นิเทศศาสตร์มสธ.รุกสร้างกระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่นเข้มแข็ง ก้าวสู่องค์กรท้องถิ่นยุค 4.0.ยุคใหม่ใส่ใจบริการ ด้วยกุญแจการให้บริการที่ประทับใจ การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยใช้กลไกเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมแบบบูรณาการเป็นเข็มทิศในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมพัฒนา
ทีมคณาอาจารย์ นิเทศศาสตร์ มสธ. นำโดย รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานคณะกรรมการหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บริการวิชาการสู่สังคม โดยจัดการฝึกอบรม เรื่อง “เทศบาลยุคใหม่ใส่ใจบริการ” ให้กับเทศบาลตำบลควนกุน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยยกเทศมนตรี นายเขียว อั้นเต้ง พร้อมทีมข้าราชการ ลูกจ้าง และประชาชนเข้ารวมกิจกรรมอย่างพร้อมเพรียงกัน
ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และยิ่งวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้เพราะสถานการณ์โลกยุคใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทัศนคติและวิสัยทัศน์ของบุคคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญในการเชื่อมโยงชีวภาพด้านกายภาพกับดิจิทัลให้เข้าด้วยกัน ภายใต้การเชื่อมความสามารถของตนเข้ากับศักยภาพของเทคโนโลยี ซึ่งผลรวมที่เกิดขึ้นจะเกิด ความสามารถด้านการทำงานในโลกยุคใหม่ ที่เคลื่อนไหวอยู่ในกระแสการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เป็นความท้าท้าทายต่อผู้ทำงาน การบริหารของผู้นำยุคใหม่จำเป็นต้องทำให้เกิดการแข่งขันได้ ส่งผลให้เรื่องการบริหารบุคลากรกลายเป็นโจทย์ของผู้บริหารระดับสูง ในการตอบโจทย์ต่อองค์กรโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างเทศบาลตำบลกวนกุนในด้านความสามารถการให้บริการ
การให้บริการในฐานะองค์กรที่มีหน้าที่หลักสำคัญการบริการสาธารณะซึ่งเป็นเรื่องสำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุค4.0 องค์กรยุคใหม่ใส่ใจการบริการ การบริหารเพื่อสร้างความสำเร็จในการบริการประชาชนที่เติบโตแบบยั่งยืน กุญแจสำคัญของบริการ 4.0 จึงอยู่ที่ บุคลากรประสิทธิภาพสูง การจัดวางองค์การบริการ เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัย อินเตอร์เน็ตออฟธิง สื่อสังคม การสื่อสารกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลขนาดใหญ่ นวัตกรรมการบริการ การเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ความสะดวกความรวดเร็ว ประชาชนใหม่ความภักดีต่อผู้นำท้องถิ่นหรือองค์กรน้อยลง เปลี่ยนใจง่ายถ้าค้นพบนโยบายหรือวิสัยทัศน์การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนา
“กุญแจสำคัญในการให้บริการที่ประทับใจในการบริการที่ก่อให้เกิดความประทับใจ หรือประสบความสำเร็จนั้น มีหลักการสำคัญเปรียบเสมือนกุญแจที่ไขไปสู่ความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ประชาชนหรือผู้มาใช้บริการ ซึ่งประกอบด้วย ประการแรก การเข้าใจในความต้องการของลูกค้าหรือประชาชนผู้มาใช้บริการ มีหลักง่าย 1)สดับ การรับฟังจากคำบอกคำกล่าวหรือแม้แต่คำบ่น 2)สอบถามเพื่อให้รู้ถึงความต้องการเช่นสวัสดีมีปัญหาอะไรไหม 3)สังเกตสังเกตพฤติกรรม ภาษาท่าทางและการแสดงออก 4)สถิติคือการใช้ประสบการณ์ในการให้บริการที่เป็นข้อมูลหรือสถิติเพื่อได้รู้ความต้องการโดยอาศัยข้อมูลในการให้บริการ ประการที่สองรู้จักวิธีติดต่อสื่อสารที่ดี ประการที่สามมีมารยาท ประการที่สี่มีความรับผิดชอบ ประการที่ห้ามีความรอบรู้ ประการที่หกมีความน่าเชื่อถือ และประการที่เจ็ดมีความน่าไว้วางใจ”รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ย้ำ
องค์กรยุคใหม่ใส่ใจการบริการเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่การสร้างความพึงพอให้กับผู้มาติดต่อหรือมาขอใช้บริการและรับบริการจะสร้างความพึงพอใจ ความประทับใจ เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆ โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมคือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน และร่วมรับผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการเสนอความต้องการและคาดหวังในการพัฒนาท้องถิ่น การติดตามข้อมูลข่าวสาร การร่วมดำเนินงาน กำกับตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงาน และการประเมินผลอย่างมีส่วนร่วมในหารบริหารงานของฝ่ายการเมืองที่ทำหน้าที่บริหารองค์กร
การจัดบริการสาธารณะเป็นภารกิจใหญ่ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ควรจัดบริการสาธารณะให้ได้อย่างครอบคลุมความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและมีคุณภาพดีในการพัฒนาความสามารถทางการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถในการบริหารขององค์กรทั้ง ความสามารถด้านการพัฒนาท้องถิ่น ความสามารถด้านพัฒนาองค์กร ความสามารถด้านการบริหารการเงินการคลัง และความสามารถในการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน ความสัมพันธ์เหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และถือเป็นหัวใจของการบริหารจัดการองค์กรปกครองท้องถิ่นยุคใหม่
นอกจากนี้ความสำเร็จในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังจะต้องเกิดขึ้นทั้งความสำเร็จในการบริหารจัดการระดับโครงการ และความสำเร็จในการบริหารจัดการระดับองค์กร ซึ่งทั้ง 2 ระดับนี้ จะมีส่วนเกื้อหนุนและส่งเสริมกันและกัน หากสร้างความสำเร็จในระดับโครงการได้ก็จะมีผลทำให้การบริหารจัดการในระดับองค์กรประสบความสำเร็จตามไปด้วย และในขณะเดียวกัน หากมีความสามารถในการบริหารระดับองค์กรภาพรวมประสบความสำเร็จก็จะมีผลให้การบริหารโครงการต่างๆที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นมีผลสำเร็จลุล่วงได้ง่ายเช่นกัน
การบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ การจะนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งปรับในระบบการศึกษา การเรียนรู้และการพัฒนาคนด้วยวิธีการและวิธีคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาคนหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะและความพร้อมในโลกยุคใหม่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: