เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) จึงได้จัดงาน“เทิดไท้พระมหากษัตรา พระบรมราชาภิเษก” เพื่อเทิดพระเกียรติถวายความจงรักภักดีแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยภายในจะจัดให้มีกิจกรรม นิทรรศการพระมหาพิชัยมงกุฎ(จำลอง) ทำรังสรรค์ด้วยไม้สักทองหลางและไม้สัก กลึงขึ้นรูปขุดใน กระแหนะลายปิดด้วยทองแท้ล่องชาด ประดับเพชรคริสตัลสวารอฟสกี้ ประกอบเครื่องโลหะขึ้นรูป ชุดทองลงยาฝังพลอยตามแบบโบราณ สร้างขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมาหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางเชิงช่างสืบทอดงานศิลปะชั้นสูงของไทยแต่โบราณ ให้คงอยู่สืบไป
สร้างโดย นายพิสูตร ยังเขียวสด ศิลปินและทายาทรุ่นปัจจุบัน ผู้สืบทอดวิชามาจากบรมครูโจหลุยส์ หรือ นายสาคร ยังเขียวสด ผู้ก่อตั้งคณะหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ และศิลปินแห่งชาติ สาขาการแสดงหุ่นละครเล็ก ปี 2539
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งนายพิสูตร ยังเขียวสด ระบุว่า กว่า 20 ปีที่ไม่ได้ทำงานช่าง ก็ไปศึกษานะ ไม่ได้อยู่เฉยๆศึกษาหัวโขนเยอะ ไปเรียนด้วย ไปศึกษาดูอาจารย์หลายๆท่าน แล้วก็ยังไม่ได้ทำ แล้วก็เก็บเป็นความรู้ไว้เรื่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งรู้สึกวันนี้ได้กลับมาทำและพัฒนาไปไกลมาก ซึ่งด้วยความรู้ที่เราได้ไปสะสมมา ก็เอามาถ่ายทอดสู่งานชิ้นนี้ ซึ่งแต่จริงๆทำทั้งหมด 11 ชิ้น แต่ว่าจะแสดงงานปลายปี ซึ่งที่นำมาแสดงในครั้งนี้ ถือเป็น 1 ใน 11 ชิ้นนั้น
นายพิสูตร มองว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการทำพระมงกุฏจำลอง คือ ทุกขั้นตอน ที่เราต้องเรียนรู้ แล้วออกมาสวยหรือไม่สวยนี่เป็นอีกเรื่องนึงเลย ผมเห็นคนทำแบบนี้เยอะ แต่ว่าเรารู้สึกว่า ยังไม่ตรง ยังไม่ใช่ เราต้องไปศึกษาเยอะกว่านี้ จะได้ความงามที่ใกล้เคียง มองด้วยตาเปล่าก็จะรู้แล้ว สวยไม่สวย ซึ่งมองว่าจุดนี้เป็นจุดที่ยากกว่า แล้วช่างแต่ละคนที่จะมาช่วยเราทำต้องเก่งมากๆ ต้องหาช่างที่ดี เพื่อมาช่วยรังสรรค์สิ่งที่เราอยากได้ให้สำเร็จ มีช่าง 4 คน ผมเป็นหนึ่งในนั้นที่ควบคุมดูแลทั้งหมด งานที่ทำออกมาใฃ้ช่าง 4 คน กับเวลา 8 เดือน
นอกจาก นิทรรศการพระมหาพิชัยมงกุฎ(จำลอง) ยังสามารถชม การแสดงหุ่นละครเล็กชุดใหม่ล่าสุด เรื่อง “หนุมานชาญสมร ตอน แก้กลมัจฉา“ (Hanuman The Great Warrior)” ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักของวานรเผือก ขุนศึกแห่งทัพพระรามกับนางสุพรรณมัจฉา เป็นการแสดงตอนหนึ่งในเรื่อง เมื่อครั้งที่ทศกัณฐ์ลักพาตัวนางสีดา พระรามได้สั่งให้หนุมานถมทางเพื่อเคลื่อนทัพข้ามทะเลไปยังกรุงลงกาและทำศึกชิงตัวนางสีดากลับคืนมา ทศกัณฐ์ได้สั่งให้นางสุพรรณมัจฉา ซึ่งเป็นธิดาไปจัดการขัดขวางการถมถนนของหนุมาน โดยให้ฝูงปลาผู้เป็นบริวารคาบก้อนหินที่หนุมานนำมาถมทะเลออกไป หนุมานเห็นผิดสังเกตว่าก้อนหินที่ถมไปในทะเลนั้นหายไปจึงลงมาดูใต้น้ำพบนางสุพรรณมัจฉาจึงไล่ตามจับนาง จนก่อเกิดเป็นความรักในที่สุด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: