มสธ.โพลชี้สูงวัยยุคใหม่ไม่ตกเทรนด์ ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ทันโลกตลอดชีวิต ต้องการด้านอาชีพ มีงานทำตามความเหมาะสม และต้องการหลักประกันรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
ประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ต้องยกให้กับ “ญี่ปุ่น” ตามมาด้วย “สิงคโปร์” และ “ประเทศไทย” ขณะที่อันดับ 4 และ 5 คือ จีน และเวียดนาม สำหรับประเทศไทยเรากำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อเจาะลึกเฉพาะ “ประเทศไทย” พบว่าอีก 3 ปีข้างหน้า ไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Aged Society) นั่นคือ ประชากรกลุ่มผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งประเทศ จากปัจจุบันไทยกำลังอยู่ในขั้น “สังคมผู้สูงวัย” (Aging Society) ที่ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัดส่วน 10% ของประชากรทั้งประเทศ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม นอกจากให้ความสำคัญงานทางด้านสื่อสารการเมืองแล้วยังมุ่งเน้นการสำรวจทางด้านสังคมโดยเฉพาะสังคม “ผู้สูงวัย”ซึ่งทางศูนย์สำรวจข้อมูลและสังคม นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช STOU PSC POLL ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุทั่วประเทศ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความต้องการในชีวิตของผู้สูงอายุ”ครั้งที่ 2/2560 เมื่อช่วง 8-12 เมษายน 2560 ที่ผ่านมาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,840 คน เป็นชาย 868 คน หญิง 972 คน
ผลการสำรวจ ในประเด็น ความต้องการของผู้สูงอายุช่วงอายุ 60-70 ปี พบว่า อันดับแรกมี 2 เรื่องที่ต้องการมากที่สุดเท่ากันคือต้องการอาชีพ มีงานทำที่เหมาะสม และ ต้องการการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกตลอดชีวิต รองลงมามี 2 เรื่องที่ต้องการมากที่สุดเท่ากันคือต้องการหลักประกันรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ และต้องการมีเงินเก็บสะสมเพื่อใช้ในบั่นปลายชีวิต อันดับสามมี 2 เรื่องที่ต้องการมากที่สุดเท่ากันคือ เรื่องการท่องเที่ยว ทัศนศึกษาเปิดหูเปิดตา และ ต้องการเห็นความสำเร็จของลูกหลานและคนใกล้ชิด อันดับถัดมามี 4 เรื่องที่ต้องการมากที่สุดเท่ากันคือ ต้องการเห็นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าและสงบสุข ต้องการให้ลูกหลานมาเยี่ยนเยียนพบปะพูดคุย ต้องการการรักษาพยาบาลที่ดีและรวดเร็ว และต้องการความสนใจเอาใจใส่จากผู้อื่น
ผลการสำรวจยังพบว่า ความต้องการของผู้สูงอายุ 70- ปี ขึ้นไป อันดับแรกมี 3 เรื่องซึ่งต้องการมากที่สุดเท่ากัน คือ ต้องการการรักษาพยาบาลที่ดีและรวดเร็ว ต้องการมีเงินเก็บสะสมเพื่อใช้ในบั่นปลายชีวิต ต้องการรัฐสวัสดิการที่เหมาะสมเพียงพอ รองลงมามี 3 เรื่องซึ่งต้องการมากที่สุดเท่ากันคือ ต้องการหลักประกันรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพ ต้องการให้ลูกหลานมาเยี่ยนเยียนพบปะพูดคุย ต้องการที่อยู่อาศัยที่สะอาดสิ่งแวดล้อมดี อันดับสามมี 2 เรื่องซึ่งต้องการมากที่สุดเท่ากัน คือ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชน ต้องการเห็นความสำเร็จของลูกหลานและคนใกล้ชิด อันดับถัดมามี 2 เรื่องซึ่งต้องการมากที่สุดเท่ากันคือ ต้องการการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ทันโลกตลอดชีวิต ต้องการท่องเที่ยว-ทัศนศึกษาเปิดหูเปิดตา
สำหรับในประเด็น ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายอะไรเป็นพิเศษเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ผลการสำรวจพบว่า อันดับแรก มี 3 เรื่องซึ่งต้องการมากทีสุดเท่ากันคือ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผู้สูงอายุที่มีความรู้และประสบการณ์ ขยายเวลาการเกษียณอายุงานในภาคราชการและเอกชน พัฒนาบุคลกรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเชี่ยวชาญการดูและผู้สูงอายุ รองลงมา มี 2 เรื่องซึ่งต้องการมากที่สุดเท่ากันคือเรื่องมอบหมายภารกิจที่ชัดเจนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ และเรื่องการจัดงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพียงพอ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: