ปทุมธานี-จัดสร้าง พระปทุมธรรมราช พระประจำจังหวัดปทุมธานี องค์จำลอง ในวาระครบรอบ 118 ปี สมเด็จพระสังฆราช ทรงเสด็จเป็นประธานใน พิธีเททองหล่อองค์พระปทุมธรรมราช วันจันทร์ ที่ 19 มีนาคม 2561
จังหวัดปทุมธานีในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอันมากจากหัวเมืองเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่โดดเด่น สู่เมืองแห่งการค้าการลงทุนในอุตสาหกรรมสะอาดของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาค (Education and Technology Hub) พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีการกระจายตัวของนิคมอุตสาหกรรมและโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ นำไปสู่การพัฒนาถนนหนทาง เกิดย่านอุตสาหกรรมใหม่ในเขตรังสิต มีศูนย์การค้าและสถาบันการศึกษาสำคัญเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย จังหวัดปทุมธานียังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบวิสัยทัศน์ของเมือง ที่มุ่งสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านสังคมให้เป็นสังคมคุณภาพถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำของชาวปทุมธานีแสดงให้เห็นถึงความเรียบง่ายความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและมีประเพณีเก่าแก่ยังคงฝังลึกในจิตใจเอกลักษณ์ที่งดงามแห่งวิถีชุมชนถือเป็นอีก เสน่ห์หนึ่งของเมืองปทุมธานี
พระปทุมธรรมราช เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดปทุมธานี สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 หล่อด้วยโลหะผสม ปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 3 คืบ พระสุคตประมาณ 40 นิ้ว สูง 50 นิ้ว ห่มจีวร สังฆาฏิพาดตั้งอยู่บนฐานบัวคว่ำบัวหงาย สูง 8 นิ้ว ยาว 47 นิ้ว วัดความสูงตลอดถึงเกศ 65 นิ้ว โดยพระศาสนโสภณ (อ่อน) แต่ครั้งยังเป็น พรธรรมไตรโลกาจารย์ วัดพิชยญาติการราม ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลกรุงเทพฯ เห็นว่าในเขตปกครองของท่านไม่มีพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองจำดำริกับ พระรามัญมุนี(สุทธิ์ ญาณรังสี) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เจ้าอาวาสวัดบางหลวงในสมัยนั้น พร้อมด้วย พระยาพิทักษ์ทวยหาญ เจ้าเมืองและกรรมการเมือง ร่วมจัดหาทุนทรัพย์ในการหล่อพระพุทธรูปครั้งเมื่อถึงเดือนมกราคม ร.ศ. 118 พ.ศ. 2443
พระธรรมไตรโลกาจารย์ นำช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูปมาจากกรุงเทพฯ โดยทำพิธี ณ โรงพิธี วัดปรมัยยิกาวาส จำนวน 4 องค์ต่อมาได้มีการกำหนดการเททองเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ร.ศ. 118 พ.ศ. 2443 ที่วัดบางหลวง สิ้นเงิน 519 บาทเศษ เมื่อทำการแต่งองค์พระเสร็จแล้ว พระธรรมไตรโลกาจารย์ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามพระพุทธรูป พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม พระประจำจังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 5 เมษายน ร.ศ. 118 พ.ศ. 2443 นามว่า พระปทุมธรรมราช สืบต่อมา
ทั้งนี้จังหวัดปทุมธานี นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานใน พิธีเททองจัดขึ้นที่วัดบางหลวง ต.บางหลวง อ.เมือง จ.ปทุมธานี วันจันทร์ ที่ 19 มีนาคม 2561ซึ่งถือว่าเป็นวันครบรอบ 118 ปี แห่งการสร้างพระปทุมธรรมราชองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วิหารวัดบางหลวงในปัจจุบันโดยจะจัดสร้างพระปทุมธรรมราช จำลองมีขนาดต่างๆ ดังนี้ 1.พระปทุมธรรมราช หน้าตัก 33 นิ้ว จำนวน 10 องค์ 2.พระปทุมธรรมราช หน้าตัก 9 นิ้ว 3.พระปทุมธรรมราช หน้าตัก 5 นิ้ว 4.เหรียญพระปทุมธรรมราช 5.พระกริ่ง รุ่น 118 ปี จัดสร้าง 2,443 องค์
ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีกล่าวว่า ตนเองอยากให้มีการสืบสานและเผยแผ่พระพุทธศาสนา และพระราชปณิธานของในหลวง ร.5 โดยให้เททองหล่อจัดสร้างพระปทุมธรรมราช (องค์จำลอง) ขนาดหน้าตัก 33 นิ้ว จำนวน 10 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ สถานที่สำคัญๆ เช่น วัดของเจ้าคณะ จังหวัดปทุมธานีทั้ง 2 วัด ได้แก่ วัดเขียนเขต อ.ธัญบุรี เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีฝ่ายมหานิกาย และวัดโบสถ์ อ.สามโคก เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีฝ่ายธรรมยุต ฯลฯ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวปทุมธานี และใกล้เคียงได้รู้จัก ได้สักการบูชา และในการเททองหล่อฯ ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรก ในโอกาสครบรอบ 118 ปี ด้วยโดยสมเด็จพระสังฆราช ทรงเสด็จมาเป็นประธานใน พิธีเททองในครั้งนี้
วัดบางหลวง เป็นวัดที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยามีประวัติศาสตร์และหลักฐาน ที่น่าศึกษาคันคว้าอยู่มิใช่น้อย ดังจะ เห็นได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ และเจดีย์รามัญ นับเป็นศิลปะสมัยอยุธยาแทบทั้งนั้น ตามประวัติเดิมของวัดบางหลวง พระรามัญมุนี ( สุทธิ์ ญาณรสี) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางหลวง และอดีตเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ได้บันทึกไว้ เมื่อ พุทธ ศักราช 2451 พอเป็นเค้าตอนหนึ่งว่า
“วัด บางหลวงใน หรือวัดบางหลวงไหว้พระนี้ แต่ ก่อนมิได้สร้างวัดนี้เป็นทำเลพงแขม รกด้วยหญ้าลัดดาวัลย์ เป็นที่อาศัยของสัตว์จตุบาทวิบาท มีเสือดาว กวางทราย เป็นต้น มีลำคลอง เข้าไปทุ่งนาแห่งหนึ่งเรียกคลองบางหลวง พง ป่ารกชัฏตามริมคลองเป็นที่เปล่าเปลี่ยวผู้ คนไปมา คลองนี้แต่ก่อนกว้างประมาณ 3- 4วา และมีจระเข้ตัวเล็ก ๆ ชุกชุม มัจฉา ชาติก็มาก สกุณชาติต่าง ๆ ก็มาก อาศัยอยู่ ตามต้นไม้ พวกพรานเที่ยวสัญจรหาละมั่งกวางทราย จับนกจับปลาไปไว้เป็นภักษาหาร ครั้นมนุษย์มาก ขึ้นความเจริญของภูมิประเทศก็ดีขึ้นทุกขั้น ต่อมาเมื่อประมาณ พุทธศักราช 2246 หรือจุลศักราช 1065 สมเด็จพระสรรเพ็ชรที่ 8 ทรงพรนามเดิม ว่า “พระพุทธเจ้าเสือ” (ดอกเดื่อ) เป็นพระเจ้าแผ่นดินในพระนครศรีอยุธยาทาราวดี คือกรุงเก่าได้ ทรงสร้างวัดนี้ขึ้นที่ตำบลปากคลองบางหลวง ฝั่งใต้ พระราชทานนามว่า “วัดสิงห์”
ในบันทึกที่ยกมานั้น น่าจะเป็นความ จริงอยู่มาก เพราะวัดบางหลวงมี 2 วัด คู่ กัน คือ วัดบางหลวงนอก กับวัดบางหลวงใน วัดบางหลวงในคือวัดที่อยู่ปัจจุบันนี้ ส่วน วัดบางหลวงนอกได้ทรุดโทรมปรักหักพังร้าง ไปหมดแล้ว
ตามทางสันนิฐานของผู้ เขียนเห็นว่า วัดบางหลวงนอก น่าจะสร้างเป็นวัดมาก่อน สมัยพระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์ พอตกมาถึงสมัยพระเอกาทศรถขึ้นครอง ราชย์แล้ว พระองค์ได้ทรงเกณฑ์คนขุดคลองลัด เตร็ดใหญ่จากวัดไก่เตี้ย ตัดทรงลงมาทะลุคลอง บางหลวงเชียงราก ตรงวัดศาลเจ้า เมื่อปีพุทธ ศักราช 1251 ในการขุดคลองคราวนี้ ได้พบพระ พุทธรูปสมัยเชียงรากแสนองค์หนึ่ง ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 ศอกเศษ กล่าวกันว่าเมื่อพบพระพุทธ รูปแล้ว ได้ช่วยกันเอาซุกซ่อนไว้ไม่ให้หลวง หรือทางราชการเห็น เอาพระพุทธรูปซ่อนไว้ ที่วัดบางหลวงนอก เดิมทีเมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ คงไม่ได้ชื่อวัดบางหลวง คงชื่ออย่าง อื่น ต่อมาเมื่อภายหลังขุดคลองลัดเตร็ดใหญ่ พบพระพุทธรูปเชียงแสน เอาหลบซ่อนไว้ใน วัดเรียกว่าบังไม่ให้หลวงเห็น จึงพูดกัน ติดปากว่า “บังหลวง” หรือวัดบังหลวง เมื่อเวลาผ่านเลยมานาน คำว่า “บังหลวง ” จึงกลายเป็น “บางหลวง” พระพุทธรูป องค์นี้ปัจจุบันก็ยังคงอยู่ มีพุทธศาสนิกชนพากันมาเคารพสักการะกราบไหว้กันอยู่เสมอ พอถึงเทศกาลงานประจำปี วันแรม 4 ค่ำ เดือน 11 จะมีประชาชนมากราบไหว้นมัสการกัน มากมิได้ขาด จนล่ำลือไปทั่ว จนชาวบ้าน พูดกันติดปากว่า “บางหลวงไหว้พระ” เป็นที่รู้จักกันโดยพฤตินัยกันทั่วไป
พงศ์พัทธ์ วงศ์ยะลา /รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: