นครพนม – วันที่ 8 เม.ย.61 เวลา 16.00 น. บริเวณศาลาการเปรียญ วัดบ้านหนองปลาดุก ต.บ้านผึ้ง อ.เมือง จ.นครพนม จัดพิธีมอบผ้าผูกคอพระราชทาน และวุฒิบัตร แก่ลูกเสือชาวบ้าน รุ่นที่ 2 จำนวน 100 คน โดยมี นายอารมณ์ เวียงด้าน หรือ”ครูไก่” เลขานุการนายก อบจ.นครพนม เป็นประธาน และ นายทองเปลว แวงโสธรณ์ ประธานชมรมวิทยากร ลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครพนม ร.ต.อ.ปรีชา จูมแพง ตชด.ที่ 23 ร.ต.อ.ประเสริฐศักดิ์ แสงสา ตชด.ที่ 236 นางฉวีวรรณ ขันธวิชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 22 ประธานฯรุ่นที่ 2 พร้อมลูกเสือชาวบ้านผู้ผ่านการอบรมให้การต้อนรับ
นายพิทักษ์ ต่อยอด นายก อบต.บ้านผึ้ง เปิดเผยว่าได้ร่วมกับชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัดนครพนม จัดกำหนดแผนงานโครงการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพลูกเสือชาวบ้านฯ จึงจัดให้มีการอบรมขึ้น ในหลักสูตรจัดตั้งรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 5-8 เม.ย.61 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศาทุกพระองค์,เพื่อธำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์และเอกลักษณ์ไทยให้คงอยู่สืบไป,สร้างความรัก ความสามัคคี พัฒนาองค์กรลูกเสือชาวบ้าน พัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ฯลฯ
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- นครพนม ทหารพรานสนธิกำลังยึดยาบ้าเกือบ 2 แสนเม็ด! ตรวจพบฝิ่นดิบกว่า 3 กิโลกรัม ริมแม่น้ำโขง
- บุกพิสูจน์ หลังชาวบ้าน พบเสือ หนุ่ม 27 ถ่ายคลิปเสือขณะกรีดยาง
นายอารมณ์ฯกล่าวว่า นับว่าเป็นสิ่งที่น่ายินอย่างยิ่ง สำหรับทุกคนที่มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรม เพราะเป็นโครงการที่ดี เป็นการปลูกฝังให้ทุกคนมีจิตสำนึกที่ดี และมีอุดมการณ์ในการทำงานที่จะอยู่ร่วมกัน ปลูกฝังความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เกิดความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ และเหนือสิ่งอื่นใดเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางที่ดี ที่ควรส่งเสริมสนับสนุน ผู้เข้าอบรมจะได้นำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว ต่อสังคมละประเทศชาติต่อไป
การจัดริ้วขบวนแห่ผาผูกคอพระราชทาน เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ มีความพร้อมเพรียง ในการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากมอบผ้าผูกคอพระราชทานแก่ลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 2 แล้ว มีการเชิญธงชาติและธงลูกเสือลงจากยอดเสา วิทยากรขอขมาลาโทษผู้เข้าฝึกอบรม พร้อมร่วมกันร้องเพลงอำลาลูกเสือ โดยจับมือไขว่กันร้อยเป็นวงกลม ซึ่งแต่ละคนต่างหลั่งน้ำตาออกมาอาบแก้ม
ตามประวัติบันทึกว่าเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมลูกเสือชาวบ้าน
ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4 ค่ายเสนีย์รณยุทธ อุดรธานี
ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
พร้อมทั้งพระราชทานเงินส่วนพระองค์ จำนวน 100,000 บาท เพื่อใช้เป็นทุนในการดำเนินงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งเกี่ยวกับลูกเสือชาวบ้านไว้ว่า “ลูกเสือชาวบ้านคือชาวบ้าน ไม่สมควรมีเครื่องแบบผิดแปลกไปจากประชาชนธรรมดาทั่วไป ควรมีเพียงเครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน ผู้ที่ได้ผ่านการอบรมวิธีการของลูกเสือชาวบ้านแสดงถึงการเป็นประชาชนที่ดี เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อสังคม ต่อชาติบ้านเมือง” เครื่องหมายดังกล่าวประกอบด้วย “ผ้าผูกคอ ปลอกรัด ผ้าผูกคอ และ ตราหน้าเสือ” พระองค์ท่านจะพระราชทานแก่ประชาชนที่สำเร็จการอบรมตามหลักสูตรลูกเสือชาวบ้านทุกคน
สำหรับสีของผ้าผูกคอพระราชทานนั้น สืบเนื่องมาจาก พล.ต.ต.สมควร หริกุล ผู้ริเริ่มกิจการลูกเสือชาวบ้าน เป็นข้าราชการตำรวจ จึงได้นำ “สีของกรมตำรวจ” มาใช้ “สีเลือดหมู”เปรียบเหมือนสีเลือด หมายถึงชาติไทยที่เป็นอิสระจนถึงทุกวันนี้ เพราะบรรพบุรุษได้เสียสละชีวิต เลือดเนื้อมาแล้วนับสิบ ๆ ล้านชีวิต เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยผืนนี้
“สีดำ”หมายถึงสีแห่งความทุกข์ เพื่อเตือนให้คนไทยระลึกถึงความทุกข์ ความลำบากยากเข็ญแสนสาหัสของบรรพบุรุษที่ได้ร่วมมือร่วมใจ สมัครสมานสามัคคีกัน เพื่อรักษาแผ่นดินไทยแห่งนี้ไว้
“สีเหลือง” ปรากฏอยู่บนปกผ้าผูกคอ หมายถึงศาสนาเพราะทุกศาสนาสอนล้วนสอนให้เป็นคนดี มีสติยั้งคิด ประพฤติตนเป็นคนดี ละเว้นความชั่ว
กิจกรรมของลูกเสือชาวบ้าน ไม่มีข้อห้าม ข้อบังคับในเรื่องศาสนาแต่อย่างไร ลูกเสือชาวบ้านรุ่นแรก ๆจะได้รับผ้าผูกคอพระราชทานที่มีตราบนปกเป็นรูป “พระแก้วมรกต” แต่พี่น้องไทยซึ่งนับถือศาสนาอื่น เช่นมุสลิม ไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์นั้นได้ จึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปสัญลักษณ์เป็น “แผนที่ประเทศไทย” มีอักษรกำกับว่า “ไทย” คนไทยทุก ๆ คนจึงประดับผ้าพันคอนี้ได้อย่างไม่มีข้อแม้แต่ย่างใดจนถึงปัจจุบันนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: