X

จังหวัดระยอง จัดงานวิวาห์(ตัวลั้ง) หรือกิ้งก่ายักษ์ อนุรักษ์กิ้งก่าให้อยู่คู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่อาคารอเนกประสงค์วัดกระแสคูหาสวรรค์ ต.กระแสบน อ.แกลง จ.ระยอง ททท.สำนักงานระยอง ได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกระแสบน และชาวบ้าน ได้จัดงานวิวาห์ หรือแต่งงานให้ตัวตะกอง (ตัวลั้ง)หรือกิ้งก่ายักษ์ขึ้น ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ โดยมีนายอุทิศ ลิ่มสกุล ผอ.ททท.สำนักงานระยอง นางอุมา วิภูษณะ สจ.แกลง นายบุญสืบ แกล้วกล้า ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกระแสบน นายบุรี สำเร็จ  ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลชากพง และชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมากร่วมเป็นสักขีพยาน

โดยพิธีวิวาห์ดังกล่าวจัดขึ้นคล้ายกับคนแต่งงานทั่วไป ทั้งพิธีแห่ขันหมาก พิธีกั้นประตูเงินประตูทองของฝ่ายเจ้าสาวตัวลั้งจากชุมชนบ้านกระแสบน พิธีสู่ขอจากฝ่ายเจ้าบ่าวบ้านชากพง อ.แกลง และพิธีรดน้ำสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนจะมีการแห่ลงเรือหางยาว เพื่อไปปล่อยบริเวณริมคลองคืนสู่ธรรมชาติ

 

นายบุญสืบ แกล้วกล้า ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกระแสบน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นต่อยอดไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนต่อไป ทั้งนี้สำหรับนับเป็นงานแต่งงานตัวลั้งหรือตะกอง หรือกิ้งก่ายักษ์ครั้งแรกของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งตัวลั้งสามารถพบเห็นได้ตามแนวชายคลองในชุมชนกระแสบนและพื้นที่ใกล้เคียง

โดยตัวตะกอง หรือ ลั้ง หรือ กิ้งก่ายักษ์ ที่ว่านี้(อังกฤษ: Chinese water dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้  ลักษณะขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่าและพวกมันอาจมีอายุถึง 30 ปีเลยทีเดียว

ในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[1]   มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน  อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บางชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย  และจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตรตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหลวิวาห์ตัวตะกอง (ตัวลั้ง)หรือกิ้งก่ายัก สัตว์หายากใกล้ศูนย์พันธุ์ ที่เดียวในจังหวัดระยอง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน