พังงา-กำเนิดเต่ามะเฟือง การกลับมาของเต่าใหญ่ที่สุดในรอบ 6 ปี ครั้งแรกในโลกติดกล้อง 6 ตัว ออนไลน์รังไข่เต่า 24 ชั่วโมง
ที่หาดคึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา รองศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ. ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะผู้บริหารกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้บริหาร TOT ร่วมเปิดศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุผลสำเร็จ และประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ รับรู้ รับทราบให้กับประชาชน
ข่าวน่าสนใจ:
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ชายหาด หน้าโรงแรมเขาหลัก ออคิด บีช รีสอร์ท ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา โดยมิสเตอร์เบรนด์และภริยาเดินจูงสุนัขออกกำลังกาย ได้พบว่าแม่เต่ามะเฟืองกำลังกลบหลุมที่วางไข่ไว้บนชายหาด วัดขนาดความยาวกระดอง 125 เซนติเมตร กว้าง 70 เซนติเมตร ขึ้นมาวางไข่ จึงได้แจ้งแก่ สบทช.8 ลงพื้นที่แล้วพบว่า แม่เต่ามะเฟืองได้วางไข่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม เป็นพื้นที่น้ำทะเลท่วมหลุมวางไข่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ไข่เน่าเสียได้ จึงต้องทำการย้ายหลุมวางไข่ไปไว้ในบริเวณที่เหมาะสมต่อการฟักตัวและปลอดภัยจากศัตรูตามธรรมชาติพร้อมกั้นบริเวณพื้นที่วางไข่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการฟักออกเป็นตัวของลูกเต่ามะเฟือง โดยอยู่ห่างจากตำแหน่งเดิม 20 เมตร เนื่องจากเป็นบริเวณที่เหมาะสม พร้อมกั้นคอกเพื่อป้องกันศัตรูทางธรรมชาติและมนุษย์และติดป้ายประกาศเตือน โดยมีหน่วยงานที่ร่วมกันรับผิดชอบในการดูแล กว่า 10หน่วยงาน ร่วมกันเฝ้าระวัง ป้องกัน และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ เป็น“ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง โดยมีมาตรการระยะสั้น ในการเฝ้าระวังภัยคุกคามที่จะเกิดกับไข่เต่ามะเฟืองในหลุมฟักใหม่โดยการกั้นบริเวณพื้นที่และมีเวรยามเฝ้าระวังในช่วงเวลากลางคืน พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เดินลาดตระเวนแม่เต่าอาจกลับขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง ในช่วงวันที่ 27-31 ธันวาคม 2561 พร้อมกับติดตั้งระบบกล้อง CCTV ที่สามารถถ่ายทอดสถานภาพการฟักไข่เต่ามะเฟืองตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงผ่านทาง เว็บไซต์ loveturtle.dmcr.co.th จนกว่าจะฟักเป็นตัวแล้วคลานลงสู่ทะเลพร้อมติดป้ายประกาศชนิดของเต่าที่วางไข่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ข้อพึงปฏิบัติที่เหมาะสมในการเข้าชมหรือถ่ายภาพบริเวณหลุมฟักไข่ ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง/ พรบ. ทช./ พรบ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 และ พรบ.ประมง 2490 เป็นต้น ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ของ กรม ทช ในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกโดยชุมชนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และนักท่องเที่ยวในการช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ความรู้เรื่องภัยคุกคามต่างๆ ที่ทำให้เต่าทะเลสูญพันธุ์ได้ เช่น ภัยคุกคามจากขยะทะเลที่ส่งผลให้เต่าทะเลบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการอุดตันในระบบทางเดินอาหารและการพันยึดอวัยวะภายนอกอันก่อให้เกิดบาดแผลและตายได้ หรือภัยคุกคามจากการบุกรุกแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งว่างไข่ของเต่าทะเล หรือการกัดเซาะชายฝั่งที่ทำให้เต่าทะเลไม่สามารถขึ้นมาวางไข่ในบริเวณที่เหมาะสมได้ จึงทำให้ไข่เน่าเสียหมด จัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมกันเป็นเครือข่าย กรม ทช. อนุรักษ์ฟื้นฟูเต่าทะเล เป็นต้น ช่วงวันที่ 20 ธันวาคม 2561 – 14 กุมภาพันธ์ 2562 แม่เต่ามะเฟืองตัวเดิมอาจจะกลับขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงฤดูวางไข่ของเต่ามะเฟืองตามธรรมชาติอีกด้วย
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเล กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ตระหนักถึง โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 และโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ที่บรรจุสัตว์ทะเลหายากอยู่ภายใต้โครงการฯ อีกทั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำมาเป็นเครื่องมือในการทำงานจึงเป็นโอกาสให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้เป็นผู้นำในการสร้างความร่วมมือของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ระหว่างภาคราชการ ทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ภาคเอกชน โรงแรม ภาควิชาการ และองค์กรพัฒนาเอกชน ในพื้นที่หาดคึกคักให้ร่วมกันอนุรักษ์แหล่งวางไข่เต่ามะเฟือง โดยยึดหลักการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นศูนย์กลาง ของความร่วมมือในการอนุรักษ์หมายถึงการที่เราจะอนุรักษ์เต่ามะเฟืองได้ ต้องอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งวางไข่ รวมถึงการพัฒนาในพื้นที่ที่เปราะบางนี้ ต้องไม่รบกวนวงจรชีวิตของเต่าทะเลไปด้วยจึงเป็นที่มาของ “ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง บริเวณหาดคึกคัก จ.พังงา ”
ทั้งหมดนี้เป็นความร่วมมือทำสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล และหวังว่าความพยายามที่เราช่วยกันยกระดับการอนุรักษ์เต่ามะเฟือง ให้เข้มข้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในวันนี้จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดพังงาไปสู่สากล และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางทะเลระดับโลก บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนสร้างกระบวนการมีจิตสำนึก หวงแหน และก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แหล่งวางไข่และเต่ามะเฟืองแห่งนี้ด้วย ระยะเวลาในการฟักไข่ 60 วัน จึงต้องมีการเฝ้าระวังภัยคุกคามที่จะเกิดกับไข่เต่า
ด้าน ผศ. ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ เปิดเผยว่า ปัญหาขยะทะเล เป็นสาเหตุหนึ่งของการลดลงของประชากรเต่ามะเฟือง เพราะอาหารหลักของเต่ามะเฟืองคือแมงกระพรุน ทำให้เต่าหลงผิดกินถุงพลาสติกเข้าไปจนตาย ทำให้5-6 ปีที่ผ่านมาไม่มีเต่ามะเฟืองกลับขึ้นมาวางไข่อีกเลย แต่มีการเจอซากเต่ามะเฟืองถึง 2 ตัว เมื่อหลายหน่วยงานมีการรณรงค์แก้ปัญหาขยะทะเลกันอย่างจริงจัง ทำให้เป็นผลในพื้นที่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามะเฟืองกลับมาวางไข่ถึง 2ครั้ง สำหรับโครงการ “ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง” ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการติดตามชีวิตของเต่ามะเฟือง 1 รัง ทำให้คนทั้งโลกได้เห็นว่าคนพังงาให้ความสำคัญกับเต่าทะเลขนาดนี้ นี่คือ “กำเนิดเต่ามะเฟือง การกลับมาของเต่าใหญ่ที่สุด ในรอบ 6 ปี” ซึ่งผลลัพธ์ของการที่เราทุกคนช่วยกันแก้ปัญหาขยะพลาสติกและขยะทะเล
นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา กล่าวว่า คำว่าสัตว์ทะเลหายากนั้นหมายถึง มี แต่ไม่มาให้เราพบเห็น แต่ในช่วงนี้กลับพบว่าสัตว์ทะเลหายากได้กลับมาให้เราเห็นเป็นจำนวนมาก ก็เพราะเกิดจากสภาพแวดล้อมในทะเลนั้นดีขึ้น ไม่มีการรบกวน การทำประมงที่ผิดกฎหมายก็หายไปเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งหน้าโรงแรมซึ่งไม่ใช่ที่รกร้างก็ยังมีเต่ากลับขึ้นมาวางไข่ ก็แสดงให้เห็นว่าจังหวัดพังงามีการท่องเที่ยวที่ควบคู่กับการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: