นครพนม – วันที่ 26 มี.ค.60 เวลา 10.30 น. นายสุกิตติ์ ไกรเกตุ ผู้อำนวยการ สำนักงาน ธ.ก.ส.นครพนม(ผอ.ธ.ก.ส.ฯ) และ นายอติพิชญ์ จันทร์เพ็ง ผู้ช่วย ผอ.ฯ พร้อมผู้จัดการสาขาในสังกัดทั้งจังหวัด จำนวน 15 สาขา แถลงผลการดำเนินงานปี 2560 ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.60-31 มี.ค.61 ในห้องประชุมบ้านเรือนไม้ โรงแรมเดอะริเวอร์ เขตเทศบาลเมืองนครพนม โดยมีหัวหน้าส่วนราชราช อาทิ คลังฯ,เกษตรจังหวัดฯ,พาณิชย์ฯ ร่วมฟังการแถลงข่าว
นายสุกิตติ์ฯกล่าวว่า ในรอบปี 2560 มีการบริการช่วยเหลือเกษตรกรโดยผ่าน 11 โครงการหลัก สามารถบริการสินเชื่อให้แก่เกษตรกรไปแล้ว 80,521 ราย จำแนกเป็นข้าว,ยางพรารา,มันสำปะหลัง,โค กระบือ,และสุกร เป็นเงิน 12,602 ล้านบาท ส่วนด้านเงินฝากมีทั้งสิ้น 421,296 บัญชี ยอดเงินรวม 8,003 ล้านบาท
ในมาตรการช่วยเหลือเป็นไปตามโครงการนโยบายรัฐ เช่น คืนดอกเบี้ยแก่ลูกค้ารายย่อยในอัตราร้อยละ 30 ของจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระ ในโครงการชำระดีมีคืน 2.สนับสนุนสินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร ลักลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวนาแปลงใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะในการบริหารจัดการข้าวชุมชนแบบครบวงจร ให้ชาวนามีต้นทุนที่เหมาะสมและมีรายได้เพิ่ม โดยให้วงเงินกูสถาบันละไม่เกิน 10 ล้านบาท รวมทั้งจัดหาพันธุ์ ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ พัฒนาระบบจัดการน้ำ เครื่องมือ อุปกรณ์ ในโครงการดังกล่าวดังกล่าว อนุมัติสินเชื่อไปแล้วในวงเงิน 15.2 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
3.โครงการประกันภัยข้าวนาปี ของปีการผลิต 2560 เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยหากเกิดภัยพิบัติ 1,260 บาท/ไร่ จำนวน 6 ประเภทได้แก่ น้ำท่วม ภัยแล้ง ลมพายุ ภัยจากอากาศหนาว ลูกเห็บ ไฟไหม้ และจ่ายอีกในกรณีเกิดภัยศัตรูพืช หรือโรคระบาด 4.ปล่อยสินเชื่อเพื่อกักเก็บข้าว เพื่อให้เกษตรกรรวบรวมข้าวเปลือกไว้ เป็นการชะลอปริมาณข้าวเปลือกออกสู่ท้องตลาดมากเกินไป ทำให้ราคาข้าวตกต่ำ 5.ข้าวเปลือกที่เข้าร่วมโครงการชะลอขายข้าว มี ข้าวหอมมะลิ ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ข้าวเปลือกเหนียว เพื่อให้ชาวนาสามารถขายข้าวเปลือกได้ในราคาสูง
6.สินเชื่อช่วยเหลือด้านการเก็บเกี่ยว และปรับปรุงคุณภาพข้าวนาปี โดยจะอนุมัติตามพื้นที่ปลุกข้าวจริง ไร่ละ1,200 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 10 ไร่ 7.โครงการปรับเปลี่ยนที่นาที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมให้เลี้ยงโคกระบือแทน มีเกษตรกรยื่นความประสงค์รวม 77 กลุ่ม 8.มาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมจากพายุตาลัส และเซินกา รวมทั้งสิ้น 64,488 ราย จำนวนเงิน 193 ล้านบาท 9.แก้ไขหนี้นอกระบบ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นภาระหนัก บางรายสูญเสียที่ดินให้แก่นายทุน อนุมัติสินเชื่อสนับสนุนแล้ว 1,232 ราย รวม 79 ล้านบาท 10.เป็นโครงการ 1 ตำบล 1 SME เพื่อสร้างความยั่งยืนของภาคการเกษตรในรูปแบบใหม่ ทำให้มีความเข้มแข็งและจะเป็นกลไกขับเคลื่อเศรษฐกิจ และ 11.สร้างฝายชะลอน้ำ บรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ดำเนินการไปแล้ว 5 หมู่บ้าน 3 อำเภอ
“การขอสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ไม่มีนโยบายยึดที่ทำกินของเกษตรกร มีแต่ช่วยเหลือให้หลุดพ้นจากวงโคจรหนี้นอกระบบ มีข้อสงสัยปรึกษาสำนักงาน ธ.ก.ส.ทั้ง 15 แห่งได้ตลอดเวลา”นายสุกิตติ์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: