อบจ.น่าน กองทุนฟื้นฟูฯ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านน้ำโค้ง เยี่ยมผู้ป่วย
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 น. นางนิภาพร พอใจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำโค้ง นางดวงแข นาพรม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ร่วมกับ คณะผู้ประเมินและติดตาม ผลการดำเนินการจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางการแพทย์ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ จังหวัดน่าน
องค์การบริหารส่วน จังหวัดน่าน เยี่ยมติดตามประเมิณผลการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อจัดระบบบริการดูแลสุขภาพ ให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการได้เท่าเทียม และคุณภาพดี ประชาชนได้รับบริการรักษาใกล้บ้าน ลดปัญหาความแน่นแออัดของผู้ใช้บริการ/ผู้ป่วย ในโรงพยาบาล
โดยการสร้างสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่ป่วยง่าย ขณะเดียวกัน กระจายบริการ เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการค่อนข้างคงที่ สามารถใช้บริการสถานพยาบาลใกล้บ้าน คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำโค้ง โดยไม่ต้องไปที่รับบริการ ที่โรงพยาบาล ตามนโยบายของ กระทรวงสาธารณสุข
ข่าวน่าสนใจ:
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำโค้ง ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้พัฒนาระบบการดูแล การฟื้นฟูสมรรถภาพ ทั้งร่างกายและจิตใจที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ญาติในการพาไปโรงพยาบาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ซึ่งจะมีความยากลำบากในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วยทั่วไป
โดยได้ประสานความร่วมมือ ศูนย์การเยี่ยมบ้านในโรงพยาบาลน่าน และภาคีเครือข่ายให้การติดตามดูแลเยี่ยมบ้าน หลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน เนื่องจากอาการคงที่แล้ว โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำโค้ง เป็นแกนหลักดำเนินการ.
ทั้งนี้ การเยี่ยมบ้านดังกล่าว มีพยาบาลวิชาชีพ เป็นผู้จัดการวางแผนการบริการเยี่ยมแต่ละครั้ง โดนปีงบประมาณ 2562 ได้รับสนับสนุนอุปกรณ์ฟื้นฟูทางการแพทย์ จำนวน 6 รายการ 36 ชิ้น นำไปใช้กับผู้ป่วยฟื้นฟู 36 คน และเข้าติดตามเพื่อประเมินความก้าวหน้า และประเมินการใช้อุปกรณ์ ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ 3 คน ผู้ฟื้นฟู ญาติ ผู้ดูแล ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
มีความสุขในการใช้ชีวิตมากขึ้นทุกราย ในการเยี่ยมแต่ละครั้งอาจมีแพทย์ นักกายภาพบำบัด ฯ หรือจิตอาสาต่าง ๆ ร่วมทีมไปด้วย ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย โดยทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโค้ง มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือที่ต้องใช้ดูแล ให้ญาติยืมใช้ เช่น รถเข็นผู้ป่วยแบบนั่ง ชุดทำแผล ถังออกซิเจน สายยางให้อาหาร สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น.
หลังจากที่เริ่มดำเนินการมาพบว่า ได้ผลดีมาก ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงที่บ้าน ได้รับการดูแลสุขภาพต่อเนื่อง ลดปัญหาการเกิดอาการแทรกซ้อนได้ดี เช่น แผลกดทับ หรือปอดติดเชื้อลดลงได้มาก ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อย ครอบครัวและญาติพึงพอใจสูงกว่าร้อยละ 95 ซึ่งบริการในส่วนนี้ สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของไทย ในอนาคตได้อย่างดีด้วย.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: