ตรัง:รพ.ตรังจัดประชุมวิชาการสัญจร “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย(Save Thais from Heart Diseases)”ระบบบริการสุขภาพรูปแบบข่ายบริการสุขภาพ (Service Plan) ดูแลประชากรเครือข่าย ๖ ล้านคน
วันที่ ๒๙-๓๐มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา 10.00 น. ณ 77 จ.ตรัง แพทย์หญิงจิรวรรณ อารยะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง เปิดการการประชุมวิชาการสัญจร เขต ๑๑,๑๒ ในโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย(Save Thais from Heart Diseases)” โดยมีนายแพทย์ปัญญา งามไตรไร อายุรแพทย์โรคหัวใจ รายงานถึงความสำคัญและจำเป็นในการจัดประชุมในครั้งนี้ นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ นายสงกรานต์ จันทร์มุณี รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรังร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้
นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบสาขาโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนไทย ในระดับต้นๆ ดังนั้นเพื่อพัฒนามาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจตลอดจนการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน จึงได้จัดโครงการ “๑๐,๐๐๐ ดวงใจ ปลอดภัย ด้วยพระบารมี” ในปี ๒๕๕๖
และต่อเนื่องมาเป็นโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย (Save Thais from Heart Diseases)”ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๐ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร พัฒนาระบบบริการให้ได้มาตรฐาน การส่งต่อระบบเครือข่าย โดยการอบรมให้ความรู้ ผลิตตำรามาตรฐานการรักษา ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว พัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลโดย จัดตั้งศูนย์กลางเพื่อดูแล Server โปรแกรม Thai ACS Registry ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดอื่นๆ ทั่วประเทศ จากผลการดำเนินงานโครงการ วิกฤตโรคหัวใจฯ สามารถทำให้อัตราการเสียชีวิต ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ลดลงจากเดิมเหลือน้อยกว่าร้อยละ ๑๐ ตามเป้าหมาย มีการเข้าถึงบริการได้รวดเร็ว และได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐานมากขึ้น ในปี ๒๕๖๐ จากรายงานการบริหารจัดการข้อมูล โปรแกรม Thai ACS Registry มีผู้ป่วยได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจจำนวน ๑๔,๕๙๒ รายจาก ๔๔๑ โรงพยาบาล อัตราตายผู้ป่วย STEMI ร้อยละ ๙.๖
ข่าวน่าสนใจ:
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ชวนชิม 'ศรีบุญเรือน' ร้านข้าวต้มต้นตำรับ สืบทอดสามรุ่น เสน่ห์ร้านข้าวต้มยามค่ำคืน ที่รวมอาหารจีน อาหารเหลา อาหารใต้ไว้ในร้านเดียว
ด้านแพทย์หญิงจิรวรรณ อารยะพงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตรัง กล่าวว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ สถาบันโรคทรวงอกได้ดำเนินงานโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย (Save Thais from Heart Diseases)” เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ พัฒนาขีดความสามารถ ของระบบส่งต่อและขยายการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ในโรงพยาบาลระดับต่างๆตามเครือข่ายบริการ (Service Plan)
โดยให้โรงพยาบาลระดับชุมชนสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด และมี Warfarin clinic ทุกแห่ง และพัฒนาโรงพยาบาลระดับ A ให้มี Heart Failure Clinic อย่างน้อย ๑ แห่ง ในทุกเขตบริการ จึงได้จัดประชุมวิชาการสัญจร ในโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย (Save Thais from Heart Diseases)” ให้กับโรงพยาบาลในเขต ๑๑ และ ๑๒ โดยโรงพยาบาลตรัง เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมครั้งนี้โดยมีกิจกรรมการบรรยายทางวิชาการเรื่องโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน
มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในรูปแบบสหวิชาชีพ (Heart failure clinic) มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดในรูปแบบสหวิชาชีพ (warfarin หรือ anticoagulant clinic) อบรมการลงข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ให้ข้อมูลระบบบริการสุขภาพในรูปแบบข่ายบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคหัวใจ มีการสาธิตและแสดงวิธีการตลอดจนให้การรักษาผู้ป่วย โดยทีมงานห้องสวนหัวใจของสถาบันโรคทรวงอกและโรงพยาบาลตรัง จำนวน ๖ ราย เป็นผู้ป่วยผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (ASD) ๓ ราย และลิ้นหัวใจตีบ (MS) ๓ ราย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: