จังหวัดกาฬสินธุ์โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับบริษัทน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์และสมาคมชาวไร่อ้อยจัดการสาธิตใช้เครื่องจักรกลตัดอ้อยและเครื่องจักรกลตีใบอ้อย เพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาอ้อยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พร้อมตั้งเป้าการเผาอ้อยต้องเป็นศูนย์ภายใน 2 ปี
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ที่บริเวณแปลงไร่อ้อย บ้านกลางหมื่น ต.กลางหมื่น อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ นายอัครพงษ์ เขียวแจ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ นายสมเจตน์ เต็งมงคล นายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นายคำสี แสนศรี ผู้อำนวยการด้านอ้อยบริษัทน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ นายโสภณ เจริญพร หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กาฬสินธุ์ พร้อมด้วยหน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่บริษัทน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ และผู้นำท้องถิ่นร่วมกันจัดกิจกรรมสาธิตการใช้เครื่องจักรกลตัดอ้อยและตีใบอ้อย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรชาวไร่อ้อยลดการเผาอ้อยลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและน้ำเสียที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ซึ่งการเผ่าอ้อยนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 พร้อมตั้งเป้ารณรงค์ พื้นที่ จ.กาฬสินธุ์มีการเผาอ้อยเป็นศูนย์ภายในระยะเวลา 2 ปี
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับ จ.กาฬสินธุ์ ถือเป็นแหล่งพื้นที่ผลิตอ้อยอุตสาหกรรมที่สำคัญและมีศักยภาพของประเทศ โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยประมาณ 350,000 – 4000,000 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 11,080 ต่อไร่ มีมูลค่าการจำหน่ายเฉลี่ย 4,165,719,373 บาท ต่อปี ซึ่งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรมน้ำตาลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยในปัจจุบันพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ใช้แรงงานคนในการตัด จึงทำให้มีการเผาอ้อย เพื่อความสะดวกของแรงงานในการเข้าไปตัด ซึ่งในการเผาอ้อยในที่โล่งแจ้งจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ดังนั้นทาง จ.กาฬสินธุ์จะดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และเกษตรกรชาวไร่อ้อยเร่งรณรงค์ให้พื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ปราศจากการเผาอ้อยให้เป็นศูนย์ภายในระยะเวลา 2 ปี เพื่อช่วยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ตามนโยบายรัฐบาล โดยเบื้องต้นได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ
ด้านนายอัครพงษ์ เขียวแจ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า จากปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นนั้นดังกล่าวทาง จ.กาฬสินธุ์ โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.หวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับบริษัทน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์และสมาคมชาวไร่อ้อยจัดการสาธิตใช้เครื่องจักรกลตัดอ้อยและเครื่องจักรกลตีใบอ้อยจัดกิจกรรมการสาธิตใช้เครื่องจักรกลตัดอ้อยและเครื่องจักรกลตีใบอ้อยเพื่อรณรงค์ให้เกษตรกรลดการเผาอ้อยแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย และส่งเสริมให้มีการนำเครื่องจักรกลมาใช้ หยุดหยั้งการเผา ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ในระดับหนึ่ง
ขณะที่นายคำสี แสนศรี ผู้อำนวยการด้านอ้อยบริษัทน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ทางโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าวจึงได้จัดโครงการณรงค์ “ร่วมใจ ไม่เผาอ้อย” ระหว่างชาวไร่อ้อยและสมาคมชาวไร่อ้อย เพื่อให้ชาวไร่อ้อยลด ละ เลิก เผาอ้อยก่อนตัดและหลักตัด นอกจากนี้ยังเป็นการนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาเพื่อทดแทนแรงงานคนและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการบูรณาการการประกอบอาชีพโดยไม่สร้างปัญหาให้กับชุมชน ทั้งนี้สำหรับอ้อยสดนั้นยังสามารถจำหน่ายได้ราคาดีกว่าอ้อยเผา และที่สำคัญการเผาอ้อนนั้นยังเป็นการทำลายหน้าดินอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: