รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่สะพานปลาหัวหิน แก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนอาคาร และซ่อมแซมสะพานปลาเก่าหัวหิน ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เนื่องจากรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือชาวประมงหัวหิน (ข่าว/ภาพ วิมล ทับคง)
วันที่ 8 กันยายน 2562 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายยุทธพล อังกินันท์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการองค์การสะพานปลา ,มณเฑียร อินทร์น้อย ผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา(อสป.) พล.ต.ต.กษณะ แจ่มสว่าง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 7 พร้อมเจ้าหน้าที่องค์การสะพานปลา และคณะได้เดินทางไปยังสะพานปลาหัวหิน โดยมี นายธนนท์ พรรพีภาส นายอำเภอหัวหิน,นางสาวไพลิน กองพันธ์ รองนายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน,นายจีรวัฒน์ พราหมณี ปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน นายบุญรอด กลิ่นเกลา ประธานกลุ่มประชาพิทักษ์ พร้อมกลุ่มชาวประมงหัวหิน ให้การต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- จัดกิจกรรม โครงการ “หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้กับประชาชน พื้นที่ อ.คลองหาด
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- มทบ.32 เสริมกำลังเตรียมป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5
โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินไปยังบริเวณหัวสะพานปลา และดูสะพานปลา ของเก่าที่เสียหายและไม่ได้ใช้แล้ว พร้อมสอบถามข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ถึงพื้นที่สะพานปลาหัวหิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบขององค์การสะพานปลา
โดยทราบว่าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวประมงหัวหิน จึงมีพระราชดำริ ให้มีการก่อสร้างสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงหัวหิน หลังจากสร้างเสร็จ ก็เปิดดำเนินการ หลังจากนั้นอาชีพการทำประมงก็ได้ขยับขยายและพัฒนาจนกลายเป็นอาชีพหลักของชาวอำเภอหัวหิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปนั้นสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงหัวหิน เกิดการชำรุดทรุดโทรมลงไป จึงได้มีการก่อสร้างสะพานปลาท่าเทียบเรือขึ้นมาใหม่ ห่างจากสะพานเดิมไม่มากนัก เป็นสะพานขนาดใหญ่กว้างขวางและยาวกว่าสะพานฯเก่า
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าว่านอกจากนั้นในส่วนของอาคารที่ก่อสร้างเป็นของภาคเอกชน ที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ซึ่งเกิดปัญหาการฟ้องร้องมาหลายปีแล้ว ซึ่งชาวประมงหัวหิน และชาวบ้านในพื้นที่ไม่เห็นด้วยจนมีการร้องเรียน วันนี้ผมก็ลงมาฟังปัญหาจากชาวประมงในและชาวบ้านพื้นที่ ซึ่งชาวประมงได้ขอให้ผู้ที่ทำกินอยู่เดิม 4 รายได้เข้ามาทำกินด้วย ซึ่งผมเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรให้เข้ามาได้ และอีกส่วนที่ชาวประมงต้องการคือให้อนุรักษ์และซ่อมแซมสะพานปลาเก่าหัวหิน โดยการแก้ปัญหาแบบครบวงจร โดยทำเป็นธุรกิจร่วมกันได้ทั้งเปิดเป็นร้านอาหาร และให้ชาวประมงที่ออกเรือจับสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำที่จับมาได้มาจำหน่ายในบริเวณอาคารนี้ด้วย
วันนี้นักธุรกิจที่อยากจะลงทุนก็เดินทางมาดูสถานที่ด้วยเช่นกัน ส่วนจะมีการปรับปรุงอาคารอย่างไรก็คงต้องมาดูเรื่องแบบกันในโอกาสต่อไป ทั้งนี้จะมีนายชวลิตชูขจร ประธานกรรมการองค์การสะพานปลา ตนใหม่ที่จะต้องเข้ามาดูแล และแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นต่อไป
โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวอีกว่าจะดำเนินการซ่อมแซมให้สะพานปลาเก่าหัวหิน ขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยตนเองได้มีการติดต่อประสานงานกับภาคเอกชน ที่จะเข้ามาร่วมซ่อมแซมโดยไม่ต้องใช้งบประมาณของทางราชการ ซึ่งสามารถเริ่มได้ทันที่ซึ่งหลังจากนี้จะให้ทางภาคเอกชนเข้ามาดูว่าจะดำเนินการซ่อมแซมอย่างไรได้บ้าง ทั้งคานและพื้นของสะพาน นอกจากทางเทศบาลเมืองหัวหิน ก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนในเรื่องของรถเครนที่จะมาช่วยยกคานและแผ่นพื้นคอนกรีตต่างๆ
นายบุญรอด กลิ่นเกลา ประธานกลุ่มประชาพิทักษ์ พร้อมกลุ่มชาวประมงหัวหิน กล่าวว่ารู้สึกดีใจที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงมาแก้ไขปัญหาเรื่องท่าเทียบเรือสะพานปลาหัวหิน โดยเฉพาะสะพานปลาเก่าซึ่งมีความสำคัญกับหัวหินเป็นอย่างมาก ที่จะมีการร่วมกันบูรณะซ่อมแซม เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวประมงหัวหิน จึงมีพระราชดำริให้มีการก่อสร้างสะพานปลาท่าเทียบเรือประมงหัวหิน ซึ่งก็เป็นระยะมากว่า 50 ปีแล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: