ตรัง: เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ด้านฝั่งทะเลตะวันตก มีหลักฐานความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เนื่องจากตรังไม่ได้เป็นเมืองรบทัพจับศึก จึงไม่ค่อยมีชื่อในประวัติศาสตร์เท่าใดนัก ทั้งที่จริงตรังเป็นชุติมชนมานานแล้ว มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมา เพื่อความเข้าใจประวัติความเป็นมาของตรัง
ขอแบ่งยุคหรือสมัยของตรังเทียบเคียงกับยุคของประวัติศาสตร์ภาคใต้และประวัติศาสตร์ไทย ดังนี้
๑. ชุมชนตรังยุคก่อนประวัติศาสตร์
๒. ชุมชนตรังยุคอาณาจักรโบราณในภาคใต้
๓. ชุมชนตรังยุคสุโขทัย
๔. เมืองตรังสมัยกรุงศรีอยุธยา
๕. เมืองตรังสมัยกรุงธนบุรี
๖. เมืองตรังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
๗. เมืองตรังสมัยการปกครองหัวเมืองฝั่งตะวันตก
๘. เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่กันตัง
๙. เมืองตรังสมัยตั้งเมืองที่ทับเที่ยง – ปัจจุบัน
๑. ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากการสำรวจของนักโบราณคดี แสดงให้เห็นว่า ตรังในยุคก่อนประวัติศาสตร์ภาคใต้นั้นมีการตั้งชุมชนเป็นหลักแหล่งกันแล้ว มีร่องรอยการดำเนินชีวิตอย่างเด่นชัด เช่น จากการศึกษาของ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร และคณะ เกี่ยวกับถ้ำซาไก ตำบลปะเหลียน ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งใช้กันในยุคหินเก่า มีจำนวนถึง ๑๐๒ ชิ้น เครื่องมือสะเก็ดหิน จำนวน ๗๒๑ ชิ้น สะเก็ดหินอีก ๓๖๗ ชิ้น รวมทั้งโครงกระดูกมนุษย์ อายุราว ๖,๐๐๐ ถึง ๘,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบขวานหินขัด กระจัดกระจายในหลายท้องที่ หม้อสามขาและชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ พบในถ้ำหลายแห่ง เช่น ถ้ำหน้าเขา อำเภอนาโยง ถ้ำเขาไม้แก้ว อำเภอสิเกา ถ้ำเขาหญ้าระ อำเภอปะเหลียน ถ้ำหมูดินและเขาหลักจัน ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด รวมทั้งมีศิลปะถ้ำเกิดขึ้น ได้แก่ ภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ เช่น ในถ้ำตรา ตำบลปากแจ่ม มีดวงตราเป็นรูปวงกลม ปัจจุบนลบเลือนไปมากแล้ว ส่วนที่ถ้ำเขาน้ำพรายซึ่งอยู่ใกล้กัน มีภาพเขียนสีแดงระบายสีทึบเรียงต่อกัน ที่เขาแบนะ หาดฉางหลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม มีภาพเขียนสีแดงรูปปลา หลักฐานเหล่านี้แสดงว่า มีชุมชนเกิดขึ้นแล้วในท้องที่ตรังตั้งแต่ยุคหินเก่าตอนปลาย และมีการพัฒนาการเรื่อยมาจนเข้าสู่ยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์
๒. ชุมชนตรังยุคอาณาจักรโบราณในภาคใต้
การศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เมืองตรัง ไม่อาจละเลยเรื่องราวของอาณาจักรโบราณในภาคใต้ ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ที่กำหนดนับการบันทึกเรื่องราวด้วยตัวอักษรเป็นจุดเริ่มต้น ไปจนถึงก่อนการเริ่มประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีสุโขทัยเป็นราชธานี ทั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรณที่ ๕ – ๑๘
ชุมชนในคาบสมุทรภาคใต้มีการติดต่อกับต่างแดนมาช้านาน โดยเฉพาะกับอินเดียมีร่องรอยอารยธรรมจากทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ปรากฏให้เห็นเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ จารึก เอกสารและมุขปาฐะ อยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันตก มีแหล่งโบราณคดีใหญ่ที่สุดอยู่ในบริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา นอกจากนั้น ก็มีควนลูกปัดที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในจังหวัดตรังมีโบราณวัตถุตามถ้ำเขาใกล้แม่น้ำตรัง บริเวณอำเภอห้วยยอด ทั้งสามจุดนี้คือปากประตูของเส้นทางข้ามคาบสมุทร ไปสู่ศูนย์กลางความเจริญทางฝั่งตะวันออก เฉพาะที่ตรัง มีแม่น้ำตรังที่สามารถเดินทางข้ามไปออกแม่น้ำตาปี ไปนครศรีธรรมราช และไปพัทลุงได้ นอกจากนี้ ยังมีแม่น้ำปะเหลียน ที่เป็นต้นทางเข้าสู่บ้านตระหรือช่องเขาตอนอื่น ๆ ข้ามไปยังพัทลุงได้เช่นกัน
มีผู้สันนิษฐานว่า เมืองตรังเป็นที่ตั้งของเมืองศูนย์กลางการค้าฝั่งทะเลตะวันตก ชื่อเมือง ตะโกลา แต่อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ตะโกลาอยู่บริเวณเมืองตะกั่วป่า ในจังหวัดพังงา โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีประกอบเอกสารชาติตะวันตกมีหนังสือภูมิศาสตร์ของ คลอดิอุส ปโตเลมี เขียนตามคำบอกเล่าของพ่อค้าชื่ออเล็กซานเดอร์ เขียนขึ้นประมาณ พ.ศ. ๖๙๓ หรือ ๗๐๘ บรรยายถึงชื่อเมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรทองรวมทั้งเมือง Takola อยู่ในดินแดน Chryse Chersonesos หรือสุวรรณทวีป เอกสารของอินเดียมี ภัมภีร์มหานิทเทส กล่าวถึงดินแดนต่าง ๆ รวมทั้ง ตักโกลา ตะมาลี สุวรรณภูมิ ส่วนในคัมภีร์มิลินทปัญหา พ.ศ.๙๔๓ (บางแห่งว่า พ.ศ.๕๐๐) ปรากฏชื่อ ตักโกลา สุวรรณภูมิ และในศิลาจารึกเมืองตันชอร์ ของพระเจ้าราเชนทร์โจฬะที่ ๑ จารึกเมื่อ พ.ศ. ๑๕๗๓ – ๑๕๗๔ มีชื่อเมือง ตไลตฺ ตกฺโกลํ อยู่ด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คิวยาวเหยียดร้านขนมเปี๊ยะดังเมืองตรังคึกคัก นทท.แห่ซื้อของฝากรับปีใหม่
- ปีใหม่สุราษฎร์ ฯ สุดเศร้า เกิดอุบัติเหตุหมู่เสียชีวิต 12 เจ็บสะสม 73
- ทีม “นายกบุ่นเล้ง” เบอร์1 ขยับก่อน ยกพลหาเสียงเกาะสุกร เช็คอินถนนสีรุ้ง ดันนโยบาย เปิดมิติใหม่อบจ.ตรังหนุนท่องเที่ยว…
- ตรัง ผู้สมัครนายกอบจ.ตรัง รถเสียหลักชนเสาไฟ รอดปาฏิหาริย์เผยพระเครื่องดังคุ้มครอง
ศาสตราจารย์มานิต วัลลิโภดม ผู้มีความเห็นว่าตะโกลาอยู่ที่ตรัง กล่าวอ้างอิง ดร.เอช.จี.ควอริชท์ เวลส์ สำรวจบริเวณเมืองตะกั่วป่าปัจจุบันและทางข้ามคาบสมุทรที่ผ่านเขาสกแล้วมีความเห็นว่า “ไม่เหมาะจะเป็นเมืองท่าเรือขนถ่ายสินค้าข้ามแหลม” ศาสตราจารย์มานิตเองก็เห็นว่าตะโกลาอยู่ที่เมืองตรัง “ยุคที่ ๑ – เหนือเขาปินะขึ้นไประยะหนึ่ง ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก มีปากคลองกะปาง ตรงข้ามคลองกะปาง เป็นบ้านหูหนาน เป็นที่ตั้งเมืองตรังครั้งแรกเรียกชื่อตามพื้นบ้านว่า กรุงธานี บริเวณนี้ถูกเกลื่อนทำเป็นสวนยางพาราเสียหมดแล้ว” จากนั้นก็วิเคราะห์ถึงแม่น้ำในหนังสือปโตเลมีว่า แม่น้ำไครโลนาสคือแม่น้ำตรัง แม่น้ำอัตตาบาส์คือแม่น้ำตาปี แม่น้ำปะลันดาคือคลองโอ๊ก และคลองมีนซึ่งเชื่อมระหว่างแม่น้ำไครโลนาสกับแม่น้ำอัตตาบาส์
ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ นักภูมิศาสตร์เชื้อสายเจ้าเมืองตรังคนหนึ่ง กล่าวว่า ตามลักษณะภูมิศาสตร์ การเดินเรือในเขตมรสุม ถ้าจะเดินทางจากลังกา หรืออินเดียตอนใต้มายังสุวรรณภูมิ เมื่อตั้งหางเสือของเรือแล้วแล่นตัดตรงมา อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะนำเรือเข้าฝั่งแหลมทองบริเวณละติจูดที่ ๗ องศาเหนือ ตรงกับจังหวัดตรังพอดี
หลักฐานจากศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้สำรวจและอ่านไว้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ เนื้อความเป็นบทบูชาพระศิวิ จารึกด้วยอักษรอินเดียใต้เป็นภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๒ จารึกนี้แสดงว่ามีกลุ่มคนผู้บูชาพระศิวะ ซึ่งเป็นความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ใช้เส้นทางแม่น้ำตรังแยกเข้าทางคลองกะปาง ผ่านบ้านถ้ำพระเข้าสู่หุบเขาช่องคอย เข้า – ออก กับนครศรีธรรมราช หลักฐานศาสนสถานและโบราณวัตถุ ได้แก่ วัดเก่าซึ่งเป็นวัดใหญ่ถึงสามวัดอยู่ใกล้กันในอำเภอห้วยยอด และอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำตรัง คือ วัดคีรีวิหาร วัดหูแกง วัดย่านเกลื่อน โดยเฉพาะวัดย่านเกลื่อนเป็นวัดร้าง มีวัดนอกและวัดใน อาณาเขตติดแม่น้ำตรัง เคยมีผู้ขุดพบพระทองคำ และมีหลักศิลาปักแสดงแนวเขตอุโบสถทั้งสี่ทิศ ทั้งมีใบเสมาและเสาหงส์ วัดคีรีวิหารมีพระบรรทมและพระพุทธรูปโบราณในถ้ำ และพบพรพิมพ์ดินดิบที่เรียกกันว่าพระผีทำด้วย วัดหูแกงมีพระพุทธรูปในถ้ำแต่ถูกทำลายไปแล้ว เหลือแต่อิฐและเสาหงส์ปรากฏอยู่ ที่เขาสายใกล้วัดหูแกงและที่เขาขาวก็มีพระพิมพ์เช่นกัน พระพิมพ์ที่พบมีหลายลักษณะ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงบันทึกไว้เมื่อคราวเสด็จฯ ตรวจราชการแหลมมลายู พ.ศ. ๒๔๔๕ ว่าที่ถ้ำวัดคีรีวิหาร “มีรูปภาพพิมพ์บนดินดิบ วางซ้อนทับไว้กับพื้นมาก ที่เลือกพบมีสามอย่างด้วยกัน เป็นรูปลูกไข่อย่างหนึ่งมีรูปพระสี่กรอยู่กลาง มีเทวดาล้อม ๘ ตน เป็นรูปกลีบบัวอย่างหนึ่ง มีรูปพระสี่กรองค์เดียวใหญ่ รูปแผ่นอิฐอย่างหนึ่ง มีรูปพระสองกรอยู่กลาง (ที่พุทธรูป) มีสาวกฤาเทวดาสองข้าง อย่างรูปไข่มีมาก อย่างกลีบบัวมีน้อย อย่างแผ่นอิฐได้อันเดียว
ที่ถ้ำเขาสาย “รวมเทวรูปที่ได้มี ๖ ชนิด คือ ๑. รูปพระโพธิสัตว์สี่กรนั่งขัดสมาธิ ๒. รูปอย่างเดียวกันแต่ขนาดย่อม ๓. รูปพระโพธิสัตว์สองกรนั่งห้อย ๔. รูปพระโพธิสัตว์สองกรยืน ๕. รูปพระพุทธเจ้านั่งขัดสมาธิ ๖. รูปอย่างเดียวกันแต่องค์เล็ก ยังมีอีกที่ไม่รู้ว่าอะไร เป็นทีเม็ดยอดอะไรก็มี มีลายแลชิ้นอะไรแตก ๆ มีตราหนังสื” ต่อมายังมีผู้พบพระพิมพ์ดินดิบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรจากถ้ำเขาขาว อำเภอห้วยยอด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: