นครศรีธรรมราช:ชาวบ้าน’ชุมชนหลังบึง’รอบรั้วค่ายวชิราวุธ ทภ.4 “ร้องขอสะพานปูนใหม่ และไฟส่องสว่าง” หลังชำรุดเสียหายช่วง”พายุปาบึก”นายประสิทธิ์ สังเมือง อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 212/23 ม.5 ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ร้องขอความช่วยเหลือผ่านสื่อมวลชน อยากได้สะพานใหม่ หลังพังเสียหายช่วงเกิด”พายุปาบึก”เมื่อต้นเดือนมกราคม 62 ที่ผ่านมานายประสิทธิ์ กล่าวว่า ก่อนนี้ได้ร้องขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานท้องถิ่น ทั้งเทศบาลตำบลปากพูน และ อบต.นาทราย แต่ก็ไม่มีผลใดๆ เนื่องจากสะพานดังกล่าวเป็นสะพานที่ชาวบ้านในชุมชนได้ทำการจัดเลี้ยงน้ำชาหางบประมาณจัดสร้างกันขึ้นมาเอง เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลได้ใช้สอยร่วมกัน ทั้งต.ปากพูน,ต.ท่างิ้ว,และต.นาทราย
โดยสร้างขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน ด้วยงบประมาณ 2 หมื่นบาทเศษ กว้าง 2 เมตรยาว 16 เมตร แต่ช่วงเกิด”พายุปาบึก” ตัวสะพานได้แตกหักลงจนไม่สามารถใช้งานได้ เสี่ยงต่ออันตรายกับผู้ใช้ ที่น่าเสี่ยงและเป็นกังวลไปกว่านั้น ผู้ใช้รถจะต้องขับอ้อมสะพานไปจนสุดถนนซึ่งเพิ่มระยะห่างออกไปกว่า 1 กม.ยิ่งช่วงเวลากลางคืนมักเสี่ยงอันตรายกับน้องๆลูกๆหลานๆที่เป็นสุภาพสตรีที่เพิ่งกลับมาจากทำงาน เนื่องจากตลอดเส้นทางกว่า 3 กม.จากประตูระบายน้ำ ต.นาทราย ไปจนถึงปากคลองใหม่ท่าแพ ต.ปากพูน ไม่มีแม้แต่ไฟส่องสว่าง เส้นทางถูกปกคลุมไปด้วยความมืดและเปลี่ยว จึงอยากร้องขอให้หน่วยงานที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยและประโยชน์ส่วนรวมของชาวบ้าน โดยเฉพาะท้องถิ่นท้องที่ หรือหน่วยงานทหารที่อาศัยอยู่ร่วมรั้วกั้นเดียวกัน ช่วยเร่งเข้ามาดำเนินการให้ชาวบ้านได้รับความปลอดภัยและสะดวกสบาย ก่อนที่จะเกิดเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้เกิดการระบาดอย่างหนักของยาเสพติดในกลุ่มวัยรุ่น จึงมีภาวะความเสี่ยงอย่างมากกับลูกหลานในพื้นที่ผู้สื่อข่าวรายงาน “ชุมชนหลังบึง”ดังกล่าว มีชาวบ้านพักอาศัยอยู่ร่วมกันไม่ตำกว่า 50 ครัวเรือน สภาพชุมชนที่พักอาศัยอยู่กันอย่างยากลำบากและแออัด บางหลังคาเรือนไม่มีแม้แต่ไฟฟ้าใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำประปายังเข้าไม่ถึง ที่ผ่านมาช่วงสถานการณ์ภัยธรรมชาติ หรือแม้แต่สิทธิ์ประโยชน์ที่ชาวบ้านพึงได้รับ มักจะไม่ได้รับอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะการดูแลช่วยเหลือเยียวยามักตกหล่นและขาดหายไป ทั้งๆที่เป็นชุมชนใหญ่มีพื้นที่ติดกับ ค่ายวชิราวุธ ทภ.4 ถูกกั้นขวางแบ่งเขตเพียงแค่รั้วกำแพงปูนเท่านั้น ในทุกๆปีช่วงฤดูฝนหรือเกิดภัยธรรมชาติ พื้นที่ดังกล่าวนี้จะต้องจมอยู่ในน้ำนานนับเดือน และที่หนักไปกว่านั้น น้ำที่เน่าเสียจากบ่อขยะของเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ซึ่งห่างออกไปเพียงประมาณ 1 กม.จะไหลเข้ามาปะปนกับน้ำธรรมชาติที่ท่วมบ้านเรือน จนเน่าเหม็นเต็มพื้นที่ ชาวบ้านจำเป็นต้องทนอยู่กับความทุกข์เวทนากับตนเอง การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ จนท.ทหาร มักจะให้ความสำคัญกับพื้นที่อื่นๆเสียมากกว่า คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรอบรั้วค่ายทหารจึงไม่เคยได้รับการพัฒนาและตกอยู่ในสภาพอย่างที่เห็นและเป็นอยู่อย่างนี้มาหลายชั่วอายุคน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- สุราษฎร์ ฯ อ่วม ฝนตกหนักตลอดทั้งคืน จนท.เร่งช่วยเหลือประกาศภัยพิบัติเพิ่มเป็น 8 อำเภอ เสียชีวิตแล้ว 2 ราย
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: