รมต.กระทรวงสาธารณะสุขแสดงความเป็นห่วงประชาชนจากฝุ่น PM 2.5 เน้นย้ำทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันพร้อมจับตาผู้ที่อยู่ในจุดเสี่ยงและมีโรคประจำตัว ส่วนโรงเรียนที่อยู่ในจุดเสี่ยงก็สามารถสั่งการได้เองทันที ไม่ต้องรอคำสั่งจากกระทรวงฯ
(23 ม.ค. 62)ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวการเฝ้าระวัง สุขภาพของประชาชนในสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน ที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข จ. นนทบุรี โดยมีทุกภาคส่วนของกระทรวงสาธารณะสุขเข้าร่วม
นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร ระบุว่า ทุกภาคส่วนยังคงเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับและสอบถามมายังกระทรวงสาธารณะสุขและกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนายแพทย์ ปิยะสกล เน้นย้ำว่า การแก้ไขปัญหาฝุ่นดังกล่าว ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันลดพฤติกรรมที่ทำให้ฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น และลดกิจกรรมกลางแจ้งบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว ซึ่งางกระทรวงสาธารณะสุขเองได้กำชับและจัดทีมแพทย์เข้าตรวจสอบประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในจุดเสี่ยงและต้องทำงานกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน เช่น ตำรวจจราจร , ม้าแผงลอย และพนักงานก่อสร้าง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน
ขณะที่ นายแพทย์ ปิยะสกล ยังเน้นย้ำให้ประชาชนดูและตัวเองในเบื้องต้นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย สังเกตอาหารตัวเองอยู่บ่อยครั้ง หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหน้าอก ระคายเคืองตาเป็นระยะเวลานาน ควรรีบเข้าพบแพทย์ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรค หอบหืด ถุงลมโป่งพอง และหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัด ระมัดระวังเป็นพิเศษและได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังกลุ่มคนที่มีโรดดังกล่าวเป็นพิเศษ
ด้านนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับกระทรวง (EOC) ประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรุงเทพมหานคร และกรมควบคุมมลพิษอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ สื่อสารแจ้งเตือนประชาชน พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนผ่านทุกช่องทางสื่อ ทั้งสื่อหลักและสื่อโซเชียล จัดทำแนวทางการดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงและจัดทีมปฏิบัติการลงพื้นที่ ตอนนี้ทางกระทรวงสาธารณะสุขได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยในเบื้องต้น จะมีการให้ข่าวทุกวัน จันทร์และพฤหัสบดี เพื่อให้ข้อมูลตรงกัน
ให้ความรู้สร้างความตระหนักในกลุ่มเสี่ยงเช่น โรงเรียน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ สถานบริการสาธารณสุข รวมทั้งมอบหมายให้กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จัดทีมออกพื้นที่ให้ความรู้ประชาชนในการปฏิบัติตน แจกหน้ากากอนามัย เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลจัดคลินิกเฉพาะโรคให้คำปรึกษาสำหรับประชาชนที่สงสัยว่าตนเองมีอาการที่อาจเกิดจากฝุ่นขนาดเล็ก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค 1422
ขณะที่ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีที่ โรงเรียนรุ่งอรุณ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนพระราม 2 ที่เป็นจุดที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน ปิดทำการ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า เป็นกลไกปกติของโรงเรียน ในกรณีที่มีนักเรียนป่วย เพราะ มีการทับซ้อนกันของเหตุการณ์ทั้งอากาศหนาว และ สถานการณ์ฝุ่น จึงอาจทำให้อาการป่วยตามฤดุกาลรุนแรงขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่และโรคต่างๆ
นายแพทย์ ปิยะสกล กล่าวเสริมว่า โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สามารถดำเนินการปิดได้เอง ไม่จำเป็นต้องรอให้กระทรวงฯสั่งการลงไป ซึ่งหากประกาศปิดทั้ง กทม. ก็ไม่สามารถทำได้ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับส่วนรวม และการประเมินก็ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ว่า เด็ก 2-3 คนป่วยแล้วปิด แต่ใช้ข้อมูลการพยากรณ์สถานการณ์ฝุ่นจากกรมควาบคุมมลพิษเป็นตัวตั้ง
ผู้สื่อข่าวถามถึงเกณฑ์ในการพิจารณาปิดโรงเรียน ทาง พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ผลจากฝุ่น PM2.5 ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นฉับพลัน ต้องใช้เกณฑ์สถานการณ์ฝุ่นในวันนั้นๆ ซึ่งทางกระทรวงระบุว่า อย่าเอามาเกี่ยวข้องกัน แต่อย่างไรก็ตามหากโรงเรียนมีนักเรียนที่ป่วยเป็นโรคอื่นๆ ก็มีมาตรการที่รองรับอยู่แล้ว ขอให้แยกเรื่องเจ็บป่วยกับฝุ่นออกจากกัน แต่เนื่องจากอยู่ในสถาการณ์เดียวกันซึ่ง สิ่งที่ประชาชนธรรมดาควรกลัวคือผลระยะยาว และสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาจมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น ซึ่งทางกระทรวงฯก็มีวีธีการรับมืออยู่แล้ว จณะที่อีหนึ่งสิ่งที่ กรมการแพทย์ เป็นห่วง คือการที่ฝุ่นเข้าไปยังปอดของเด็กซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคบางอย่างกลายพันธุ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: