มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีเสวนาธรรมศาสตร์สู่สังคม ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ตีแผ่เงินสงเคราะห์” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์, ดร.ธร ปีติดล นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อานนท์ มาเม้า ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ป.ป.ช. ร่วมพูดคุยเสวนาในประเด็นดังกล่าว ถึงช่องโหว่ของกฎหมาย นโยบายการเงินการคลัง และความเหลื่อมล้ำสังคมไทยกับการทุจริตเงินสงเคราะห์ ตลอดจนวิเคราะห์แนวทางการป้องกันการทุจริตเงินสงเคราะห์
ศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
ปัญหาเงินสงเคราะห์ของผู้ด้อยโอกาส หรือคนไร้ที่พึ่ง เป็นปัญหาที่ภาครัฐจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเข้ามาดูแลเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้น ซึ่งจากกรณีเงินสงเคราะห์คนจน คนด้อยโอกาส และคนไร้ที่พึ่ง ที่มีการพบการทุจริตในหลายพื้นที่ของประเทศไทยนั้น มีสาเหตุมาจากกลไกการช่วยเหลือยังมีความบกพร่อง และมีกลไกที่ยังไม่ละเอียดพอ จากการรวมศูนย์อำนาจของส่วนกลาง ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดทุจริตและคอรัปชั่นต่างๆ
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดเวทีขยายโอกาส ยกระดับศักยภาพ SMES สู่ตลาดโลก
- ร้อยเอ็ด... 2 เกจิดังเมืองโหวด ชม เหรียญที่ระลึกงานเดิน-วิ่งการกุศล RUN FOR YOU 101 2024 สวยงาน มีความหมาย
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
- นครพนม : นักวิ่งกว่า 3,000 คน ร่วมการแข่งขัน ‘นครพนม-คำม่วน มาราธอน ซีซั่น 6’ เชื่อมสัมพันธ์สองฝั่งโขง ชมสวยที่สุดที่นครพนม
ฉะนั้น วิธีการแก้ปัญหาทุจริตเงินสงเคราะห์ดังกล่าว ควรจะต้องมีการรื้อโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยเปิดโอกาสให้อค์กรส่วนท้องถิ่นเข้ามาดูแลผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ เนื่องจากองค์กรส่วนท้องถิ่นอยู่ใก้ชิดกับประชาชนในพื้นที่มากกว่า จะสามารถเข้าใจถึงสถานการณ์และความต้องการของประชาชนในพื้นที่นั้นๆ อย่างใกล้ชิด ส่วนตัวมองว่าเป็นการทำงานที่มีกลไกในการตรวจสอบที่โปร่งใส อย่างเช่นกรณีเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ ที่มอบอำนาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแล ซึ่งพบปัญหาการทุจริตน้อยลง
ทางด้าน ดร.ธร ปีติดล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
หลายคนเข้าใจว่าปัญหาการทุจริต โดยเฉพาะการทุจริตเงินสงเคราะห์นั้น เกิดจากบุคคล แต่แท้จริงแล้ว รากฐานของการเกิดปัญหาทุจริต คอรัปชั่น เกิดจาก “ระบบ” ที่มีปัญหา ได้แก่ (1.) ระบบการเมือง ที่มีผู้มีอำนาจจของรัฐมองว่า อำนาจดังกล่าวเป็นของตนเอง ไม่ใช่ของประชาชน และหน้าที่หลักของตนเองนั้นไม่ใช่การรับใช้ประชาชน, (2.) ระบบวัฒนธรรม เนื่องจากการทุจริตเกิดจากวัฒนธรรมที่ผู้มีอำนาจของรัฐมองสถานะของตนเองเหนือกว่าประชาชน และ (3.) ระบบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐ ซึ่งมีมาตรฐานที่ไม่ชัดเจน จึงเป็นการเปิดช่องทางให้ประชาชนสร้างสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ เพื่อเปิดช่องทางในการสร้างประโยชน์ให้กับตนเอง
ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าวทั้ง 3 ระบบที่ได้กล่าวไปนั้น มองว่า การแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นที่แท้จริง จะต้องแก้ปัญหาที่ระบบทั้งสาม ทั้งระบบการเมือง, ระบบวัฒนธรรม และระบบกฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐ ตลอดจนพัฒนากลไกการตรวจสอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงสร้างช่องทางให้ผู้มีอำนาจรัฐเข้ามารับผิดชอบต่อประชาชนมากขึ้น เช่น เปิดช่องทางให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการระบบจัดสรรทรัพยากร, การจัดสร้างองค์กรของประชาชนให้มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อานนท์ มาเม้า อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
ทางรัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 76 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนที่จะให้เงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และชนกลุ่มน้อยในบางพื้นที่ โดยมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับสิทธิดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น ประชาชน ชาวบ้าน ในฐานะผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว ไม่รับรู้ถึงสิทธิที่ตนพึงได้รับ เนื่องจากส่วนใหญ่มีความเข้าใจเรื่องเงินสงเคราะห์แบบผิดๆ ว่า เป็นความเมตตาจากรัฐ จึงทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ชาวบ้านทำอย่างไรก็ได้ให้ได้เงินมา ได้มาเท่าไรก็เท่านั้น ไม่ได้รับรู้ถึงสิทธิของอตนเองอย่างทั่วถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวนำมาสู่การตักตวงผลประโยชน์จากความไม่เข้าใจของประชาชน จนทำให้มีช่องว่างให้เกิดการทุจริตขึ้นได้
ดังนั้น จากปัญหาที่เกิดขึ้น จึงแนะนำให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ทีได้รับสิทธิ์เงินสงเคราะห์ เมื่อพบปัญหาการทุจริต สามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในระดับจังหวัด หรือภูมิภาค ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้เข้าแจ้งเบาะแสจะได้รับสิทธิการคุ้มครองของกฎหมายในการคุ้มครองพยาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: