3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 70 เพื่อกำหนดเป้าหมาย ‘วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030’ ซึ่งเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งโลก ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา 17 เป้าหมาย
หนึ่งในนั้นคือ Sustainable cities and communities หรือการพัฒนาเมืองและสังคมอย่างยั่งยืน เป็นเป้าหมายที่ 11 ใน 17 เป้าหมาย ที่โลกและประเทศไทยจะต้องบรรลุในอีก 15 ปีข้างหน้า
ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ จากเครือข่าย Design for Disaster และอาจารย์คณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ด้วยการออกแบบสร้างสรรค์ “Smart Design for Sustainable Cities” เพื่อสร้างเมืองในฝัน ตามมุมมองสถาปนิกรุ่นใหม่ ที่คำนึงถึงมิติด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
ชุตยาเวศ มองว่าสิ่งแวดล้อมอยู่ในจุดที่ ‘กู่ไม่กลับ’ เราผ่านยอดของการพัฒนาของโลกเรามาแล้ว มันเป็นสิ่งที่มวลมนุษยชาติ ต้องตั้งคำถามว่าเราจะอยู่กับธรรมชาติได้ยังไง
ปัญหาสังคมเมือง เป็นอีกเรื่องที่ต้องหาทางออก การแออัดของเมืองเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยทั้งการเพิ่มขึ้นประชากร พฤติกรรม ลักษณะผังเมืองตลอดจนระบบขนส่งมวลชน และปัญหาที่จะเกิดขึ้นพร้อมการขยายตัวของเมือง คือ
- ปริมาณขยะที่มีมากจนเกินจัดการ
- ชุมชนแออัด คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ในแง่ของที่อยู่อาศัย
- ระบบจนส่งมวลชนที่ไม่พร้อม
- ทรัพยากรลดลงอย่างรวดเร็ว และถูกทำลาย
- ภาวะขาดแคลนอาหาร
ในทางกลับกันหากไม่มีการวางแผนและควบคุม มีแนวโน้มว่าอนาคตสังคมเมืองในประเทศไทยจะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ และเกิดปัญหาข้างต้นเพิ่มขึ้นอย่างไม่สิ้นสุดเช่นกัน
โดยแนวทางในการสร้าง Smart Cities ในมุมมองชุตยาเวศ คือการทำให้เกิความสมดุลระหว่างชนบทกับเมือง และความเจริญทางวัตถุกับธรรมชาติ ได้แก่
ที่ผ่านมาประเทศไทยยกพื้นที่เกษตรกรรมให้กลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีคนจากชนบทย้ายถิ่นฐานเข้ามามากขึ้น ทำให้เมืองขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ซึ่ง ณ เวลานี้มีแค่การจำกัดการเติบโตของเมืองที่จะช่วยแก้หรือชะลอปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นได้
โดยมีไอเดียของการจำกัดขอบเขตเมือง ห้าวงแหวนรอบนอกจะต้องมีความหนาแน่นน้อยลงเรื่อยๆ คือมีเมืองกรุงเทพอยู่ตรงกลาง วงแหวนส่วนนอกจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอยู่ แต่จะมีกิิจกรรมในชนบทเข้ามาทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ส่วนนี้เป็นขอบเขตที่ชัดเจนว่า เมืองจะไม่ขยายเกินส่วนนี้ไปแล้ว
หนึ่งหนทางในการชะลอการเติบโตของเมือง คือการพัฒนาโครงสร้างในชนบทตามต่างจังหวัด โดยต้องสร้างความเจริญไปให้ถึงทุกพื้นที่เพื่อให้คนในท้องถิ่นไม่อยากเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองเพียงอย่างเดียว
ซึ่งคำว่าความเจริญ ณ ที่นี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งปลูกสร้างหรือการมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่หมายถึงความเจริญในการใช้ชีวิตโดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนชีวิตเดิมมาก แต่เป็นการเพิ่มความสะดวกสบายเข้าไปในสเกลที่มีอยู่เดิิม อาทิ การพัฒนาด้านการเกษตร พัฒนาฝีมือแรงงาน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ง่าย มีโรงพยาบาลขนาดเล็ก กระจายตัวในชนบท ดีกว่าการมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจุดเดียว
- เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง
คำว่าพื้นที่สีเขียว ไม่ได้หมายถึงแค่ต้นไม้หรือทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่อาจหมายรวมถึงพื้นที่ที่สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น ยกตัวอย่างป่าแนวตั้ง ในเมืองมิลานประเทศอิตาลีที่เป็นอาคารสูงที่ห่อหุ้มด้วยต้นไม้เขียวขจีน้อยใหญ่อยู่ตั้งแต่ชั้นบนสุดจรดชั้นล่าง
หรือที่อัมสเตอร์ดัม มีความนิยมทำที่รับน้ำในเมืองหรือ Water Plaza ที่ออกแบบมาเพื่อรับน้ำโดยเฉพาะ ที่เมื่อมีฝนตกหนัก น้ำมีปริมาณมากพื้นที่ใช้สอยในบริเวณนั้นจะกลายเป็นพื้นที่รับน้ำราวกับเป็นทะเลสาบกลางเมือง โดยเป็นการออกแบบที่เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของความสวยงามและการช่วยเหลือธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีโมเดล จากการวิจัยของ ชุตยาเวศ ที่มีการโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่สีเขียวในประเทศไทย ที่ลำคลองเยอะ ออกแบบคล้ายเรือนแพที่สามารถสร้างอาหารได้ในตัวเอง เช่นเลี้ยงปลา ปลูกผัก ตลอดจนทำน้ำให้สะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค อยู่ตามบึงตามคลองต่างๆ และสามารถเป็นที่อาศัยได้เมื่อน้ำท่วมกรุง
จะมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทุกรูปแบบเพื่อให้เกิดความสะดวก มีการเชื่อมต่อกันของการคมนาคม ของเรือ รถ และรางมากขึ้น
– ในด้านการคมนาคมทางน้ำต้องมีการพัฒนาเรือในคลองแสนแสบให้สามารถใช้งานได้สะดวกกว่าที่เป็นอยู่ มีความปลอดภัยมากขึ้น
– การคมนาคมทางบก อาทิ รถเมล์ จะต้องมีเส้นทางที่ชัดเจน มีการบริการที่ดี ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายขณะโดยสาร และขึ้น-ลง รถ
– การขยายระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่กำลังขยาย หากสามารถทำได้ 100% จะช่วยคืนพื้นที่บนพื้นผิวถนนในให้กับประชาชนได้ ใช้ประโยชน์มากขึ้น เปลี่ยนทางรถยนต์เป็นทางเท้า และพื้นที่สีเขียวให้สมดุลมากกว่าที่เป็นอยู่
เป็นสิ่งสำคัญที่ถูกมองข้ามมาโดยตลอด เนื่องจากในเมืองไม่สามารถผลิตอาหารเองได้และต้องพึ่งพาชนบทในการเป็นแหล่งอาหาร ชนบทต้องเศรษฐกิจจากสังคมเมือง ในขณะที่สังคมเมืองเองก็ต้องพึ่งพาอาหารจากชนบท แต่หากระบบเศรษฐกิจล่ม ชนบทจะอยู่รอดเพราะ สามารถผลิตอาหารที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตได้
การส่งเสริมให้เขตเมืองมีเกษตรกรรมหรือ Urban Farming จึงเป็นสิ่งที่หลายประเทศสนับสนุนมาโดยตลอด โมเดลที่เห็นได้ชัดเจนคือประเทศสิงคโปร์ที่ใช้พื้นที่บนอาคาร ไม่ว่าจะเป็นดาดฟ้า หรือระเบียงทำเกษตรกรรมขนาดย่อมๆ เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนจนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ
หรือแม้แต่ประเทศทางยุโรป ปัจจุบันมีคนที่ใช้พื้นที่ดาดฟ้าด้านบนอาคาร ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ทำ Urban Farm ขนาดใหญ่ที่สุด สามารถผลิตอาการได้ถึง 5 ตัน/เดือน ที่นอกจากจะสามารถรับประทานเพียงพอในครอบครัวแล้ว ยังสามารถจำหน่ายสู่ท้องตลาดเป็นรายได้พิเศษอีกช่องทาง และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับโลกได้ในทางอ้อม
“ปัญหาในตอนนี้ ไม่ใช่ไม่มี Idea แต่ Idea นั้น ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง ต้องยอมรับว่าการทำอะไรสักอย่าง จะต้องมีคนได้บางอย่างและเสียบางอย่างเสมอ” ชุตยาเวศ กล่าว
สิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการวางแผน คือการเกิดการตระหนักรู้ของทุกคนในประเทศ ที่ดำเนินไปพร้อมกับแผนการพัฒนาเมืองและ ‘วาระใหม่เพื่อการพัฒนาเมือง’ มุ่งแก้ไขปัญหาการกระจายการถือครองที่ดิน โดยใช้มาตรการ ทางกฎหมาย
รัฐบาลอยู่ระหว่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี โดยมุ่งเป้าหมายที่ประชากร ผู้อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้มาตรฐาน และชุมชนแออัดจำนวน 2.72 ล้านครัวเรือน รวมไปถึงการส่งเสริมการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ด้วยเงื่อนไขผ่อนปรนในวงเงิน 22,434 ล้านบาท
ในปี 2549 มีชุมชนกว่า 972 ชุมชนเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างศักยภาพ ของชุมชนตามแนวทางการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนซึ่งสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานเซนได การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยมีแผนจะขยายโครงการไปยังประเทศอีกด้วย