ประเพณีใส่บาตรเทียน ชาวอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน หนึ่งเดียวที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งไม่ปรากฏชัดว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2344 หลังจากเจ้าฟ้าอัตถวรปัณโญ ได้ทรงสร้างวัดบุญยืนได้ 1 ปี (วัดบุญยืนสร้างเมื่อ พ.ศ.2343) โดยในยุคโบราณที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ พระภิกษุสามเณรทุกรูปในเวียงสา ได้กำหนดเอาวันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 (หรือเดือน 10 เหนือ) หรือหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน
จัดพิธีสูมาคารวะหรือพิธีขอขมาแก่เจ้าคณะอำเภอและพระชั้นผู้ใหญ่ขึ้น ในขณะที่พุทธบริษัททั้งหลายต่างก็ถือเอาวันเดียวกันนี้ นำเทียนและดอกไม้มาถวายแก่พระภิกษุ-สามเณร เพื่อให้ได้มีแสงสว่างไว้ปฏิบัติศาสนกิจและศึกษาพระธรรมวินัยในยามค่ำคืน ซึ่งสอดคล้องกับพุทธบัญญัติที่ให้ญาติโยมได้ถวายเทียนให้กับพระภิกษุ -สามเณร
ข่าวน่าสนใจ:
- เตือนชาวบ้านอย่าตกเป็นเครื่องมือคนร้ายที่พยายามสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- กระบะซิ่งหนีสายตรวจ แหกโค้งพุ่งลงคูน้ำดับ ยกคัน 7 ศพ พบเป็นแรงงานต่างด้าว หลายราย
ซึ่งในช่วงเช้าเวลา 09.00 – 11.00 น. จะมีพิธีตั้งขัน – เตรียมสูมาคารวะ ใส่น้ำอบ น้ำหอม น้ำส้มป่อย เทียน ดอกไม้ ณ บริเวณภายในอุโบสถ / ถวายภัตตาหารเพล
และช่วงบ่ายเวลา 13.00 – 15.00 น. พิธีใส่บาตรเทียน และแสดงสามีจิกรรม (สูมาคารวะ)
ประเพณีใส่บาตรเทียน ถือเป็นประเพณีที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งอยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสามาเป็นเวลาช้านาน เพราะเป็นประเพณีที่มีทั้งฝ่ายพระสงฆ์ และคฤหัสถ์ใส่บาตรร่วมกัน ที่อื่นปรากฏเฉพาะคฤหัสถ์ใส่บาตรพระเพียงอย่างเดียว จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะช่วยกันรักษาประเพณีนี้ไว้ให้อยู่คู่กับชาวอำเภอเวียงสา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: