X
มาเรียม, พะยูนตรัง,อนุรักษ์พะยูน,ลูกพะยูน,แมงกะพรุน,

เร่งทำตาข่ายกั้นแมงกะพรุนกล่องเข้าใกล้ทีมดูแลลูกพะยูนน้อย”มาเรียม”

หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต พร้อมชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เร่งทำตาข่ายกั้น แมงกะพรุน กล่องเข้าใกล้ลูกพะยูนน้อยมาเรียม เนื่องจากในช่วงมรสุมพบแมงกะพรุนกล่องเพิ่มขึ้นเป็นอุปสรรคกับทีมสัตวแพทย์

แมงกะพรุน วันนี้(19 มิ.ย.62) ที่บริเวณหน้าเขาบาตู หมู่ที่ 4 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน จ.ภูเก็ต พร้อมชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เร่งทำตาข่ายกั้นแมงกะพรุนกล่องและแมงกะพรุนพิษต่างๆ ที่เข้ามารบกวนการทำงานของทีมสัตวแพทย์ โดยเฉพาะขณะกำลังป้อนนมและหญ้าทะเลให้กับเจ้ามาเรียม ลูกพะยูนน้อยวัย 5-6 เดือน

โดยช่วงนี้เข้าสู่ช่วงมรสุม ทำให้มีแมงกะพรุนพิษเจริญเติบโตและโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำมากกว่าปกติ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ถูกแมงกะพรุนกล่องบาดเจ็บไปแล้ว 3 ราย ซึ่งตาข่ายที่ใช้มีความยาวด้านละ 3 เมตร กั้นเฉพาะขณะปฏิบัติหน้าที่ โดยเริ่มทดลองใช้ครั้งแรกในวันนี้ ขณะที่ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ ยืนยันไม่กระทบกับเจ้ามาเรียมเพราะสัตว์ทะเลประเภทนี้มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติอยู่แล้ว

ทั้งยังไม่พบบาดแผลจากการชนโขดหินในช่วงหลังๆ แสดงว่าเจ้ามาเรียมรู้จักปรับตัวในแหล่งที่อยู่อาศัยได้ดีขึ้น แต่ศัตรูที่สำคัญคือฉลาม ซึ่งยังไม่พบในทะเลตรัง และสิ่งที่น่าห่วงกว่าคือกิจกรรมทางน้ำของคน การสัญจรไปมาของเรือและใบพัดเรือที่อาจทำร้ายเจ้ามาเรียมได้

ส่วนเจ้ามาเรียมวันนี้ ยังคงร่าเริง สดใส แม้เพิ่งเกยตื้นเพราะกินอิ่มจึงทำให้นอนหลับเพลินอยู่ใกล้กับจุดเดิมที่เคยพบนอนเกยตื้นอยู่บ่อยครั้ง ยังคงซุกซนและชอบเข้าไปซุกใต้ท้องเรือหรือแม่ส้ม โดยไม่ยอมว่ายน้ำหนีห่างไปไหน แต่จะเข้ามาทีมสัตวแพทย์ทุกครั้งที่ถือขวดนมเข้าไป ซึ่งทีมสัตวแพทย์ป้อนนมให้ถี่ขึ้นเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวจากเกณฑ์ปกติของลูกพะยูนหากกินนมแม่ในวัย 5-6 เดือน

จะต้องมีน้ำหนักประมาณ 50-60 กิโลกรัมความยาวประมาณ 150 เมตร แต่เจ้ามาเรียมยังต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ยังแข็งแรงดี มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเที่ยวชมไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งเจ้ามาเรียมก็ออกมาอวดโฉมให้นักท่องเที่ยวได้บันทึกภาพที่น่าประทับใจทุกวันเช่นกัน

ด้านนายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามัน(ภูเก็ต)กล่าวว่า ในช่วงคลื่นลมแรงทำให้การดำรงชีวิตของเจ้ามาเรียมและการดูแลของเจ้าหน้าที่ยากขึ้น รวมทั้งช่วงมรสุมมีพวกสัตว์มีพิษ เช่นแมงกะพรุนเข้ามามากขึ้น ซึ่งกำลังเตรียมใช้ตาข่ายป้องกันแมงกะพรุนเอาไว้ เจ้าหน้าที่ก็ต้องแต่งชุดที่รัดกุม ไม่ห่วงปัญหาน้ำจืดเพราะพะยูนหายใจด้วยปอด

และห่วงเจ้าหน้าที่ดูแล ซึ่งเมื่อวานนี้มีเจ้าหน้าที่ฯ ถูกแมงกะพรุนกล่องไปแล้ว 2 ราย วันนี้ก็พบแมงกะพรุนกล่อง แต่ไม่มีผลกับพะยูนเพราะสัตว์ทะเลจำพวกนี้มีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว โดยผิวหนังดีขึ้น บาดแผลเกือบหายสนิท ซึ่งสิ่งที่น่าห่วงคือฉลาม กิจกรรมทางน้ำ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน