ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย กรณี “ธนาธร” ถือหุ้นสื่อ บ.วี-ลัค มีเดีย พบพิรุธ ส่งเอกสารการประชุมผู้ถือหุ้นช้ากว่าปกติ และไม่ปรากฏเอกสารว่าประชุมเปลี่ยนมือ สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าจะวินิจฉันแล้วเสร็จ พร้อมตีตกเรื่องคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
(23 พ.ค. 62)ภายหลังจากที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กรณีถือหุ้นสื่อ บ.วี-ลัค มีเดีย ในวันที่สมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์มีคําสั่งรับคําร้องไว้พิจารณา วินิจฉัย และแจ้งให้ผู้ร้องทราบ และส่งสําเนาคําร้องให้ผู้ถูกร้องยื่นคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสําเนาคําร้อง
สําหรับคําขอของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง ศาลพิจารณาคําร้องและเอกสาร ประกอบคําร้องแล้ว เห็นว่า คดีนี้ผู้ร้องได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ “นายธนาธร” หยุดปฏิบัติหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 42 วรรคสอง และปรากฏข้อมูลจากเอกสารประกอบคําร้องว่า ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นทุกครั้งจะส่งสําเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และระบุวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น พร้อมมีหนังสือนําส่งนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครในเวลาใกล้ชิดกัน ซึ่งแตกต่างจาก การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในคดีนี้ตามเอกสารประกอบคําร้องไม่ปรากฏว่ามีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น จึงปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจ ก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดําเนินงานสําคัญของที่ประชุม สภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนกว่าศาลจะมีคําวินิจฉัย
สําหรับ กรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา มีปัญหาเกี่ยวกับ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 81 วรรคสอง และมาตรา 264 (1) (ข) และ (ค) หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับดังกล่าวเป็น เพียงการออกคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทําหน้าที่กลั่นกรอง เสนอรายชื่อสมาชิกวุฒิสภาชุดแรก ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 เท่านั้น จึงมีคําสั่งไม่รับคําร้องไว้ พิจารณาวินิจฉัย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: