24 ก.ค.62 สำนักชลประทานที่ 6 เตรียมปล่อยน้ำหน้าฝายหนองหวายช่วยนาข้าว 160,000 ไร่ ในเขตชลประทานขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด
นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจปริมาณน้ำกักเก็บภายในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวาย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนการบริหารจัดการน้ำในกลุ่มจังหวัดภาคอีสานตอนกลาง หลังพบว่า หลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก
แม้ที่ผ่านมาได้มีการประกาศให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกโดยเฉพาะการทำนาออกไปก่อน แต่เนื่องจากเมื่อเดือน พ.ค. และ มิ.ย. ที่ผ่านมา มีฝนชุก พร้อมทั้งมีพายุเข้ามาในพื้นที่ ชาวบ้านจึงลงมือเพาะปลูกอีกครั้ง ปรากฏว่า หลายรายได้รับความเดือดร้อน เพราะฝนทิ้งช่วง จากการลงพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ในขณะนี้พบว่า มีปริมาณน้ำเพียง 568 ล้านลูกบาศก์เมตร อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ปริมาณน้ำใช้งาน 0 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันต้องนำน้ำก้นอ่างฯ มาใช้งานแล้วประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถระบายน้ำได้เพียงวันละ 500,000 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น เพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์ในลำน้ำพอง แต่ไม่สามารถระบายเพื่อการเกษตรได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- สุด! ใช้เกาะพิพาทไทย เมียนมาขนยาบ้าหวิดแสน และไอซ์ ไม่รอดมือทหารราชมนู
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
ส่งผลให้ในขณะนี้ สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้มีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โดยให้สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าดำเนินการสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือพื้นที่ที่ประสบภัยในเขตชลประทาน ขณะที่พื้นที่นอกเขตชลประทาน ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้มีการสำรวจแม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่างๆ ว่ามีปริมาณน้ำใช้งานได้มากน้อยเพียงไร เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคหรือไม่ เพื่อที่จะส่งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เข้าไปสูบน้ำให้การช่วยเหลือ
ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 กล่าวต่อว่า ได้ย้ำให้ทุกโครงการชลประทานในพื้นที่ ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังการบริหารจัดการน้ำเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และผลิตน้ำประปา ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรกว่า 160,000 ไร่ ในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหวายจะเริ่มส่งน้ำในวันที่ 24 ก.ค.นี้ โดยใช้น้ำหน้าฝายหนองหวายที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ได้เริ่มเพาะปลูกไปแล้วก่อนหน้านี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ภัยแล้งลาม!! นาขาดน้ำ สัตว์เลี้ยงขาดหญ้า น้ำโขงลดต่อเนื่อง
- ปริมาณน้ำเขื่อนต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: