แผนอพยพลิงนับแสนตัวทั่วประเทศ เพื่อไปอยู่ที่แห่งใหม่ที่เรียก“นิคมลิง”ผ่านมาแล้ว 3 ปี ถึงวันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน และยังไม่มีการอพยพลิงแม้แต่ตัวเดียว
งบประมาณที่ตั้งไว้ในการจัดการปัญหาลิงกับคนที่อาศัยอยู่พื้นที่ทับซ้อนกันจนเกิดปัญหาข้อพิพาท เบื้องต้น ใน 12 จังหวัด 1,5000 บาท โดยให้จังหวัดลพบุรีเป็นพื้นที่นำร่อง ขั้นตอนก็ยังอยู่ในช่วงการทำประชาพิจารณ์ การศึกษารายละเอียด
แม้กระทั่งการทำประชาพิจารณ์ครั้งล่าสุดรอบที่ 3 เมื่อ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ อ.พัฒนานิคม สถานที่ ที่ถูกเลือกสร้างนิคมลิงขนาดใหญ่ที่บริเวณเขาพระยาเดินธง เพื่อรองรับการอพยพลิงทั้งหมดในจังหวัดลพบุรีมาไว้ที่นี่ ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่เห็นเห็นด้วย
ปัญหา “ลิง” ได้ยกระดับเป็นปัญหาระดับชาติ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการ เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2559 เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ปัญหาลิง โดยให้นำร่อง ที่ จ.ลพบุรีเป็นแห่งแรก
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
- ชาวนาเผยต้นทุนการทำนาสูงแถมข้าวยังคงราคาตกต่ำอยากให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
พอนายกฯ สั่งการ สนช.ก็รับลูก ตั้ง คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีครูหยุย วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นประธานคณะกรรมการ และมีการว่าจ้างสถาบันการศึกษามาทำการศึกษา ออกแบบ 4 มหาวิทยาลัย ทั้งม.เกษตรศาสตร์, ธรรมศาสตร์,มหิดล และม.ขอนแก่น
จากการศึกษาของคณะทำงาน พบปัญหาที่ลิงสร้างความรบกวน ที่นอกเหนือจากการสร้างความรำคาญแล้ว ยังส่งเสียงรบกวน กัดกิน ผลไม้ ทำลายพืชผล รื้อค้นถังขยะ ทรัพย์สินเสียหาย และที่รุนแรงที่สุดคือ ลิงทำร้ายประชาชน และพบปัญหานี้กว่า 50 จังหวัด
แต่ที่รุนแรง มากที่สุด 12 จังหวัด คือ ลพบุรี ,กระบี่, ชลบุรี, ตรัง,ประจวบคีรีขันธ์,เพชรบุรี, ภูเก็ต, มุกดาหา, สตูล, สระบุรี ,อำนาจเจริญ และเขตบางขุนเทียน กทม. ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายในการจัดการกับลิงตามยุทธการนี้
ตามขั้นตอนการจัดการ มีทางเลือก 2 ทาง หากพื้นที่ไหน คนกับลิงยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันต่อก็ต้องใช้เวลาในการจัดการ โดยการ “ทำหมันลิง”เพื่อลดประชากร และให้กาลเวลาจัดการตามอายุขัยของลิง 20 ปี ทางเลือกที่ 2 หากคนปฏิเสธที่จะไม่อยู่ร่วมกับลิงก็ใช้วิธีการอพยพลิงจากชุมชนไปอยู่ที่ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสร้าง “นิคมลิง” หรือเอาลิงไปไว้ตามเกาะ ก็ดำเนินการตามความเหมาะสม
เรื่องอพยพลิงเป็นข่าวฮือฮา เมื่อกลางเดือน พ.ค.2561 เมื่อคณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สนช. จัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการปัญหาลิงในพื้นที่วิกฤต (ตามยุทธศาสตร์แผนแม่บทการบริหารจัดการปัญหาลิงใน จ.ลพบุรีอย่างยั่งยืน) แต่หลังจากนั้นข่าวครามก็เงียบหาย
แต่ความจริงโครงการยังเดินหน้า งบประมาณที่ตั้งไว้ก็ยังใช้อย่างต่อเนื่อง แต่นับถึงวันนี้ จะครบ 3 ปีเต็มหลังนายกรัฐมนตรีสั่งการ ตามโครงการยังไม่มีรายงานการอพยพ หรือเคลื่อนย้ายลิงแม้แต่ตัวเดียว
