นครศรีธรรมราช-ปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราชแจงเหตุ จนท.วางยาสุนัข ปฏิบัติตามหลักวิชาการ หลังพบโรคพิษสุนัขบ้าระบาดในพื้นที่ จำเป็นต้องตัดไฟแต่ต้นลม วอน ปชช.เห็นใจและเข้าใจ ทำเพื่อความปลอดภัยของทุกคน ขณะกลุ่มคนรักสัตว์ ไม่พึงพอใจ ไม่ชัดเจน ควรกักขัง ไม่ใช่เหมารวม คนกระทำควรรับผิดชอบ อ้างกฎหมายคุ้มครองสุนัข ไม่งั้นไม่ศักดิ์สิทธิ์ หากไม่รักษามาตรฐานกฎหมาย
จากข่าวคราวที่กำลังโด่งดังในโลกโซเชียลขณะนี้ หลังมีการเผยแพร่ภาพคลิปวีดีโอที่บันทึกโดยครูสอนภาษาชาวฟิลิปปินส์ ขณะกลุ่มบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ได้เข้ามาทำการกำจัดสุนัขจรจัดภายในวัดเขาปรีดี ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ด้วยวิธีการวางยาสลบจนสุนัขตายนับสิบตัว ก่อนจับยัดใส่กระสอบขึ้นรถกระบะเพื่อนำไปทิ้งทำลาย จนเป็นที่วิพากวิจารณ์อย่างมากของผู้ที่รับทราบข่าวสาร โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้รักสัตว์เมืองคอน ต่างแสดงความคิดเห็นออกมาด้วยความไม่พึงพอใจกับการกระทำของกลุ่มคนดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเจ้าหน้าที่จริงยิ่งไม่สมควร ซึ่งมองว่าเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยม ทารุณกรรมสัตว์ พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการแสดงความรับผิดชอบ และต้องได้รับโทษในทางกฎหมาย ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 มี.ค.61ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์-ผปส.มูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ฯ จี้ผู้จัดคอนเสิร์ต-จนท.เข้มบุหรี่ไฟฟ้า
- ตร.น้ำกระบี่ บุกรวบ 3 ลูกเรือประมง ยึดยาบ้า พบมั่วสุมเสพ ก่อนออกจับปลา
- จังหวัดสกลนคร พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
- มุกดาหาร-เชิญชวนร่วมกิจกรรมเดินวิ่ง "แคแสดรัน ครั้งที่ 2" ณ สะพานมิตรภาพไทย- ลาวแห่งที่ 2
ล่าสุดวันนี้ 21 มี.ค.61 นายเมษยน ชีวะเสรีชล นายสัตวแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพสัตว์ เปิดเผยว่า คลิปวีดิโอที่ถูกเผยแพร่นั้นแท้จริงแล้วเป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยการกำจัดสุนัขที่ติดเชื้อ อันสืบเนื่องจากก่อนหน้านี้มีการสืบสวนโรคแล้วพบว่า มีสุนัขที่ชาวบ้านเลี้ยงได้ป่วยและตายด้วยสาเหตุจากการติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ซึ่งบริเวณบ้านหลังดังกล่าวมีอาณาเขตใกล้เคียงกับวัดเขาปรีดี อีกทั้งจากการสืบสวนโรคยังพบอีกว่าสุนัขตัวดังกล่าว ก่อนตายได้เข้าไปสัมผัสกับสุนัขภายในวัด ซึ่งแง่ของการระบาดวิทยาแล้วการแพร่ระบาดของโรคสามารถเกิดได้จากการติดต่อการสัมผัสเลือด น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งจากสัตว์ที่ติดเชื้อ และยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงได้ออกประกาศให้เขตตำบลปากแพรก เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นเขตโรคระบาดชั่วคราวที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า และจำเป็นต้องเข้าไปปฏิบัติการตามหลักวิชาการ ภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งหากไม่ดำเนินการกำจัด สุนัขที่เหลืออาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และจะส่งผลอันตรายยิ่งกว่าหลายเท่าตัว
ขณะที่นายสัตวแพทย์ศิริพงษ์ พลศิริ นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังอยู่ในการควบคุมและมีการเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนข้อมูลล่าสุดพบมีการระบาดของโรคแล้ว 7 จุด ในพื้นที่ 5 อำเภอจาก 23 อำเภอของจังหวัด คือ พื้นที่อำเภอทุ่งสง จำนวน 2 จุด อำเภอชะอวด 2 จุด อำเภอทุ่งใหญ่ จุฬาภรณ์ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอละ 1 จุด โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าทำการควบคุมพื้นที่อย่างเต็มที่โดยเฉพาะในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตร จากพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรค พร้อมทั้งได้เข้าทำการสืบสวนโรคอย่างละเอียดเพื่อป้องกันและควบคุมโรค สร้างความปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชนและสัตว์เลี้ยง
“ กรณีของสุนัขภายในบริเวณวัดเขาปรีดี ตำบลปากแพรกนั้น การสืบสวนสอบสวนโรคพบว่ามีการติดเชื้ออย่างแน่นอนและหากปล่อยไว้จะเกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อมนุษย์และสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดภายในบริเวณดังกล่าว จึงอยากให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจและเห็นใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ได้ทุ่มเทเพื่อสร้างความปลอดภัยและความพยายามในการควบคุมการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าด้วย”
ทั้งนี้มีรายงานข่าวว่า ได้มีพระสงฆ์ในวัดไสหร้า อ.ทุ่งใหญ่ พบเห็นสุนัขที่มีพฤติกรรมแปลกไม่เหมือน สุนัขทั่วไป จึงได้ทำการส่งสุนัขไปยังศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ ขณะเดียวกันทางศูนย์ได้ดำเนินการจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกสำรวจพื้นที่ในวัดและใกล้เคียงเป็นการเร่งด่วน
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้คนที่รักสัตว์ มองว่าการกระทำดังกล่าว ไม่เหมาะสมและไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง จริงแล้วควรมีวิธีการอื่นนอกจากการกำจัดด้วยวิธีการฆ่า ถึงแม่วง่าจะเป็นการฆ่าอย่างถุกหลักวิธี ไม่ทำให้สุนัขเจ้บปวดก็ตาม แต่สัตว์ก็มีชีวิต ควรมีวิธีอื่น เช่น การกักขังในที่เฉพาะ เพื่อตรวจเฝ้าดูอาการ ไม่ควรฆ่ายกครัวหรือยกฝูง เพราะเป็นเพียงการคาดเดาว่ากลุ่มสุนัขดังกล่าวมีความเสียงต่อการติดเชื้อ แต่ไม่ใช่ยืนยันหรือผ่านการตรวจสอบแล้วว่าติดเชื้อจริงหรือไม่ จึงขอเรียกร้องให้มีการแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำ เนื่องจากสุนัขได้มีกฎหมายคุ้มครองอยู่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: