บุรีรัมย์ พบฝูงนกกระเรียนพันธ์ไทยกว่า 10 ตัวที่ใกล้สูญพันธ์ ลงมาหากินในพื้นที่ชุ่มน้ำ หลังองค์การสวนสัตว์ และกรมอุทยานฯ นำมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติสร้างความประทับให้กับ ปชช.นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม พร้อมยังพบว่านกกระเรียนการแพร่ขยายพันธ์เพิ่มในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
( 30 พ.ย.60 ) ประชาชน และนักท่องเที่ยวต่างใช้กล้องส่องทางไกล ดูฝูงนกกระเรียนพันธ์ไทย เป็น 1 ใน 16 สัตว์สงวนของไทยที่สูญพันธ์ไปจากธรรมชาติกว่า 50 ปี จำนวนกว่า 10 ตัว ที่ได้กลับเข้ามาหากินที่บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำหน่วยพิทักษ์ป่าห้วยแสงเหนือ ต.บ้านบัว อ.เมือง ในสังกัดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ด้วยความประทับใจไม่ผิดหวัง หลังทางองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกันนำพ่อแม่พันธ์นกกระเรียนพันธ์ไทยที่หายาก มาทำการเพาะในกรงเลี้ยงแล้วนำมาทดลองปล่อย ในพื้นที่ชุ่มน้ำของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก อ.เมืองบุรีรัมย์ และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบินอยู่ในเขตพื้นที่ อ.ประโคนชัย เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตั้งแต่ปี 2554-2560 รวมแล้วจำนวน 82 ตัว จากการติดตามระบบจีพีเอส พบนกกระเรียนจำนวนดังกล่าวยังมีรอดชีวิตอยู่ถึง 51 ตัว ส่วนมากยังอาศัยหากินดำเนินชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดข้างเคียง พร้อมกันนี้ยังพบว่านกกระเรียนที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติดังกล่าว ยังได้มีการทำรังวางไข่เพาะขยายพันธ์ตามธรรมชาติได้เองแล้วจำนวน 3 – 4 ตัว โดยเจ้าหน้าที่ได้มีการติดตามดูแลประเมินผลทำวิจัยอยู่อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ถือว่าเป็นโครงการที่ประสบผลสำเร็จของทีมวิจัยโครงการหนึ่ง
พร้อมกันนี้ สำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก และอ่างเก็บน้ำสนามบิน ได้แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ที่นกกระลงไปหากิน อย่าได้ล่าและทำร้ายนกกระเรียนอย่างเด็ดขาด หากไม่เช่นนั้นก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมก็ขอให้ร่วมกันอนุรักษ์ เพื่อจะให้นกกระเรียนได้แพร่ขยายพันธ์กลับคืนสู่ธรรมชาติอย่างเช่นในอดีตที่ผ่านมาโดยเร็ว
ดังนั้นหนาวนี้จึงขอเชิญชวน ปชช.และนักท่องเที่ยว ที่นิยมชมนกได้มาเที่ยวชมนกกระเรียนพันธ์ที่ใกล้สูญพันธ์ ที่ทางองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูประถัมภ์ และกรมอุทยานแห่งชาติได้นำมาปล่อย เพื่อเพาะขยายพันธ์ในพี้นที่ชุ่มน้ำดังกล่าวได้ ทั้งยังจะได้ชมนกที่เขามาอาศัยในพื้นที่ดังกล่าวที่หายากเข้ามาอาศัยมากว่า 100 ชนิดดังกล่าวด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: