วันที่ 21 มกราคม 2562 นายอนันต์ ตั่นฉ้วน เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ลงพื้นที่แปลงนาข้าวหอมละมุนอินทรีย์ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนไผ่เขียว ต.ไผ่ล้อม อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งมีนายบันเทิง มีรอด เป็นกลุ่มฯ เพื่อติดตามการจัดเตรียมแปลงนาดังกล่าว124 ไร่ เข้าสู่ระบบอินทรีย์ ตามมาตรฐานออร์แกนิกไทยแลนด์ (Organic Thailand) ในช่วงฤดูทำนาปี ที่จะถึงนี้ และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ล้านไร่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดเตรียมระบบเพื่อให้ได้มาตรฐานข้าวอินทรีย์ของออร์แกนิกไทยแลนด์ โดยจัดพื้นที่นาของนายบันเทิงจำนวนกว่า 30 ไร่ ให้เป็นแปลงต้นแบบขุดร่องน้ำทำคันดินรอบแปลงนาเพื่อเป็นแนวกันชน ป้องกันสารเคมีจากแปลงนาข้างเคียง ที่ยังมีเกษตรกรทำนาแบบเคมี ในระบบเกษตรอินทรีย์น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำจากธรรมชาติ เพราะฉะนั้นขุดสระเก็บกักน้ำ 5 ไร่ สร้างโรงสี 3 ไร่ อีก 18 ไร่จะปลูกข้าวหอมละมุนอินทรีย์ ซึ่งช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้ทำนาอินทรีย์ จนสามารถรวมกลุ่มขยายสมาชิกและพื้นที่ปลูก 124 ไร่
เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า แปลงนาข้าวหอมละมุนแบบอินทรีย์ ของกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนไผ่เขียว เป็นไปตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (1 ล้านไร่) ของรัฐบาล โดยหลังจากที่ยกคันดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะปลูกไม้ผลบนคันดิน เพื่อเป็นกำแพงป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีที่อาจลอยมาตามลม แปลงนาช่วงก่อนถึงฤดูเพาะปลูกหว่านปอเทืองบำรุงดิน นับเป็นแปลงต้นแบบในการผลิตข้าวอินทรีย์ 100 เปอร์เซ็นต์ของ จ.อุตรดิตถ์ เป็นการบูรณาการการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และวิสาหกิจชุมชน ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ช่วงที่ผ่านมากลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนไผ่เขียว ปลูกข้าวหอมมะลิหอมละมุนอินทรีย์ด้วยวิธีดั้งเดิม คือ เป็นนาดำ มีการลงแขกเกี่ยวข้าวแทนลดต้นทุนการผลิต และทำเพียงปีละ 1 ครั้งช่วงฤดูฝนหรือนาปีเท่านั้น จูงใจให้เกษตรกรลดการทำนาปรัง มาทำนาข้าวอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถทำการตลาดด้วยตัวเองมีออรเดอร์สั่งจาก จ.ลพบุรี จ.น่าน และ โรงยาบาล มีกำลังผลิตกว่า 100 ตัน และยังได้รับความสนใจจากบริษัทใหญ่ที่ต้องการข้าวมาตรฐานจากทางกลุ่มฯ แต่ยังมีกำลังผลิตไม่พอ หลังจากมีการเข้าสู่ระบบอินทรีย์ ตามมาตรฐานออร์แกนิกไทยแลนด์แล้ว พันธุ์ข้าวหอมละมุนที่ใช้ เป็นพันธุ์ข้าวที่จะขอ GI ในอนาคต ซึ่งในภาพรวมจังหวัดอุตรดิตถ์ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และผ่านมาตรฐาน 3,500 ไร่ จากพื้นที่นาข้าวทั้งหมดกว่า 560,000 ไร่ จำเป็นต้องขยายพื้นที่ โดยมีแปลงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนไผ่เขียวเป็นต้นแบบ เพื่อให้จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นแหล่งข้าวคุณภาพที่สามารถส่งจำหน่ายให้บริษัทใหญ่ๆ และส่งออกต่างประเทศได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคักกว่าทุกปีสุดยอดงานสืบสานประเพณีตีคลีไฟหนึ่งเดียวในโลก!
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: