ผลตรวจออกมาพบว่าสุนัขที่ไล่กัดสุนัขจรจัดที่ตลาดรถไฟปราณบุรี ผลตรวจเป็นบวก ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ปศุสัตว์ปราณบุรี และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลปราณบุรี เร่งจับสุนัขจรจัดที่ถูกกัดไปกักขังเพื่อดูอาการ 7-14 วัน พร้อมเข้าสอบสวน ซักประวัติ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสสุนัขที่ตลาดและสุนัขที่บ้าน ให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
14 มีนาคม 2561 นายบุญมี สำมณี ปศุสัตว์ปราณบุรี พร้อมด้วยนางวฤณดา ฝั่งสินธุ์ หัวหน้างานควบคุมโรค โรงพยาบาลปราณบุรี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านวังก์พง อาสาปศุสัตว์วังก์พง ได้บูรณาการร่วมกัน หลังจากได้ทราบผลตรวจจากศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ภาคตะวันตก ของกรมปศุสัตว์ ที่จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 61 สุนัขตัวที่ตายระหว่างนำมากักขังเพื่อดูอาการพบว่าผลตรวจเป็นบวกหรือติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า
จากกรณีดังกล่าวจึงได้บูรณาการร่วมกันลงพื้นที่ ตลาดรถไฟปราณบุรี ต.วังก์พง อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่มีประชาชนมาจับจ่ายซื้ออาหารจำนวนมาก และซอยนาน้อย 1 ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า ได้นำเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ เข้าจับสุนัขจรจัดที่ถูกสุนัขตัวที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้ากัด จำนวน 3 ตัว ไปกักขังที่สำนักงานปศุสัตว์ เพื่อดูอาการ ประมาณ 7-14 วัน ส่วนสุนัขที่มีเจ้าของที่ถูกสุนัขบ้ากัดปศุสัตว์ก็จะมาฉีดวัคซีนให้ที่บ้านจำนวน 4 ครั้ง นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณะสุข งานควบคุมโรค ได้เข้าทำการสอบสวน ซักประวัติ ผู้ที่ใกล้ชิดและสัมผัสกับสุนัขทันทีรอบๆตลาด เพื่อแนะนำให้ผู้ที่ใกล้ชิดและสัมผัสสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า
ตลอดจนให้ความรู้สำหรับการสังเกตอาการของสัตว์ทั้งสุนัขและแมวที่ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้านั้น ให้สังเกตจากนิสัยและการเปลี่ยนแปลงของสัตว์นั้นๆเช่น ป่วย เบื่ออาหาร ซึม และมีนิสัยดุร้าย และจะมีอาการชัดเจนต่อเมื่อเชื้อเข้าสู่สมองของสัตว์ก่อให้เกิดอาการชัดเจน วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการนำสัตว์เลี้ยงมาฉีดวัคซีนประจำปี เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้อีกวิธีหนึ่ง
ด้านนายบุญมี สำมณี ปศุสัตว์อำเภอปราณบุรี กล่าวว่าได้ระดมเจ้าหน้าที่หลายส่วน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในระยะรัศมีเสี่ยงภัย ตามวงรอบที่กำหนดเพื่อควบคุมป้องกันการระบาดของโรค พร้อมทั้งได้ประสานผู้นำหมู่บ้าน ชุมชน ออกให้ความรู้แจ้งเตือนชาวบ้านห้ามนำสัตว์เลี้ยงที่ถูกสุนัขตัวดังกล่าวกัดตาย หรือสัมผัสเชื้อไปรับประทานโดยเด็ดขาด เพราะโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคระบาดที่สามารถติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนได้ และมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหากพบสัตว์เลี้ยงมีอาการต้องสงสัยผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อจะได้เข้าไปตรวจสอบและควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน
ขณะเดียวกันนางวฤณดา ฝั่งสินธุ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานควบคุมโรค กล่าวว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 จนถึง 12 มี.ค.61 มีประชาชนเดินทางมาขอฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น หลังจากที่มีประกาศให้พื้น อ.ปราณบุรีเป็นเขตควบโรคสัตว์ ชนิดโรคพิษสุนัขบ้า ทุกตำบล ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่เคยสัมผัสโรค เช่น ถูกกัด ถูกน้ำลายสุนัข หรือสารคัดหลั่งของสุนัข ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าทั่วไป จำนวน 133 คน และกลุ่มผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า (กลุ่มเสี่ยง) เมื่อนำหัวสุนัขที่ตายไปตรวจในห้องแล็บมีผลออกมาเป็นบวก เป็นโรคพิษสุนัขบ้า จำนวน 53 คน ซึ่งกลุ่มนี้ ทางงานควบคุมโรคได้มีการเรียกและติดตามมาฉีดวัคซีน ครบ100 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งในปัจจุบันมีประชาชนในพื้นที่ อ.ปราณบุรีและใกล้เคียงที่เป็นเจ้าของสุนัขที่เลี้ยงไว้ที่บ้านเป็นผู้สัมผัสกับสุนัขโดยตรงและประชากลุ่มที่สัมผัสสุนัขจากที่อื่นกลัวหรือไม่ทราบว่าสุนัขที่สัมผัสมาจะเป็นโรคสุนัขบ้าหรือไม่ต่างก็มาขอฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขมากขึ้น เฉลี่ยตกวันละ 10 ราย ขึ้นไป
ด้านนางวฤณดา หัวหน้างานควบคุมโรคกล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า จะได้เห็นได้ชัดมากขึ้นใน ครั้งแรกเดือน ม.ค. คือวันที่ 4 และในเดือนม.ค. มีประมาณ 3 ครั้ง จากนั้นก็มีมาเรื่อยๆ ในส่วนของโรงพยาบาลปราณบุรี ก็ มีการติดตามผู้ที่สัมผัส ผู้สงสัย ตั้งแต่สงสัยมากน้อยแค่ไหน ก็ให้พื้นที่ โดยมี ร.พ. ส.ต. เป็นเครือข่ายในการติดตามคนในพื้นที่ ที่มีการสัมผัส พิษสุนัขบ้าเข้ามาที่โรงพยาบาล ในส่วนของโรงพยาบาลจะคัดกรองผู้สัมผัสและซักประวัติให้วัคซีนจนครบชุดและมีการลงพื้นที่กับปศุสัตว์อำเภอและร่วมกับจังหวัดในการออกให้ความรู้ ออกไปควบคุมโรคตามรอบที่มีการแจ้งเข้ามา
สำหรับส่วนใหญ่ที่ประชาชนเข้าขอรับการฉีดวัคซีน ก่อนที่ไม่มีการระบาดโรคพิษสุนัขบ้าก็มีคนไข้ประมาณวันละ 5-7 ราย ในส่วนที่มาให้เจ้าหน้าที่ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ก็เป็นเจ้าของที่เลี้ยงสุนัข คนที่ถูกหรือสุนัขจรจัด กัดหรือสัมผัส แต่ช่วงที่มีมากขึ้น ก็จะมุ่งประเด็นไปที่ผู้ที่สัมผัส
สำหรับการแนะนำตั้งแต่ ถ้าถูกสัมผัส ไม่ว่าจะถูกกัด ถูกน้ำลาย ถูกสุนัขเลีย ให้รีบล้างน้ำเปล่าและก็ฟอกสบู่ก่อนมาโรงพยาบาลและการให้คำแนะนำและความรู้ ผู้ที่ถูกสัมผัสจะต้องดูแลแผล หรือว่าจะดูแลตัวเองอย่างไง การระวังสุนัขเลีย สุนัขกัด และเน้นเรื่องให้ผู้ที่เลี้ยงสุนัขคอยสังเกตอาการของสุนัขตัวเองและให้เจ้าของนำสุนัขมาฉีดวัคซีนทุกปี ปีละหนึ่งครั้ง และไม่ปล่อยให้สุนัขออกนอกบ้าน
ข่าว/ภาพ สมบัติ ลิมปจีระวงษ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: