วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ลานชุมชนเขายายดา ตำบลตะพง อำเภอเมือง ระยอง นาย สุพจน์ ต่ออาจหาญ นายอำเภอเมืองระยอง เป็นประธานเปิดงานประเพณี เผาข้าวหลาม 3หมู่บ้าน โดยมี นายทวีป แสงกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลตะพง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมคณะกรรมการ ชาวชุมชน หมู่3 หมู่11 และหมู่14 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวชุมชน นักเรียน ร่วมกิจกรรม เป็นจำนวนมาก
ภายในงาน ได้จัดให้มีพิธี ทำบุญเลี้ยงพระ การแสดงรำวงชาวบ้าน และการแข่งขัน ขูดมะพร้าวแบบโบราณ โดย ผู้เข้าแข่งขันสวมชุดไทย นุ่งโจงกะเบน สวมเสื้อคอกะเช้า ขูดมะพร้าวกับกระต่าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์โบราณ ต้องใช้ความชำชาญและเทคนิคในการขูดคือ ซอยให้เร็ว แต่เบามือ จะทำให้เนื้อมะพร้าวละเอียด ไม่มีเศษกะลาติดมา เวลาคั้นน้ำออกง่าย สีกะทิขาวสะอาด และกลิ่นหอม โดยมะพร้าวที่ได้มาจะนำไปเป็นส่วนผสมสำคัญของข้าวหลามที่ตั้งเรียงแถว เป็นรูปหัวใจ ขนาดใหญ่ ใช้ข้าวหลาม มากถึง 1,600 กระบอก เป็นสัญลักษณ์ของการรวมใจชาวชุมชนตำบลตะพงเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งข้าวหลาม ที่ นำมาเผารวมกัน ใช้ไม้ไผ่พื้นบ้าน และข้าวเหนียวจากไร่นาที่ปลูกกันขึ้นมาเอง เมื่อเผาเสร็จก็จะได้ข้าวหลามที่มีรสชาติหวานมัน และมีกลิ่นหอม
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านเอือมระอา!ไฟใต้จะจบปีไหน-บึ้ม อส.รปภ.ครูเจ็บ 3
- เทศบาลนครเชียงราย ร่วมกับ บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัด Countdown 2025 เทศกาลดนตรีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 68
- บรรยากาศคึกคัก รับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ. ส.อบจ. สกลนคร วันแรก
- ดงเย็น คอฟฟี่ ร้านกาแฟและอาหารหลากหลายสะสมตุ๊กตาและของสะสมเกือบสองหมื่นชิ้น
นอกจากนี้ ยังมีซุ้มอาหารเด่นของสวนเกษตรท่องเที่ยว ในตำบลตะพง ที่นำเมนูเด็ด มาโชว์ ให้ผู้ร่วมงานได้ชิมกันอย่างเอร็ดอร่อย เช่น สวนมะปราง โชว์เมนู ยำยอดสะเดา โดยใช้ยอดสะเดาลวก มาคลุกเคล้ากับเครื่องยำรสจัดจ้าน ทำให้รสขมของสะเดาถูกกลืนกลายเป็นยำยอดสะเดาที่กลมกล่อม อร่อยลิ้น แถมด้วย ส้มตำรสแซบ สวนยายดาเจ๊บุญชื่น โชว์แกงไก่กระวาน สวนแสงแดด จัดต้มหมูใบชะมวง สวนลำดวน มีแกงเขียวหวานทุเรียน ที่ใช้ทุเรียนแก่ จัดมาแกง เป็นเมนูเด็ดของที่สวน นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสวนและหลายชุมชน ที่พากันมาตั้งซุ้มโชว์ ของดี และกิจกรรมต่างๆอย่างคึกคัก
นาย สุพจน์ ต่ออาจหาญ นายอำเภอเมืองระยอง กล่าวว่า ประเพณีเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีเก่าแก่ ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จำเป็นต้องอนุรักษ์ ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างความรักความสามัคคีและความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน ส่วนกิจกรรม การขูดมะพร้าว การเผาข้าวหลาม แบบโบราณ นับว่าเป็นกุศโลบาย ที่บ่งบอกให้ได้รู้ว่า บรรพบุรุษ มีวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ โดยยึดสิ่งของจากธรรมชาติ แม่บ้านแม่เรือนมีเสน่ห์ปลายจวัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการยึดเหนี่ยวสามี การจัดกิจกรรม จึงนับเป็นสิ่งที่ดีควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: