X

น่าน ประชุมร่วม ถกแนวทางร่วม ป่าไม้กับสองอำเภอ กรณีบ้านเลขที่มีผู้อาศัยหลังเดียวเกิน 70 ชื่อ

เมี่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอเมืองน่าน ชั้น 2 อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน นายวิศิษฐ์ ทวีสิงห์ นายอำเภอเมืองน่าน เป็นประธานประชุ่มร่วมฝ่ายปกครองทั้ง 2 อำเภอ นายทศพร ผ่องสีสุข ปลัดอาวุโส อำเภอบ้านหลวง และกรมป่าไม้ โดยผู้แทนคือ นายเทพณรงค์ ยะสุข นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ หัวหน้าโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ และฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน พร้อมเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือร่วม วางแนวทางปฏิบัติ กรณีตามทะเบียนราษฎร์มีชื่ออาศัยอยู่เกิน เป็นเหตุสงสัย

นายเทพณรงค์ ยะสุข  หัวหน้าโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ รายงานชี้แจงในที่ประชุมว่า บ้านเลขที่ 154 ต.สะเนียน อ.เมืองน่าน เป็นบ้านเลขที่ชั่วคราว ของพี่น้องชาวมลาบรี (มละบริ) ที่มาร่วมปฏิบัติงานในโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2555 โดยใช้ฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวรชายแดนตอนนั้น เป็นที่ตั้งบ้านเลขที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านสิทธิขั้นพื้นฐานให้กับชนเผ่ามลาบรี (มละบริ) กลุ่มเล็กๆ โดยการดำเนินโครงการตามพระราชดำริฯ ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และหน่วยงานร่วมทั้งส่วนงานด้านสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง การศึกษานอกโรงเรียน วิทยาลัยชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งตำรวจภูธรและตระเวรชายแดน ฝ่ายทหารนำโดย มทบ.38 ศปร.มทบ.38 ม.พัน 10 ม.พัน 15 ภาครัฐและเอกชน ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จนมีพี่น้องมลาบรี (มละบริ) สมัครใจย้ายเข้ามามากกว่า 70 คน เพราะเห็นว่าเป็นสถานที่สงบ มีอิสระ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และยังได้อาศัยอยู่กับป่า ดูแลป่า ตอนนั้นคาดการณ์ว่าที่ตั้งอาศัยบ้านเรือนที่ปลูกสร้างอยู่ เป็นเขตพื้นที่ ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

ปัจจุบันชนหลังจากพี่น้องมลาบรี (มละบริ) เข้ามาร่วมในโครงการฯ ได้ไปตั้งชุมชน ปลูกสร้างบ้านเรือน ตามภูมิปัญญาและวิธีของพี่น้องมลาบรี (มละบริ) เองในพื้นที่ปัจจุบัน 19 หลัง 19 ครอบครัว โดยเข้าใจมาตลอดว่า พื้นที่นี้ อยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน

จากการตรวจสอบแผนที่โดยละเอียดเมื่อ พ.ศ.2559 จึงพบว่า พื้นที่ชุมชน ที่ตั้งบ้านเรือนของชนเผ่ามลาบรี (มละบริ) ที่ได้ปลูกสร้างด้วยตนเองเพื่อเริ่มพัฒนาคุณภาพที่ดี ตามแผนที่ภูมิศาสตร์การแบ่งเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง อยู่ในอาณาเขตพื้นที่ของอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เนื่องจากพื้นที่ตั้งของโครงการฯ คาบเกี่ยวในพื้นที่ของทั้งสองอำเภอ คือ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง หลังจากการตั้งโครงการเพื่อรองรับพี่น้องมลาบรีในอนาคต ทั้งการก่อสร้างถนน จากทางหลวงน่าน-พะเยา เข้าไปโครงการฯ ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร และสายส่งไฟฟ้าเข้าตัวโครงการ เพื่อปรุงปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการก่อสร้างโรงเรียน ตชด. และสถานพยาบาล โดยได้ปิดยุบเลิกโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยหยวก ตามพระราชดำริฯ อำเภอเวียงสา เนื่องจากพื้นที่มีขนาดเล็กไม่ ไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ หากมีการขยายตัวของชุมชน เพื่อให้อยู่ตามบริบทของพี่น้องมลาบรี (มละบริ) เอง โดยโครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ ได้ให้ความรู้ในการเพาะปลูก ทั้งข้าว พืชผัก โดยไม่มีการใช้สารเคมี มีการให้ความรู้วิชาสามัญโดย ศสช.บ้านห้วยลู่ งานสาธารณสุขโดย โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโค้ง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองน่าน โดยใช้งบประมาณบางส่วนจากทางภาครัฐ ของอำเภอเมืองน่าน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลสะเนียน เพื่อทำให้โครงการฯ มีความพร้อมและถูกต้องตามจำนวนบ้านจริง ชุมชนภายในโครงการมีความต้องการแยกบ้านเลขที่ เป็นหลังตามครอบครัวที่แท้จริง

โดยสรุปการประชุมร่วม จากการตรวจสอบแผนที่แนวเขตปกครองโดยละเอียด ชี้ชัดว่าชุมชนที่ตั้งบ้านเรียนมลาบรีใหม่ บริเวณที่อยู่อาศัยปัจจุบัน อยู่ในเขตของอำเภอบ้านหลวง ตามระเบียบข้อกฎหมายอำเภอเมืองน่านจะออกบ้านเลขที่ในเขตนั้นไม่ได้ ซึ้งเป็นเขตพื้นที่การปกครองของอำเภอบ้านหลวง ตามความประสงค์ของชนชุมชนที่มีเกิดความไว้ใจและเชื่อใจจากหน่วยงานที่มีเขตรับผิดชอบของภาระงานในเขตอำเภอเมืองน่าน เช่น รพ.สต. อบต. ศสช. จึงเสนอขออยู่ในการปกครองของอำเภอเมือง โดยหารือต่อหากขอกำหนดแนวเขตใหม่ หากใช้วิธีการนี้คงใช้เวลานานหลายสิบปี ทั้งนี้หากชุมชนประสงค์อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบอำเภอเมืองน่าน ต้องย้ายมาปลูกบ้านเรียนอาศัยใหม่ ที่บริเวณพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองน่าน อำเภอเมืองน่านจึงสามารถดำเนินการตามระเบียบกฎหมายได้

ที่ประชุมสรุปว่า เห็นควรดำเนินการอธิบายให้ชุมชนเข้าใจและกฎหมายให้ชุมชนทราบ หากชุมชนประสงค์จะอยู่บริเวณพื้นที่เดิมต้องให้อำเภอบ้านหลวงดำเนินการ หากจะอยู่ในความรับผิดชอบของอำเภอเมือง ต้องย้ายมาตั้งพื้นที่เขตรับผิดชอบของอำเภอเมือง หัวหน้าโครงการฯ ขอเวลาในการเข้าไปชี้แจงให้กับชุมชนรับทราบ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน ในพื้นที่อ่อนไหว โดยให้ชุมชนตัดสินใจด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ว่าชุมชนมาความต้องการอย่างไร ตามทางเลือกที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วนำกลับเข้าที่ประชุมอีกครั้ง

จากการที่ผู้สื่อข่าวรับรู้และพูดคุยกับพี่น้องมลาบรี ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาของหลายหน่วยงาน ทั้งการถ่ายทอดวิธีการทางการเกษตรและการประกออาชีพจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สุขภาวะอนามัยในการดำรงชีพจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำโค้ง การให้ความรู้จากครู ศสช.  และการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้รับรู้ข่าวสาร รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยม เกิดการพัฒนาทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น มีความประสงค์ไม่ต้องการรับของบริจาค จำพวกเสื้อผ้า อาหาร ขอรับบริจาคเป็นเมล็ดพันธุ์พืช เครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเครื่องมือทำการเกษตร ซึ้งพี่น้องกลุ่มนี้เป็นกลุ่มรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า มองว่าการรับการช่วยเหลือจากการรับบริจาคเสื้อผ้าอาหารไม่ได้ยั่งยืน และมีความรู้สึกเหมือนเป็นผู้น่าสงสารจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อยากได้อาชีพอยากได้เมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูก ไม่อยากรับของฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็น ซึ้งพี่น้องในชุมชนนี้อ่อนไหวในกับการถูกสั่ง ถูกบังคับ และความวุ่นวาย การถูกเหยียดหยาม หากไม่เกิดความไว้ใจแล้วจะไม่พบเห็นเลย ที่ผ่านมา พล.ต.ต.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บังคับการมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ๙๐๔ ได้จัดหาตู้ใส่ยาสามัญประจำบ้าน กระเป๋าใส่ยา ประจำบ้านหัวหน้าชุมชน บ้าน อสม. พันเอก โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ รองผู้บัญชาการ กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จัดหาตู้ยาประจำอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

หากสนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มตามจาก QR ที่แสดง

และในเร็วๆ นี้ ชุมชนมีความต้องการเสนอขายกระเป๋าย่าม ผลิตจากเถาวัลย์ ที่ผลิตจากภูมิปัญญาชนเผ่า เพื่อลดการพึ่งพิงการรับความช่วยเหลือแต่สิงของบริจาค ในเร็วๆนี้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ลูกเป็ด เฝ้าน่าน