จังหวัดนำร่องอย่างลพบุรี ในการจัดการปัญหาลิงนี่ชัดเจนว่ายังแค่ขั้นตอนการตั้งตุ๊กตาว่าจะจัดการปัญหาอย่างไร กับลิงทั้งที่อยู่ในตัวเมืองที่เด่น ๆ อย่างกลุ่มศาลพระกาฬ กลุ่มพระปรางค์ 3 ยอด
จากรายงานของปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ระบุว่า ในเขตเมืองมีลิงอาศัยอยู่กว่า 2,200 ตัว กระจายตามอำเภอต่างๆ รวมกว่า 1 หมื่นตัว แต่ช่วงปี 2560-2561 จ.ลพบุรี ได้จัดการควบคุมประชากรลิง ที่อยู่ในเขตเมืองไปแล้ว 6 ครั้ง มีการทำทะเบียนลิงและปัจจุบัน มีลิงเพิ่มขึ้นมาเพียง 800- 1,000ตัว เป็นผลมาจากการจัดการควบคุมประชากรโดยการทำหมัน
แต่การคาดการณ์ตัวเลขประชากรลิงของสำนักบริหารพื้นที่ 1 สาขาสระบุรี กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ดูแล จ.ลพบุรีด้วย คาดการณ์ว่า ในพื้นที่ จ.ลพบุรี ช่วงปี 2562-2566 จำนวนลิงแสมและลิงกัง จะเพิ่มขึ้น เป็นจำนวน 88,278 ตัว โดยคำนวณจากลิงเพศเมียที่สามารถมีลูกได้เมื่ออายุ 2 ปี และไม่มีการตาย ไม่มีการอพยพ
นั่นเท่ากับว่าหากไม่มีการจัดการอย่างชัดเจน ในปี 2566 หรืออีก 4 ปี ข้างหน้า ประชากรลิงใน จ.ลพบุรีจะเพิ่มจำนวนขึ้นจากปัจจุบันถึง 400 %
แต่จะจัดการอย่างไร เอาลิงไปไว้ที่ไหน ? หรือจะตื่นตูมกับตัวเลขแล้วก็เร่งจัดการเคลื่อนย้าย อพยพ ซึ่งปัญหาไม่ง่ายอย่างที่คิด
แค่ย้ายลิงหมื่นกว่าตัวนำร่องที่ลพบุรี คนในเมืองที่ต้องทั้งต้องทนและปรับตัวกับลิงความเห็นยังแย้งกัน 2 ฝ่าย บางส่วนบอกลิงเป็นสัญลักษณ์เมืองดึงดูดนักท่องเที่ยว บางส่วนบอกลิงก่อเหตุรำคาญ พอไปถามคนในพื้นที่รอบๆ เขาพระยาเดินธง ที่มีโครงการจะทำเป็นนิคมลิง ที่เพียบพร้อมด้วยคอนโดที่อาศัยของลิง แมกไม้ ลำธาร โรงพยาบาล และสำนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีรั้วรอบขอบชิดเพื่อไม่ให้ลิงเล็ดลอดออกไปข้างนอกได้
ชาวบ้านที่นั่นบอก “ไม่เอา” เมื่ออ้างเหตุผลว่าถ้ามีลิงมาอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก ๆ จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างงาน สร้างรายได้ ในพื้นที่ ชาวบ้านก็บอก ถ้าดีจริงก็ย้ายไปบ้านคุณ
ปัญหาอพยพลิงไปไว้ที่ไหนก็ไม่ต่างกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ เหตุผลดีหมด ทุกคนอยากได้กระแสไฟฟ้า แต่มีข้อแม้ อย่ามาสร้างโรงไฟฟ้าบ้านฉัน ประมาณนั้น
การอพยพลิงจำนวนมหาศาลทั่วประเทศจึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
ข้อคิดที่น่าฟังของชาวบ้าน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พื้นที่ที่ถูกกำหนดให้เป็นนิคมลิงขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่นำร่องในวันทำประชาพิจารณ์ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมาน่ารับฟัง
ชาวบ้านบอกว่า เมื่ออายุขัยของลิง 20 ปี ก็จัดโครงการทำหมันลิงให้เป็นเรื่องเป็นราว ใช้เวลาหน่อย โดยไม่ต้องย้ายลิงไปทีอื่นเพื่อผลักปัญหา พอประชากรลิงไม่เพิ่ม มีแต่ลดลง ๆ แล้วมันก็จะหมดไปเอง
หากดูตามตัวเลขของปศุสัตว์ลพบุรี กับการคาดการณ์ของกรมอุทยานฯ ของจำนวนประชากรลิงลพบุรี ก็น่าคิดนะครับ วิธีการตามที่ชาวบ้านเขาเสนอ อาจใช้เงินไม่ถึง 1,500 ล้านบาทก็ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: