คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2561 พบมีทั้งสิ้น 304 คดี อันดับ 1 คือการหาผลประโยชน์ทางเพศ 258 คดี ส่วนอันดับ 2 คือบังคับใช้แรงงาน 35 คดี
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ประจำปี 2561 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอรายงานด้านต่างๆ ดังนี้ การสืบสวนปรามปรามคดีค้ามนุษย์ ได้มีการดำเนินการสืบสวนปราบปรามคดีมนุษย์จำนวน 304 คดี โดยส่วนใหญ่เป็นคดีการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ 258 คดี การบังคับใช้แรงงาน 35 คดี
การนำคนมาขอทาน 8 คดี และการขูดรีดบุคคล 3 คดี การดำเนินคดีในชั้นพนักงานสวบสวน อัยการ และศาล การดำเนินงานคดีชั้นพนักงานสอบสวน 3044 คดี สอบสวนเสร็จสิ้น 230 คดี คดีชั้นพนักงานอัยการ 357 สำนวน ดำเนินคดีแล้วเสร็จ 363 สำนวน คดีในชั้นศาล 445 คดี พิพากษาเสร็จสิ้น 305 คดี มีคำสั่งอายัดยึดทรัพย์ของผู้กระทำความผิดการค้ามนุษย์จำรวนเงิน 509.89 ล้านบาท
การเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ของผู้เสียหายการค้ามนุษย์ ปี 2561 มีจำนวน 501 คนซึ่งเพิ่มจากปี 2560 ที่มีจำนวน 360 ราย เนื่องจากผู้เสียหายทุกคนได้รับการคุ้มครองและเยียวยาภายใต้หลักการที่คำนึงถึงผลกระทบจากการถูกกระทำ จนเป็นบาดแผลทางจิตใจ
ข่าวน่าสนใจ:
การได้รับการเยียวยาจากกองทุนเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้รับเงินการเยียวยาจากกองทุน ฯ จำนวน 6.15 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2560 ที่มีจำนวน 564 ล้านบาท
สำหรับการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ได้มีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมพิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทาง จำนวน 2.12 ล้านคน และในการการตรวจสอบบริษัทผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างจำนวน 67 แห่ง
พบว่า การกระทำความผิด 6 แห่ง รวมทั้งการตรวจแรงงานในสถานที่ต่างๆเพื่อป้องปรามการค้ามนุษย์ ตรวจแรงงานในสถานประกอบการจำนวน 121,459 แห่งพบการกระทำความผิด 11,413 แห่ง ตรวจสอบเรือประมง 78,623 ลำพบการกระทำผิด 511 ลำ ตรวจสอบสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ 259แห่งพบการกระทำผิด 88 แห่ง
การส่งเสริมการเข้ามาทำงานของแรงงานต่างด้าวและอบรมให้ความรู้แก่แรงงานต่างด้าวโดยจัดตั้งศูนย์แรกรับและสิ้นสุดการจ้างเพิ่มเติมใน จ.มุกดาหารและระนอง รวมทั้งมีการแก้ปัญหาสัญญาจ้างที่อาจไม่เป็นธรรม กำหนดสัญญาจ้างงานประมงทะเล โดยออกแนวปฏิบัติให้มีการจัดทำสัญญาจ้างเป็นภาษาไทยและภาษาประจำชาติของลูกจ้าง
ทั้งนี้ ยังจะได้มีการพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการทำงานในทุกมิติ เพื่อปราบปรามดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด คุ้มครองช่วยเหลือ ผู้เสียหาย และป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบอีกต่อไปด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: