ปราจีนบุรี – เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่รับฟังปัญหาช้างป่า พื้นที่ ต.เขาไม้แก้ว-ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บรี จ.ปราจีนบุรี
เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศาลาเอนกประสงค์วัดคลองตามั่น ม.8 ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี นาวาอากาศตรีสุธรรม ระหงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์พยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ประชาชนและจิดอาสาเฝ้าระวังช้างป่า ตำบลเขาไม้แก้ว และตำบลวังท่าช้าง ซึ่งที่ผ่านมา 2 ตำบลนี้ มีฝูงช้างป่าจากเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเขาอ่างฤาไน เข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านนานกว่า 2 เดือน ทำให้นาข้าว มันสําปะหลัง อ้อย ของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างหนัก และได้ทำร้ายชาวบ้านเสียชีวิต เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา สร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านอย่างมาก
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ฯ พร้อมกับผู้นำท้องถิ่นท้องที่ และจิตอาสาฯ ทั้งสองตำบล ร่วมกับ จิตอาสา อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ร่วมผลักดันช้างป่าอีกด้วย แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ฯ จะสนธิกำลังผลักดันช้างป่าให้ออกจากพื้นที่การเกษตร แต่ก็ยังมีฝูงช้างป่า เข้ามาหากินอยู่ในพื้นที่เกือบทุกวัน
โดยมีชาวบ้านให้ข้อเสนอแนะผ่านเลขานุการฯ ไปยังรัฐมนตรีและรัฐบาล โดยให้เร่งแก้ไขปัญหาช้างป่าไม่ให้ออกมาหากินในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอย่างเด็ดขาด จะทำคูกั้นช้างให้ลึกและรอบที่ทำรั้วกั้นช้างไว้ รวมถึงให้เพิ่มกำลังจิตอาสาฯ อีก เพราะกำลังมีไม่เพียงพอ เกษตรกรได้เร่งเก็บเกี่ยวอ้อยหนีช้างป่า แต่ก็ต้องรอเวลาให้อ้อยอายุครบ 120 วัน จึงจะตัดได้ ณ ตอนนี้ อ้อยยังไม่ครบอายุที่จะตัดส่งโรงงาน คาดว่า หลังปีใหม่เกษตรกรจะตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาล จากนั้น เลขานุการและคณะได้เดินทางไปดูฝูงช้าง ที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 20 ตัว ที่อาศัยอยู่ข้างป่าสะเดาซึ่งเป็นแหล่งที่พักพิงของฝูงช้างป่า
ข่าวน่าสนใจ:
อย่างไรก็ตาม เลขานุการรัฐมนตรีฯ รับปากจะนำข้อเสนอแนะ และคิดเห็นของชาวบ้านให้กับรัฐมนตรี รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาช้างของเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเขาอ่าฤาไน โดยทุกคนอยากให้เขตอนุรักษ์สำรวจประชากรช้างใหม่ ซึ่งสำรวจครั้งที่แล้ว เมื่อหลายปีก่อน มีประชากรช้างคร่าว ๆ 750 ตัว คาดว่า ช้างออกมาหากินนอกเขตอนุรักษ์รักษ์ฯ อาจเป็นส่วนหนึ่งของช้างที่มีประชากรเยอะเพิ่มขึ้น ทำให้แหล่งอาหารไม่เพียงพอ จึงพากันมาหากินในพื้นที่ตำบลวังท่าช้างและเขาไม้แก้ว ซึ่งทั้งสองตำบลนี้ปลูกอ้อย 60,000 ไร่ และรองลงมาเป็นมันสำปะหลังและนาข้าว ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของช้างป่า
——————————–
ข่าวภาพโดย /ทองสุข สิงห์พิมพ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: