นครพนม – ชาวบ้านในพื้นที่ ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.นครพนม นำโดย นายพินิจ หมื่นลูกท้าว อายุ 44 ปี กำนันตำบลบ้านกลาง นายพงศ์พันธ์ คำมั่น อายุ 60 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านหนาด ต.บ้านกลาง พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้าน ออกมาเรียกร้องผ่านสื่อ ให้มีการตรวจสอบ และหาทางแก้ไข กรณีจังหวัดนครพนม ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารด่านจุดผ่อนปรน จำนวน 1 หลัง พร้อมอาคารคลังเก็บสินค้าอีก 2 หลัง ใช้งบประมาณเกือบ 4 ล้านบาท ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2558 ที่บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำโขง ตรงตลาดจุดผ่อนปรน บ้านหนาด ต.บ้านกลาง ซึ่งเปิดเป็นตลาดการค้าไทยลาว ที่มีการเดินทางมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค ระหว่างชาวไทย กับ ชาว สปป.ลาว อยู่ตรงกันข้ามบ้านปากเป่ง เมืองหนองบก แขวงคำม่วน สปป.ลาว โดยระเบียบกระทรวงมหาดไทย กำหนดเปิดทำการค้าขาย ทุกวันอังคาร กับวันศุกร์ ของสัปดาห์
โดยเมื่อปี 2558 ได้มีการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารจุดผ่อนปรนขึ้นใหม่ จำนวน 1 หลัง เพื่อเป็นสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน เกี่ยวข้อง ในการดูแล บริการ ตรวจสอบ การเดินทางข้ามไปมาของพี่น้องชาวลาว และมีอาคารคลังสินค้าอีก 2 หลัง ที่เตรียมพร้อมใช้เป็นคลังสินค้า แต่หลังก่อสร้างเสร็จได้รับผลกระทบ จากกรณีเกิดน้ำท่วมสูงระดับประมาณ 1.50 เมตร ทำให้น้ำโขงล้นตลิ่ง ทั้งตัวอาคาร และวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด
กระทั่งปี 2561 ได้เกิดน้ำโขงล้นตลิ่งท่วมซ้ำอีก ตัวอาคารทั้ง 3 หลัง ความเสียหายเพิ่มอย่างหนัก ทั้งประตูกระจก ห้องน้ำ อุปกรณ์สำนักงานชำรุดใช้งานไม่ได้ จากการตรวจสอบ พบดินโคลนเข้าไปทับถม ในอาคารดังกล่าว มีความหนากว่า 30 เซนติเมตร และไม่สามารถใช้งานได้ กลายเป็นซากปรักหักพัง ใช้งานไม่คุ้มค่า สร้างความหดหู่ ให้กับผู้พบเห็น ซึ่งทางชาวบ้าน เคยได้เรียกร้องให้ ทางอำเภอเมืองนครพนม และจังหวัดนครพนม รวมถึงหน่วยงานเกี่ยวข้อง มาตรวจสอบแก้ไข แต่ติดปัญหาไม่มีงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม เนื่องจากต้องแก้ไข ด้วยการยกระดับตัวอาคารขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2 เมตร
ทั้งนี้ นายพงศ์พันธ์ คำมั่น อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านหนาด ต.บ้านกลาง ระบุว่าอาคารจุดผ่อนปรนตลาดไทยลาว บ้านหนาด ต.บ้านกลาง ได้สร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2558 เดือนสิงหาคมปีเดียวกันเกิดผลกระทบน้ำโขงล้นตลิ่งท่วมระดับน้ำสูงกว่า 1.50 เมตร ชาวบ้าน ต้องช่วยกันขนย้าย อุปกรณ์ สำนักงาน ถอดแอร์ที่ติดตั้ง ออก แต่ก็ยังมีบางส่วนได้รับความเสียหาย เพราะไม่สามารถหาทางป้องกันได้ ปัญหาเกิดจากการก่อสร้างตั้งแต่แรก ที่ไม่มีการออกแบบยกระดับให้สูง เพราะจุดก่อสร้างอยู่ต่ำกว่าตลิ่ง พอน้ำโขงล้นเอ่อทำให้น้ำไหลท่วมอาคาร ล่าสุดเมื่อปี 2561 ช่วงเดือนกรกฎาคม เกิดน้ำท่วมหนักอีกรอบ เป็นเหตุให้อาคาร ทั้ง 3 หลัง พังเสียหายยับเยิน เคยมีหน่วยงานเกี่ยวข้อง ระดับอำเภอ และจังหวัด มาตรวจสอบ แต่ไม่มีงบประมาณซ่อมแซม สุดท้ายต้องปล่อยทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์สถาน ถึงมีงบซ่อมแซม แต่สุดท้ายเชื่อว่าน้ำท่วมอีก เพราะการก่อสร้างออกแบบผิดตั้งแต่ต้น
ข่าวน่าสนใจ:
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
- สุดยอดงานกฐินบุญต่อชีวิตคน พระอาจารย์เขียวทอดกฐินสามัคคีจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ทางการแพทย์มุลค่ากว่า5ล้านบาท
- สมาคมพ่อค้านครพนม จัดงานสมโภช ‘เจ้าพ่อหมื่น’ ปี 2567 เสริมสิริมงคล
นายพงศ์พันธ์ คำมั่น กล่าวอีกว่า ที่สำคัญก่อนก่อสร้าง ชาวบ้านเคยคัดค้าน ว่า การออกแบบไม่เหมาะสม ไม่มีการสำรวจความคิดเห็นชาวบ้าน ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา สุดท้ายเสียงของชาวบ้านไร้ประโยชน์ รั้นจะสร้างสุดท้ายก็ใช้งานไม่ได้พัง เสียดายงบประมาณก่อสร้าง หากจะจัดสรรงบมาซ่อม เชื่อว่าไม่คุ้ม หากไม่ยกระดับตัวอาคารขึ้น และต้องใช้งบประมาณสูง ไม่แตกต่างจากสร้างใหม่ ฝากไปยังหน่วยงานรับผิดชอบ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รวมถึง สตง.มาตรวจสอบ หาตัวคนมารับผิดชอบ เพราะเป็นเงินภาษีของประชาชน “เงินเกือบ 4 ล้านบาท สร้างแล้วต้องถูกปล่อยทิ้งร้าง เห็นแล้วหดหู่”นายพงศ์พันธุ์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: