คณะกรรมการติดตามกลไก และพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า ฯลฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน,อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ดูการบริหารจัดการผืนป่าและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสัตว์ป่า ตะลึง…พบสมเสร็จ สัตว์ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงขั้นสูงต่อการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ ตลอดจนสัตว์ป่าหายากหลายชนิดทั้ง แมวลายหินอ่อน ,เสือดำ เสือดาว ในป่าลึกอุทยานแห่งชาติกุยบุรี บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า
ข่าวน่าสนใจ:
4 มีนาคม 2561 นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการติดตามกลไก และพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า,พลเอก ธีระวัฒน์ บุณยะประดับ ที่ปรึกษาและกรรมการฯ พร้อมด้วย พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองประธานคณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า และคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสัตว์ และคณะอนุกรรมการพบปะและช่วยเหลือบุคคลด้อยโอกาสในคณะกรรมการดำเนินโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบประชาชน ได้เดินทางลงพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี-อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
โดยคณะทั้งหมดเดินทางไปยังหน่วยพิทักษ์อุทยาน ห้วยลึก (อช.กุยบุรี) โดยมีนายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอกุยบุรี ,นายนิธิ อาจสมรรถ ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี,นายวัฒนา พรประเสริฐ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี ,นายกาญจนพันธ์ คำแหง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี,นายทัศนะ ศรีวิลาศ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟู สัตว์ป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเจ้าหน้าที่อุทยานฯกุยบุรี ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย(WWF)
โดยนายกาญจนพันธ์ คำแหง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี และ เจ้าหน้าที่กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย(WWF) ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับกับการบริหารจัดการและการอนุรักษ์สัตว์ป่า การสร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร แปลงหญ้า โป่งเทียม และกระทะน้ำ ตลอดจนการศึกษาประชากรช้างป่าด้วยวิธีการแยก DNA จากมูลช้างป่าในพื้นที่อุทยานฯกุยบุรี โดยมีการเก็บทั้งหมด 400 ตัวอย่าง จำแนกประชากรช้างป่าได้ไม่ต่ำกว่า 237 ตัว เป็นเพศผู้ 69 ตัวและเพศเมีย 168 ตัว รวมทั้งการติดกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าแบบอัตโนมัติ ร่วมกับทางเจ้าหน้าที่กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย(WWF) ตลอดจนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนโดยรอบพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จัดการท่องเที่ยวชมช้างป่า กระทิง ซึ่งทั้งหมดได้ยึดหลักแนวพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 ก.ค. พ.ศ.2542 “ช้างควรอยู่ในป่าเพียงแต่ทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างให้เพียงพอ การปฏิบัติคือให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็กๆและกระจาย กรณีที่ช้างออกมาชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า” ซึ่งคณะทั้งหมดได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการบริหารผืนป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่สุดยังพบว่าสัตว์ป่าที่หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งแมวลายหินอ่อน จัดอยู่ในความเสี่ยงระดับขั้นอันตรายต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ ส่วนสมเสร็จ จัดอยู่ในระดับความเสี่ยงขั้นสูงต่อการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ และเสือดำ ,เสือดาว ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อความเป็นอันตรายจากการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งสัตว์ป่าหายากทั้งหมดพบได้ในผืนป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในป่าลึกเข้าไป โดยทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้จัดเจ้าหน้าที่ฯออกเดินเท้าลาดตระเวน เป็นช่วงเวลา
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการติดตามกลไก และพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า การเดินทางมาศึกษาดูงาน ด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาในด้านการดำเนินการ ในครั้งนี้ได้เห็นว่าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ,อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีการอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบเพื่อการอนุรักษ์ การควบคุมป้องกันพื้นที่ป่าอนุรักษ์เดิมที่มีอยู่ และพื้นที่ป่าเสื่อโทรมให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทั้งกลยุทธ์การส่งเสริม กระตุ้น และการปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน และการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหารแหล่งนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการฯจะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหา ในการจัดการผืนป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน,อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ไปจัดทำรายงานเสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
ด้านนางเยาวลักษณ์ เธียรเชาว์ ผู้อำนวยการกองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย(WWF) กล่าวว่าหลังจากที่ทางเจ้าหน้าที่ WWFประเทศไทย ได้ทำงานภาคสนามร่วมกับทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรีมากว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นทำให้ได้เห็นภาพของความสมบูรณ์ของป่าไม้ และสัตว์ป่าที่พบหลายชนิดมากขึ้น ซึ่งสามารถยืนยันได้จากกล้อง Camera Trap ที่ทางเราได้ร่วมกับทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี นำไปติดไว้ในจุดเส้นทางต่างๆที่สัตว์ป่าใช้ในผืนป่าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 108 จุด จากกล้อง Camera Trap ทำให้เราได้ข้อมูลว่าสัตว์ป่าไม่เพียงแต่ช้างป่า กระทิง วัวแดง เรายังพบสมเสร็จ ซึ้งเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ เสือดำ เสือดาว แมวลายหินอ่อน,เสือไฟ ระดับความเสี่ยงขั้นอันตรายต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ และสัตว์อีกหลายชนิดรวมทั้งสมเสร็จ ซึ่งมีระดับความเสี่ยงขั้นสูงต่อการสูญพันธุ์จากที่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งบ่งบอกว่าผืนป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี นั้นมีความสมบูรณ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในผืนป่าแห่งนี้มากขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: