นครพนม – วันที่ 12 เม.ย.61 บริเวณลานกว้างวัดพระบาทเวินปลา หมู่ที่ 1 ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม มีคณะกรรมการวัดพร้อมชาวบ้าน ร่วมแรงร่วมใจกันจัดกางเต็นท์ โต๊ะ เก้าอี้ ปัดกวาดศาลา เพื่อเตรียมเปิดงานวันสงกรานต์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 เม.ย.นี้ และให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ กราบนมัสการรอยพระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่บนโขดหินยกลางแม่น้ำโขง โดยปกติรอยพระบาทจะโผล่จากลำน้ำช่วงหน้าแล้งเท่านั้น หลังย่างเข้าสู่ฤดูฝนจะจมอยู่ในน้ำ โดยไม่มีใครสามารถเข้าไปกราบนมัสการได้
จากสังเกตการณ์ของผู้สื่อข่าว พบว่ามีนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะมีภูมิลำเนาในจังหวัด เดินทางมากราบไหว้ขอพรจากรอยพระพุทธบาทเป็นจำนวนมาก ต้องพบกับความผิดหวังเพราะตั้งใจจะมาดูรอยพระพุทธบาทอย่างใกล้ชิด แต่ถูกน้ำกลบจนมิดมองไม่เห็น เกิดจากประเทศจีนปล่อยน้ำออกจากเขื่อนลงมา หากเป็นในอดีตชาวพุทธจะไม่ผิดหวัง เพราะน้ำขึ้นหรือลงเป็นไปตามธรรมชาติ หลังประเทศจีนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง จึงทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดีชาวพุทธก็ไม่ย่อท้อ ต่างถอดรองเท้าถลกขากางเกงลุยน้ำไปกราบจนได้ บางรายมีความศรัทธาแรงกล้า ถึงขั้นกระโดดลงไปกราบรอยพระพุทธบาทอยู่ใต้น้ำ
ถึงแม้จะไม่สามารถมองเห็นรอยพระพุทธบาท ซึ่งหนึ่งปีจะได้ชื่นชมเพียงครั้งเดียวก็ตาม ไม่ใช่อุปสรรคแก่ชาวพุทธสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง ในวันเปิดงานที่ 13 เม.ย. จะมีชาวพุทธแขวงสะหวันเขต แขวงคำม่วน และแขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว จัดกองบุญมาถวายแด่รอยพระพุทธบาททุกปี ถือเป็นประเพณีร่วมกันระหว่างคนลุ่มแม่น้ำโขงไทยลาว
รอยพระพุทธบาทเวินปลาแห่งนี้ มีความสำคัญมาก ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือใบลานตำนานพระอุรังคธาตุ สมัยสร้างพระธาตุพนมรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ.8 หรือกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังตรัสรู้เดินทางมาเผยแพร่พระธรรมในชมพูทวีปลุ่มน้ำโขง ล่องมาตามลำแม่น้ำโขง ได้มีเหล่าพญานาคใต้เมืองบาดาล และพญาปลาปากคำที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้แปลงกลาย นิมนต์พระองค์ลงไปแสดงธรรมใต้บาดาล และก่อนที่พระองค์จะเสด็จขึ้นมาโลกมนุษย์ เหล่าพญานาค พญาปลาปากคำ ได้ร้องขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทนพระองค์ไหว้กราบบูชา พระพุทธเจ้าจึงได้ประทับรอยพระบาทไว้บนโขดหินแห่งนี้ คือ “รอยพระพุทธบาทเวินปลา” มาถึงทุกวันนี้ โดยในช่วงหน้าฝนน้ำโขงขึ้นก็จะจมอยู่ใต้น้ำเป็นที่กราบไหว้ของสิ่งลี้ลับใต้บาดาล พอถึงช่วงหน้าแล้งน้ำโขงลดก็จะโผล่ขึ้นมาพ้นน้ำโขงให้ประชาชนไทย-ลาว กราบไหว้ โดยจะปรากฏชัดในช่วงสงกรานต์เท่านั้น
ข่าวน่าสนใจ:
- ส่งตัว 3 ผู้ต้องหาฝากขัง คดีหนุ่ม 20 ปี ถูกยิงดับบริเวณคูกันช้าง อ้างปืนลั่น จ.สระแก้ว
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- ฝนตกหนักสัญญาณเตือนภัยน้ำป่าเขาบรรทัดส่งสัญญาณเตือนเสียงดัง จ.พัทลุง
โดยรอยพระพุทธบาทเวินปลา ประดิษฐานอยู่บนโขดหินกลางลำน้ำโขง ซึ่งเป็นวังน้ำวน ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “เวิน” ซึ่งหมายถึงตั้งอยู่ในวังน้ำวน และเนื่องจากเป็นที่อยู่ของพญาปลาปากคำ จึงเรียกว่า“เวินปลา” รอยพระพุทธบาทเวินปลาอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร และห่างจากวัดพระบาทเวินปลา 200 เมตร ผู้ที่จะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเวินปลา จะต้องนั่งเรือไปในช่วงฤดูน้ำลด ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีงานนมัสการรอยพระพุทธบาทเวินปลา มีการสรงน้ำรอยพระพุทธบาทและประเพณีรดน้ำดำหัว นอกจากนี้ยังมีการสร้างสะพานข้ามจากท่าวัดไปจนถึงรอยพระพุทธบาท เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนอีกด้วย
รอยพระพุทธบาทเวินปลาอยู่บนโขดหินเล็ก ๆ ในแม่น้ำโขง ห่างจากฝั่งประมาณ 100 เมตร เนินดินเล็ก ๆ ขนาด 30 x 50 เมตร สูง 1 เมตร จากพื้นที่โดยรอบ เรียกว่าดอนพระบาท หลักฐานศาสนสถานสำคัญในบริเวณนี้ มี 2 แห่ง คือ รอยพระพุทธบาทเวินปลา ประดิษฐานอยู่บนโขดหินในแม่น้ำโขง และซากฐานเจดีย์บนเนินดินดอนพระบาท ซึ่งอยู่บนตลิ่งเยื้องกับรอยพระพุทธบาทเล็กน้อย
นอกจากนี้ยังมี”รองเท้ามาร” สันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเพื่อให้สัมพันธ์กับรอยพระพุทธบาท รอยนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ลักษณะเป็นรอยบุ๋มลงคล้ายรอยเท้ามนุษย์มาก และใต้โขดหินนี้มีเศษอิฐกระจายเกลื่อน สันนิษฐานว่าเป็นซากอาคารเก่าที่ถูกน้ำกัดเซาะพังลงแม่น้ำไปแล้วและยังเชื่อว่าในน้ำมีพระพุทธรูปอีก 1 องค์ ซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐ 1 องค์ ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน บริเวณนี้ยังมีเศษภาชนะดินเผา ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูก และที่สำคัญคือ เศียรพระพุทธรูปสำริด 1 เศียร ขนาดกว้าง 3.8 เซนติเมตร สูง 5.6 เซนติเมตร ลักษณะพระพักตร์มีพระเกศาขมวดขนาดเล็ก พระกรรณเป็นขมวดม้วนและมีรอยขีดยาวลงมาช่วงติ่งพระกรรณ เศียร มีร่องรอยการลงรักปิดทอง ด้านอายุนั้นนักวิชาการบางท่านเสนอความเห็นว่า น่าจะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี บางท่านว่าน่าจะอยู่ในช่วงสมัยทวารวดี เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: