขณะที่บ้านชาวบ้าน ได้ขนข้าวของเร่งอพยพไว้บนที่สูงแล้ว แต่พบว่ามีขนำอยู่ 1 หลัง ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ที่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำพังเสียหายทั้งหลัง แต่โชคดีที่คนปลอดภัย โดยพบว่าปริมาณน้ำจากเทือกเขาบรรทัดหลังจาก หลังจากที่ฝนหยุดตก น้ำได้ลดปริมาณลง มากกว่า 1 เมตรแล้ว และน้ำได้เข้าท่วมในพื้นที่เกษตรทั้งสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันในหลายพื้นขยายเป็นวงกว้าง
ข่าวน่าสนใจ:
- ฝนหยุดตกบ้างแล้วในพื้นที่ยะลา ระดับน้ำยังทรงตัว คาดอีก 2-3 วัน น่าจะคลี่คลาย
- ตรังพาณิชย์ยกระดับผู้ประกอบการเป็นนักการค้ามืออาชีพ
- เรื่องเพิ่งแดง! อาคารสนามบินตรังเสียหายยับเยิน ทิ้งร้างต่อหน้า “นายหัวชวน” นั่งไม่ติดร้อนใจรุดดู ผงะ!มือมืดลักสายไฟนานแรมปี
- ยะลา ฝนกระหน่ำวันที่สองกระทบ 5 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อน 107,741 คน ขณะที่น้ำโอบล้อมตัวเมือง ผู้ว่าฯ เร่งสั่งการอพยพประชาชนด่วน
ในขณะที่พื้นที่ตำบลละมอ อำเภอนาโยง ถนนเพชรเกษม ช่วงตำบลละมอหน้าสหกรณ์การเกษตรนาโยง มีน้ำเอ่อท่วมทางถนน ทั้งฝั่งขาเข้า-ขาออก จน ทำให้รถเล็กไม่สามารถสัญจรไปมาได้ โดยมีเจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงตรัง ได้ตั้งป้ายและมีเจ้าหน้าที่เตือน พร้อมบอกเส้นทางเลี่ยงไปทางอื่นแทน โดยมีระดับน้ำโดยมีระดับน้ำ 20-50 เซนติเมตร และล่าสุดขณะนี้ฝนได้หยุดทิ้งช่วงประมาณ 2-3 ชั่วโมงแล้ว หากไม่ตกซ้ำลงมาอีกคาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายภายในวันนี้
ทั้งนี้ฝากเตือนประชาชนให้ระวังสัตว์มีพิษที่ไหลมากับน้ำ ทั้ง แมงป่อง ตะขาบ งู ฯลฯ
จากการสอบถามนายอุดมพร กาญจน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง บอกว่า ซึ่งช่วงนี้ภาคใต้เข้าสู่ ช่วงมรสุม พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งฝั่งตะวันตกก็มีเทือกเขาบรรทัดกั้นไว้ ซึ่งทางปภ.ตรังและทางชลประทาน จากการติดตามเมื่อเช้านี้ เมื่อวาน(28 พ.ย. 67) ไม่มีน้ำ แต่วันนี้ พบว่ามีปริมาณน้ำมาก ไหลท่วมขังบริเวณที่ลุ่ม รวมถึงบ้านเรือนของชาวบ้าน ในภาพรวมของจังหวัดตรัง โดยเฉพาะลุ่มน้ำตรัง ปริมาณน้ำยังไม่เยอะ ซึ่งเป็นห่วงว่า น้ำไหลหลากจากเทือกเขาบรรทัด อ. ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน อ.นาโยง ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ซึ่งได้เฝ้าติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ส่วนความพร้อม ก็ได้ติดตามอยู่ตลอดแต่ยังไม่ได้ตั้งศูนย์ บัญชาการ แต่หากเกิดเหตุรุนแรงกว่านี้ ก็จะมีการตั้งศูนย์บัญชาการขึ้น และติดตามมอนิเตอร์ ปริมาณน้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลทั้งหมดจะส่งไปยังท้องถิ่น ตอนนี้ก็อยากฝากแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมความพร้อมรับมือ แต่อย่าตื่นตระหนก บ้านที่เสี่ยงก็ให้เตรียมตัว ต้องเตรียมข้าวสารอาหารแห้งไว้ให้เพียงพอ เพราะตอนนี้การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่เป็นปกติเหมือนที่ผ่านมา อย่างภาวะโลกร้อน ก็ทำให้ฤดูกาลขยับปรับเปลี่ยน เพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมของทุกส่วน โดยเฉพาะภาครัฐเอง ก็ได้ติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา และได้บูรณาการกับผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ประกาศเป็นภัยพิบัติ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถึงกับท่วมเป็นหมู่บ้าน และหากศักยภาพของท้องถิ่น แจ้งมาก็จะประกาศให้เป็นพื้นที่เขตภัยพิบัติ
นายอุดมพร กล่าวว่า โดยเบื้องต้นน้ำเข้าท่วมในพื้นที่หมู่ที่ 3 และหมู่ 4 ตำบลช่อง อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ซึ่งคาดการณ์ว่าอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ยังไม่ได้รับผลกระทบมาก
ด้านนายธนิษฐ์ หยูทอง ชลประทานตรัง บอกว่า ทางชลประทานได้ประสานกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ ลุ่มน้ำอำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน อำเภอย่านตาขาว ยังห่างตลิ่งอยู่ประมาณเมตรกว่า ซึ่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ ซึ่งทั้ง 3 โครงการระบบผันน้ำคลองลัดแม่น้ำตรัง ยังช่วยได้ จากการสอบถามชาวบ้านทั้ง 3 โครงการเป็นประโยชน์กับชาวบ้านในการป้องกันน้ำท่วม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: