เกษตรอำเภอเกาะลันตา จ.กระบี่ ปลูกมะเขือยักษ์ หรือมะเขือหยกภูพาน ริมรั้วด้านหน้าสำนักงาน หวังกระตุ้นชาวบ้านหันมาสนใจผักปลอดสารพิษกินเองในครัวเรือน สร้างความฮือฮาแก่ผู้พบเห็น โดยมะเขือ1ลูก น้ำหนัก 8 ขีด ถึง1 กิโลกรัม กินได้หลายครัว ด้านเกษตรอำเภอเตรียมเพาะพันธุ์ให้ชาวบ้านนำไปปลูก ในครัวเรือต่อไป
สำนักงานเกษตรอำเภอเกาะลันตา อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ นายสุเทพ หนูรุ่น เกษตรอำเภอ เกาะลันตา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะลันตา ได้เก็บผลผลิตมะเขือยักษ์ หรือมะเขือหยกภูพาน ที่ปลูกไว้บริเวณริมรั้วด้านหน้าสำนักงาน แจกจ่ายให้ชาวบ้านเพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านหันมาสนใจปลูกพืชผักปลอดสารพิษ บริโภคในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และส่วนหนึ่งปล่อยไว้ให้สุกเก็บเมล็ดไว้ขยายพันธุ์สำหรับให้เกษตรกรนำไปปลูกเพื่อกระจายพันธุ์ต่อไป ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงให้คำแนะนำวิธีการปลูก
นายสุเทพ หนูรุ่น เกษตรอำเภอเกาะลันตา กล่าวว่า มะเขือที่ปลูกไว้ด้านหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอนั้น เป็นมะเขือเปราะใหญ่ หรือ เรียกว่ามะเขือหยกภูพาน ผลมีขนาดใหญ่ ได้เมล็ดพันธุ์มาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ตั้งใจปลูกไว้เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่มาติดต่อราชการได้ดูเป็นตัวอย่าง เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดกระบี่ยังไม่มีใครปลูกมะเขือพันธุ์นี้ เป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านหันมาสนใจการปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน
ข่าวน่าสนใจ:
- "ลุงโทนี" ถูกตัดสิทธิ์ฯ เหตุไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบต.ท่าพล
- นายฮ้อยปางควายเวียงหนองหล่มใกล้สูญ
- นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย เยี่ยมชมกระบวนการผลิตผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย จ.สกลนคร
- วธ.จังหวัดนครปฐมส่งเสริมประเพณี “ลอยกระทง วิถีไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ประจำปี 2567 “คืนจันทร์เพ็ญงามอร่ามตา สืบสานรักษาคลองเจดีย์บูชา…
เริ่มเพาะเมล็ดและปลูกตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 30 ต้นขณะนี้มะเขือเริ่มให้ผลผลิตแล้ว โดยมะเขือ จะมีขนาดใหญ่ 1ลูกมีน้ำหนักเฉลี่ย 8 ขีด ถึงหนึ่งกิโลกรัม เป็นที่สนใจแก่ผู้ที่มาพบเห็นทั้งเกษตรกรเองและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา เป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านสนใจการปลูกผักสารพิษ วันนี้จึงได้เก็บผลมะเขือส่วนหนึ่งแจกให้ประชาชนบริเวณใกล้เคียงนำไปประกอบอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน และจะเหลือไว้ส่วนหนึ่งปล่อยให้สุกเพื่อเก็บเมล็ดไว้ขยายพันธุ์ และแจกจ่ายให้เกษตรกรที่สนใจนำไปปลูกในพื้นที่ของตนเองเพื่อกระจายพันธุ์ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: